บาลีวันละคำ

พยาธิ (บาลีวันละคำ 1,428)

พยาธิ

บาลีเป็น “พฺยาธิ” (มีจุดใต้ ) อ่านว่า พฺยา-ทิ (เพีย-อา-ทิ) รากศัพท์มาจาก –

(1) วิธฺ (ธาตุ = ทิ่มแทง) + อิ ปัจจัย, ลง อา อาคมกลางธาตุ (วิธฺ > วิอาธฺ), แปลง อิ ที่ วิ เป็น , แผลง วฺ เป็น พฺ

: วิธฺ + อิ = วิธิ > วิอาธิ > วฺยาธิ > พฺยาธิ แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่เสียดแทง

(2) วิ (คำอุปสรรค = พิเศษ) + อธิ (ธาตุ = บีบคั้น) + ปัจจัย, แปลง อิ ที่ วิ เป็น (วิ > วฺย), แผลง วฺ เป็น พฺ, ทีฆะต้นธาตุ (อธิ > อาธิ)

: วิ > วฺย + อธิ = วฺยาธิ + = วฺยาธิ > พฺยาธิ แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่บีบคั้นโดยพิเศษ

(3) พาธฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + อิ ปัจจัย, ลง อาคมที่พยัญชนะต้นธาตุ (พาธฺ > พฺยาธ)

: พาธฺ + อิ = พาธิ > พฺยาธิ แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่เบียดเบียน

(4) พฺยาธฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + อิ ปัจจัย

: พฺยาธฺ + อิ = พฺยาธิ แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่เบียดเบียนสัตว์

(5) วิ (คำอุปสรรค = ต่าง) + อาธิ ( = การบีบคั้นจิตใจ), แปลง อิ ที่ วิ เป็น (วิ > วฺย), แผลง วฺ เป็น พฺ

: วิ > วฺย + อาธิ = วฺยาธิ > พฺยาธิ แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะเป็นที่มีการเบียดเบียนต่างๆ

“พฺยาธิ” หมายถึง ความป่วย, โรค, เชื้อโรค (sickness, disease)

บาลี “พฺยาธิ” สันสกฤตเป็น “วฺยาธิ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

วฺยาธิ : (คำนาม) ความป่วยไข้, โรค; sickness, disease.”

พฺยาธิ” ในภาษาไทยเขียน “พยาธิ” (ไม่มีจุดใต้ พ) อ่านว่า พะ-ยา-ทิ ความหมายเป็นอย่างหนึ่ง อ่านว่า พะ-ยาด ความหมายเป็นอีกอย่างหนึ่ง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) พยาธิ ๑ : [พะยาทิ] (คำนาม) ความเจ็บไข้ เช่น โรคาพยาธิ ชาติชราพยาธิ. (ป. พฺยาธิ, วฺยาธิ; ส. วฺยาธิ).

(2) พยาธิ ๒ :  [พะยาด] (คำนาม)  ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังซึ่งอย่างน้อยในระยะหนึ่งของชีวิตจะอาศัยดูดกินเลือดอยู่ในมนุษย์และสัตว์ มีรูปร่างและขนาดต่าง ๆ กัน ชนิดตัวแบน เช่น พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด ชนิดตัวกลมหรือหนอนพยาธิ เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด.

ในทางธรรม พยาธิเป็น 1 ในสภาวะสามัญของชีวิต 4 อย่าง คือ –

(1) ชาติ (ชา-ติ) ความเกิด

(2) ชรา ความแก่

(3) พยาธิ ความเจ็บ

(4) มรณะ ความตาย

: พยาธิทำให้อาพาธป่วยจริง

: แต่ถ้ากิเลสเข้าสิง ถึงจะไม่ป่วยจริงก็ป่วยใจ

29-4-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย