บาลีวันละคำ

ปราสาท (บาลีวันละคำ 1,429)

ปราสาท

อ่านว่า ปฺรา-สาด

ปราสาท” บาลีเป็น “ปาสาท” (ปา-สา-ทะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) (คำอุปสรรค = ทั่ว, ยิ่ง, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + สทฺ (ธาตุ = แผ่ไป, ยินดี) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ เป็น อา ( > ปา), ทีฆะ อะ ที่ -(ทฺ) เป็น อา (สทฺ > สาท)

: + สทฺ = ปสทฺ + = ปสทณ > ปสท > ปาสท > ปาสาท แปลตามศัพท์ว่า “อาคารเป็นที่ยินดีแห่งตาและใจ

(2) ปสาท (ความยินดี) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(สาท) เป็น อา (ปสาท > ปาสาท)

: ปสาท + = ปสาทณ > ปสาท > ปาสาท แปลตามศัพท์ว่า “อาคารที่ยังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้น

ปาสาท” นักเรียนบาลีแปลทับศัพท์เป็นรูปสันสกฤตว่า ปราสาท

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลว่า “ปาสาท” ว่า a lofty plat-form, a building on high foundations, a terrace, palace (แท่นหรือชานหรือยกพื้นสูง, สิ่งก่อสร้างที่มีฐานสูง, อาคารเป็นชั้นๆ, วัง)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ปฺราสาท : (คำนาม) ‘ปราสาท,’ วิหาร; มนเทียร, พระราชวัง; a temple; a palace, a building inhabited by a prince or king.”

ปาสาท” ใช้ในภาษาไทยตามรูปสันสกฤตเป็น “ปราสาท

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปราสาท : (คำนาม) เรือนมียอดเป็นชั้น ๆ สําหรับเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินหรือเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์. (ส. ปฺราสาท; ป. ปาสาท).”

อภิปราย:

ในภาษาไทยเข้าใจกันว่า “ปราสาท” เป็นที่ประทับของพระราชามหากษัตริย์ แต่ในคัมภีร์บาลีกล่าวถึงเศรษฐี คฤหบดี พ่อค้า ตลอดจนคนที่มีฐานะทางสังคม ว่าอยู่ปราสาท 7 ชั้น แสดงว่าตามวัฒนธรรมของชาวชมพูทวีป “ปราสาท” ไม่ได้สงวนไว้เฉพาะพระราชา

ในพระวินัย พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุอยู่ในปราสาทได้ในฐานะเป็นเสนาสนะพิเศษจากปกติ

ในคัมภีร์ยังไม่พบคำบรรยายรูปทรงของปราสาท หนังสือวินัยมุข เล่ม 3 พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แปลคำว่า “ปาสาท” ว่า เรือนชั้น

สันนิษฐานว่า ปาสาท > ปราสาท ในวัฒนธรรมของชาวชมพูทวีปน่าจะเป็นอาคารที่สร้างเป็นชั้นๆ อย่างที่เราเรียกว่า แฟลต หรือ คอนโดมิเนียม ในเวลานี้

: อยู่กระท่อมหรืออยู่ปราสาท

: ไม่ใช่คำชี้ขาดในการทำความดี

30-4-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย