บาลีวันละคำ

นิรมาณกาย (บาลีวันละคำ 2,397)

นิรมาณกาย

อ่านว่า นิ-ระ-มาน-นะ-กาย

ประกอบด้วยคำว่า นิรมาณ + กาย

(๑) “นิรมาณ

บาลีเป็น “นิมฺมาน” (นิม-มา-นะ) รากศัพท์มาจาก นิ (คำอุปสรรค = เข้า, ลง, ไม่มี, ออก) + มา (ธาตุ = กะ, ประมาณ, นับ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะนะ), ซ้อน มฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (นิ + มฺ + มา)

: นิ + มฺ + มา = นิมฺมา + ยุ > อน = นิมฺมาน แปลตามศัพท์ว่า “การกะลง” “การนับเข้า” หมายถึง การวัด, การผลิต, การสร้าง, การทำงาน (measuring; production, creation, work)

บาลี “นิมฺมาน” สันสกฤตเป็น “นิรฺมฺมาณ” และ “นิรฺมาณ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

นิรฺมฺมาณ, นิรฺมาณ : (คำนาม) ‘นิรมาณ,’ ศิลปกรรมน์, ศิลปะนิรมาณ, อุตบาทน์, วิรจนา, การสร้างทำ, การทำ; รส, สาร, เยื่อ, อัสถิสาร; สังคติหรือความเหมาะ; manufacture, production, making; pith, essence, marrow; propriety or fitness.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นิรมาณ : (คำแบบ คือคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป) (คำนาม) การสร้าง, การแปลง, การทํา, การวัดส่วน. (ส.).”

(๒) “กาย

บาลีอ่านว่า กา-ยะ รากศัพท์มาจาก –

(1) กุ (สิ่งที่น่ารังเกียจ, สิ่งที่น่าเกลียด) + อาย (ที่มา, ที่เกิดขึ้น), “ลบสระหน้า” คือ อุ ที่ กุ (กุ > )

: กุ > + อาย = กาย แปลตามศัพท์ว่า “ที่เกิดขึ้นของสิ่งที่น่ารังเกียจทั้งหลาย

(2) (อวัยวะ) + อายฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป), + ปัจจัย

: + อายฺ = กายฺ + = กาย แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่เป็นไปแห่งอวัยวะทั้งหลาย

(3) กาย (ร่างกาย) + ปัจจัย, ลบ

: กาย + = กายณ > กาย แปลตามศัพท์ว่า “ที่เกิดขึ้นแห่งส่วนย่อยทั้งหลายเหมือนร่างกาย” (คือร่างกายเป็นที่รวมแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ฉันใด “สิ่งนั้น” ก็เป็นที่รวมอยู่แห่งส่วนย่อยทั้งหลายฉันนั้น)

กาย” (ปุงลิงค์) หมายถึง ร่างกาย; กลุ่ม, กอง, จำนวนที่รวมกัน, การรวมเข้าด้วยกัน, ที่ชุมนุม (body; group, heap, collection, aggregate, assembly)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กาย, กาย– : (คำนาม) ตัว เช่น ไม่มีผ้าพันกาย, และมักใช้เข้าคู่กับคํา ร่าง เป็น ร่างกาย, ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า หมู่, พวก, เช่น พลกาย = หมู่ทหาร. (ป., ส.).”

นิรมาณ + กาย = นิรมาณกาย แปลตามศัพท์ว่า “กายคือการสร้างขึ้น

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นิรมาณกาย : (คำนาม) กายที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีอันเปลี่ยนแปลงไปเหมือนสิ่งที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ อื่น ๆ, ตามคติมหายานเชื่อว่า เป็นรูปปรากฏของพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า คือ ธรรมกาย.”

อภิปราย :

ตามความหมายที่ประสงค์ คำนี้ควรจะแปลว่า “กายที่ถูกสร้างขึ้น” ถ้าต้องการแปลอย่างนี้รูปคำบาลีก็ควรจะเป็น “นิมฺมิตกาย” (นิม-มิ-ตะ-กา-ยะ)

นิมฺมิต-” แปลตามศัพท์ว่า “-อันเขาสร้างขึ้น” (นิมฺมาน = การสร้าง, นิมฺมิต = สิ่งที่ถูกสร้าง)

นิมฺมิตกาย” แปลงรูปเป็นไทยว่า “นฤมิตกาย” = กายที่เนรมิตขึ้น

แต่เมื่อใช้ว่า “นิรมาณกาย” จนลงตัวแล้ว ก็ต้องเลยตามเลย

เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีคำว่า “ตรีกาย” อีกคำหนึ่งที่อาจช่วยให้เข้าใจความหมายเพิ่มขึ้น

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ตรีกาย : (คำนาม) พระกายทั้ง ๓ ของพระพุทธเจ้าตามคติพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน ได้แก่ ๑. ธรรมกาย (พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า) ๒. สัมโภคกาย (กายทิพย์หรือกายละเอียดของพระพุทธเจ้า) และ ๓. นิรมาณกาย (กายที่เป็นขันธ์ ๕ และปรากฏแก่มนุษย์ทั่วไป ซึ่งบางทีเรียกว่า รูปกาย).”

ข้อสังเกต :

ขอชี้ให้สังเกตคำในพจนานุกรมฯ ที่ว่า “ตามคติมหายานเชื่อว่า” ที่ขอให้สังเกตก็เพราะว่า เรามักเข้าใจกันว่า ศาสนาเป็นเรื่องของ “ความเชื่อ

แต่พึงเข้าใจให้ถูกต้องว่า พระพุทธศาสนานั้นเป็นเรื่องของ “ความจริง” หมายความว่า เป็นศาสนาที่สอนให้รู้ เข้าใจ และเข้าถึงความจริง วิธีนับถืออาจเริ่มด้วยศรัทธาหรือความเชื่อดังที่นับถือกันทั่วไป แต่พระพุทธศาสนาไม่ได้จบแค่ความเชื่อ หากแต่สอนวิธีปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงความจริงต่อไปอีกด้วย และกระบวนการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความจริงนั้นผู้นับถือต้องกระทำเองเนื่องจากเป็นประโยชน์ของตัวเองโดยตรง เจ้าของคำสอนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆ ด้วย-กับการที่ใครจะได้เข้าถึงหรือเข้าไม่ถึงความจริงนั้น

ข้อที่ควรระลึกไว้ก็คือ ความเชื่อไม่จำเป็นจะต้องตรงกับความจริง และสิ่งที่เป็นความจริงก็อาจเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่เชื่อก็เป็นได้

บาลีวันละคำมีขอบเขตเพียงแค่นำรูปศัพท์มาเสนอให้รู้ว่ารากศัพท์หรือความเป็นมาของคำนั้นๆ เป็นอย่างไรเท่านั้น ส่วนความเชื่อหรือความจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้นย่อมเป็นหน้าที่ของผู้อ่านที่จะพึงศึกษา สืบค้น หรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปด้วยตนเอง

หน้าที่ของชาวพุทธคือ ทำความเห็นของตนให้ตรงกับความเป็นจริง ไม่ใช่เกณฑ์ความจริงให้ตรงกับความเชื่อของตน

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เมื่อใด ฝึกจิตจนเข้าถึงความจริง

: เมื่อนั้น ก็ไม่ต้องอิงอยู่กับความเชื่อ

#บาลีวันละคำ (2,397)

4-1-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย