บาลีวันละคำ

เสรีภาพ (บาลีวันละคำ 1,445)

เสรีภาพ

อ่านว่า เส-รี-พาบ

ประกอบด้วย เสรี + ภาพ

(๑) “เสรี

รากศัพท์มาจาก (ตัดมาจาก “สก” (สะ-กะ) = ของตนเอง) + อิ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + อี ปัจจัย, แผลง อิ เป็น เอ, ลง อาคมระหว่าง อิ ธาตุ + อี ปัจจัย (อิ + + อี)

: + อิ > เอ = เส + + อี = เสรี แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีความเป็นไปด้วยตนเองเป็นปกติ” หมายถึง ตามใจตัวเอง, เป็นอิสระ, ตามใจชอบ (self-willed, independent, according to one’s liking)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เสรี : (คำวิเศษณ์) ที่ทำได้โดยอิสระ, มีสิทธิที่จะทําจะพูดได้โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น. (ป.; ส. ไสฺวรินฺ).”

พจน.54 บอกว่า “เสรี” สันสกฤตเป็น “ไสฺวรินฺ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ไสฺวรินฺ : (คำนาม) อวินีตวธู; ชาริณี; พันธกี; an unchaste wife; an adulteress; – ค. ถือแต่ใจของตนเปนใหญ่หรือแล้วแต่ใจตนเอง; self-willed.”

(๒) “ภาพ

บาลีเป็น “ภาว” (พา-วะ) รากศัพท์มาจาก ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อู เป็น โอ, แปลง โอ เป็น อาว

: ภู + = ภูณ > ภู > โภ > ภาว แปลตามศัพท์ว่า “ความมี” “ความเป็น

ภาว” หมายถึง ความมี, ความเป็น, ภาวะ, ธรรมชาติ (being, becoming, condition, nature)

ภาว แปลง เป็น : ภาว > ภาพ เมื่อใช้ต่อท้ายคำอื่น แปลว่า “การ–” หรือ “ความ–” แบบเดียวกับภาษาอังกฤษที่ลงท้ายว่า -ness, -tion หรือ -ty

ภาพ” ในภาษาไทย นอกจากคงตามบาลีแล้ว ความหมายยังเคลื่อนที่ไปอีก

พจน.54 บอกไว้ว่า –

ภาพ, ภาพ– : (คำนาม) ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย; รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึกเห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน, สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย. (ป., ส. ภาว).”

เสรี + ภาพ = เสรีภาพ แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะแห่งผู้มีอิสระ

พจน.54 บอกไว้ว่า –

เสรีภาพ : (คำนาม) ความสามารถที่จะกระทำการใด ๆ ได้ตามที่ตนปรารถนาโดยไม่มีอุปสรรคขัดขวาง เช่น เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการนับถือศาสนา, ความมีสิทธิที่จะทำจะพูดได้โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น.”

เสรีภาพ” เป็นศัพท์บัญญัติเทียบคำอังกฤษว่า freedom

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล freedom เป็นบาลีว่า –

(1) vimutti วิมุตฺติ (วิ-มุด-ติ) = ความหลุดรอดปลอดพ้น

(2) aparādhīnatā อปราธีนตา (อะ-ปะ-รา-ที-นะ-ตา) = ความไม่ตกอยู่ในเงื้อมมือของใคร

(3) pamokkha ปโมกฺข (ปะ-โมก-ขะ) = ความหลุดพ้น

(4) abhāva อภาว (อะ-พา-วะ) = ความไม่มีอะไรที่จะต้องไปข้องเกี่ยวกับอะไร

(5) viraha วิรห (วิ-ระ-หะ) = ความว่างเปล่า

เสรีภาพ > freedom > วิมุตฺติ > ความหลุดรอดปลอดพ้น เป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

: ถ้ายังยอมสยบให้กิเลสอย่างราบคาบ

: ก็อย่าหวังว่าจะมีเสรีภาพที่แท้จริง

16-5-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย