บาลีวันละคำ

คีตกวี (บาลีวันละคำ 1,431)

คีตกวี

อ่านว่า คี-ตะ-กะ-วี

ประกอบด้วย คีต + กวี

(๑) “คีต” (คี-ตะ)

รากศัพท์มาจาก –

(1) เค (ธาตุ = ส่งเสียง) + อิ อาคม + ปัจจัย, ลบ เอ ที่ เค (เค > ), ทีฆะ (ยืดเสียง) อิ อาคมเป็น อี

: เค > + อิ = คิ + = คิต > คีต แปลตามศัพท์ว่า “เสียงที่พึงร้องออกมา

(2) คา (ธาตุ= ส่งเสียง) + อิ อาคม + ปัจจัย, ลบ อา ที่ คา (คา > ), ทีฆะ อิ อาคมเป็น อี

: คา > + อิ = คิ + = คิต > คีต แปลตามศัพท์ว่า “เสียงอันนักร้องเปล่งออกมา

คีต” :

(1) เป็นคำกริยา (past participle) หมายถึง ร้องเพลง, สวด, ท่อง, ประกาศ, ออกเสียง (sung, recited, solemnly proclaimed, enunciated)

(2) เป็นคำนาม หมายถึง ร้องเพลง, เพลงขับ (singing, a song)

คำที่อยู่ในชุดของ “คีต” คือ –

นจฺจ (นัจจะ) = การฟ้อน การรำ การเต้น (dancing)

คีต (คีตะ) = การขับ การร้อง การร้องเพลง (singing)

วาทิต (วาทิตะ) = การประโคม การบรรเลงเครื่องดนตรี (instrumental music)

(๒) “กวี

รูปบาลีปกติเป็น “กวิ” (กะ-วิ) แต่ที่เป็น “กวี” ก็มีบ้าง รากศัพท์มาจาก กุ (ธาตุ = สรรเสริญ, ประพันธ์, ส่งเสียง) + อิ ปัจจัย แผลง อุ ที่ กุ เป็น โอ แล้วแปลง โอ เป็น อว (กุ > โก > กว)

: กุ > โก > กว + อิ = กวิ

: กุ > โก > กว + อี = กวี

กวิ, กวี แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้สรรเสริญ” (คือแต่งบทสรรเสริญเทพเจ้า) (2) “ผู้ผูกทั่ว” (คือเอาถ้อยคำมาผูกเข้าเป็นบทกลอน) (3) “ผู้กล่าวถ้อยคำที่น่ารักเป็นปกติ” (4) “ผู้กล่าวถ้อยคำดื่มด่ำ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “กวิ” เป็นอังกฤษตรงกับที่เข้าใจกันทั่วไป คือ a poet และได้ขยายว่า ตามคัมภีร์บาลีระบุ “กวิ” ไว้ 4 ประเภท คือ –

(1) จินฺตากวิ = จินตกวี, กวีที่ไม่เลียนแบบใคร (an original poet)

(2) สุตกวิ = ผู้แต่งร้อยกรองจากเรื่องที่ได้ฟังมา (one who puts into verse what he has heard)

(3) อตฺถกวิ = กวีที่แต่งสั่งสอนคน (a didactic poet)

(4) ปฏิภาณกวิ = กวีผู้แต่งร้อยกรองขึ้นโดยปัจจุบันทันที (an improvisor)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กวี : (คำนาม) ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทกลอน จําแนกเป็น ๔ คือ ๑. จินตกวี แต่งโดยความคิด ๒. สุตกวี แต่งโดยได้ฟังมา ๓. อรรถกวี แต่งตามความจริง ๔. ปฏิภาณกวี แต่งกลอนสด. (ป.).”

ในที่บางแห่ง “กวี” ยังหมายถึงบัณฑิต, นักปราชญ์, ผู้มีปัญญาอีกด้วย

คีต + กวี = คีตกวี แปลเท่าศัพท์ว่า “กวีขับร้อง” หรือ “กวีเพลง

อภิปราย:

๑. คำว่า “กวี” มีความหมายแน่นอน คือหมายถึงผู้แต่งถ้อยคำ ถ้าเล็งถึงเพลงที่เราฟังกันทุกวันนี้ก็คือผู้แต่งคำร้อง

๒. “คีต” ในภาษาเดิมหมายถึงการขับร้องอย่างเดียว แต่เมื่อเอามาใช้ในภาษาไทย ความหมายตามที่มักเข้าใจกันขยายคลุมไปถึงทุกส่วนที่ประกอบเข้าเป็น “เพลง” ไม่เฉพาะการขับร้องอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการแต่งเพลง ทั้งทำนองและเนื้อร้อง การบรรเลงดนตรี และการแสดงประกอบอื่นๆ

๓. เพราะฉะนั้น “คีตกวี” (เป็นคำที่เราคิดขึ้นเองในภาษาไทย) จึงอาจมีความหมายได้หลายอย่าง กล่าวคือ –

(1) เป็นกวีที่เกี่ยวกับเพลง หรือเกี่ยวกับการร้องเพลง หรือ –

(2) เป็นกวีด้วย เป็นนักร้องด้วย คือเป็นผู้แต่งบทเพลงและเป็นผู้ขับร้องเพลงที่แต่งนั้นด้วย หรือ –

(3) เป็นผู้แต่งบทเพลงเพื่อการขับร้อง หรือ –

(4) เป็นนักแต่งเพลง

สรุปว่า “คีตกวี” ไม่ว่าจะใช้ในความหมายตามข้อไหน ต้องหมายถึง “ผู้แต่ง” อย่างแน่นอน จะแต่งเฉพาะคำร้องหรือแต่งทำนองด้วยก็ตาม

ผู้ทำหน้าที่อย่างอื่นในเพลง เช่นผู้บรรเลงดนตรี ผู้ขับร้อง หรือผู้เต้นรำประกอบเพลง จะเรียกว่า “คีตกวี” หาได้ไม่

: บทเพลงที่มีคติธรรม

: น่าฟังกว่าบทธรรมของนักเทศน์ทุศีล

—————

(โดยได้รับอนุญาตจากท่านอาจารย์ประยอม ซองทอง)

2-5-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย