บาลีวันละคำ

เลี่ยงบาลี (บาลีวันละคำ 1,432)

เลี่ยงบาลี

คืออะไร

บาลี” คำบาลีว่า “ปาฬิ” (ปา-ลิ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ปาลฺ (ธาตุ = รักษา) + อิ ปัจจัย, แปลง เป็น

: ปาลฺ + อิ = ปาลิ > ปาฬิ แปลตามศัพท์ว่า “ภาษาที่รักษาพระพุทธพจน์ไว้

(2) ปา (ธาตุ = รักษา) + ฬิ ปัจจัย

: ปา + ฬิ = ปาฬิ แปลตามศัพท์ว่า “ภาษาที่รักษาเนื้อความในศัพท์บาลีที่กล่าวถึงปริยัติธรรมไว้

(3) ปาฬิ (ขอบ, แนว) + ปัจจัย, ลบ

: ปาฬิ + = ปาฬิณ > ปาฬิ แปลตามศัพท์ว่า “ภาษาที่เปรียบเหมือนเขื่อนใหญ่ที่มั่นคงของบึงใหญ่เพื่อรักษาน้ำภายในไว้

(4) (แทนศัพท์ว่า “ปกฏฺฐ” = ยิ่งใหญ่, สำคัญ) + อาฬิ (ถ่องแถว)

: + อาฬิ = ปาฬิ แปลตามศัพท์ว่า “ถ่องแถวแห่งวจนประพันธ์ที่ยิ่งใหญ่” (วจนประพันธ์นั้นชื่อว่ายิ่งใหญ่ (1) เพราะให้รู้ความหมายแห่งศีลเป็นต้นที่ยิ่งใหญ่ และ (2) เพราะพระพุทธเจ้าเป็นต้นผู้ยิ่งใหญ่ตรัสไว้)

ขยายความ :

๑. คำว่า “ปาฬิ” ( จุฬา) เป็นคำเดิมในศัพท์บาลี คัมภีร์รุ่นเก่าเขียนเป็น “ปาฬิ” จนมีคำเรียก “” ว่า บาฬี แต่ต่อมาได้ชำระแก้ไขเป็น “ปาลิ” (ล ลิง) อย่างไรก็ตาม นักภาษายอมรับว่าคำนี้ใช้ได้ทั้ง “ปาฬิ” และ “ปาลิ

ในภาษาไทยนิยมใช้เป็น “บาลี” ( ลิง)

๒. “บาลี” ในภาษาไทยมีความหมาย 2 อย่าง ตามที่พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต อธิบายไว้ ดังนี้ –

1. “ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์”, ภาษาที่ใช้ทรงจำและจารึกรักษาพุทธพจน์แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่าได้แก่ภาษามคธ

2. พระพุทธวจนะ ซึ่งพระสังคีติกาจารย์รวบรวมไว้ คือ พระธรรมวินัยที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนา และรักษาไว้ด้วยภาษาบาลี สืบต่อกันมาในรูปที่เรียกว่าพระไตรปิฎก อันเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิม ที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาท, พุทธพจน์, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก;

ในการศึกษาพระพุทธศาสนา มีประเพณีที่ปฏิบัติกันมาในเมืองไทย ให้แยกคำว่า “บาลี” ในความหมาย ๒ อย่างนี้ ด้วยการเรียกให้ต่างกัน คือ ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ 1. ให้ใช้คำว่า ภาษาบาลี (หรือ ศัพท์บาลี คำบาลี หรือบาลี) แต่ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ 2. ให้ใช้คำว่า พระบาลี

……..

๓. “บาลี” ตามความหมายที่ 2 นี่เองที่หมายถึงในคำว่า “เลี่ยงบาลี

คือ “พระบาลี” หรือพระธรรมวินัยที่ชาวพุทธนับถือปฏิบัติสืบกันมา ในส่วนที่เป็นพระวินัยอันภิกษุสงฆ์จะต้องปฏิบัติตาม ภิกษุบางรูปที่ไม่มีความละอาย หาทาง “เลี่ยง” คือไม่ละเมิดตรงๆ แต่ใช้เลศทางอ้อมทำให้เห็นว่าไม่ผิด หรือแม้ทำผิดจริงก็หาทางแก้ตัวไปต่างๆ ว่าที่ทำเช่นนั้นไม่ผิด

ตัวอย่างพอให้เข้าใจง่าย เช่น –

ภิกษุประสงค์จะดื่มสุรา เอาสุราใส่ในเภสัชบางชนิดที่เข้าสุราเป็นกระสาย แต่ใส่มากกว่าปกติ เมื่อฉันเภสัชนั้นก็อ้างว่าตนฉันเภสัช ไม่ได้ฉันสุรา

มีสิกขาบทบัญญัติว่า ภิกษุฉันอาหารหลังเที่ยงวันเป็นอาบัติ ภิกษุรูปหนึ่งเอาข้าวสุกผสมน้ำปั่นจนเป็นน้ำแล้วดื่ม อ้างว่าตนไม่ได้ฉันอาหาร แต่ดื่มน้ำปานะ

– อย่างนี้แหละคือ “เลี่ยงบาลี

เลี่ยงบาลี” จึงหมายถึงหาวิธีทำผิดโดยไม่ให้จับได้ว่าผิดตรงๆ หรือทำผิดแล้วหาข้อแก้ตัวเพื่อให้เห็นว่าไม่ผิด

: เลี่ยงบาลีได้

: แต่เลี่ยงนรกไม่ได้

————

(ตามคำขอของ ปุณณภัทร เภาประเสริฐ)

3-5-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย