บาลีวันละคำ

ทิฐธรรม (บาลีวันละคำ 1,467)

ทิฐธรรม

ไม่คุ้นหน้า แต่ทว่าคุ้นความหมาย

อ่านว่า ทิด-ถะ-ทำ

ประกอบด้วย ทิฐ + ธรรม

(๑) “ทิฐ

บาลีเป็น “ทิฏฺฐ” อ่านว่า ทิด-ถะ รากศัพท์มาจาก ทิสฺ (ธาตุ = เห็น) + ปัจจัย, แปลง สฺต (คือ (ทิ)-สฺ + ) เป็น ฏฺฐ

: ทิสฺ + = ทิสฺต > ทิฏฺฐ แปลตามศัพท์ว่า (1) “เห็นแล้ว” (2) “สิ่งอันเขาเห็น

ทิฏฺฐ” ใช้ในความหมายดังนี้ –

(๑) เป็นคำนาม หมายถึง การเห็น, มโนภาพ (a vision)

(๒) เป็นคุณศัพท์ หมายถึง –

(1) ได้เห็น (seen)

(2) รู้, เข้าใจ (known, understood)

(3) อันปรากฏ, อันวินิจฉัยได้ด้วยการเห็น (visible, determined by sight)

ทิฏฺฐ” ในภาษาไทย ตัด ปฏักออก เขียนเป็น “ทิฐ

(๒) “ธรรม

บาลีเป็น “ธมฺม” (ทำ-มะ) รากศัพท์มาจาก ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺม (ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (ธรฺ > -) และ ต้นปัจจัย (รมฺม > –มฺม )

: ธรฺ > + รมฺม > มฺม : + มฺม = ธมฺม แปลตามศัพท์ว่า “สภาพที่ทรงไว้

ธมฺม สันสกฤตเป็น ธรฺม เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น ธรรม

ธมฺมธรรม” มีความหมายหลายหลาก ในภาษาไทยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “ธรรม” ไว้ดังนี้ –

(1) คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม

(2) คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า

(3) หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม

(4) ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม

(5) ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม

(6) กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ

(7) กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ

(8) สิ่งของ เช่น เครื่องไทยธรรม

ทิฏฺฐ + ธมฺม = ทิฏฺฐธมฺม แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมอันตนเห็นแล้ว” หมายถึง สิ่งที่บุคลลมองเห็น, โลกแห่งความรู้สึก, โลกนี้ (the visible order of things, the world of sensation, this world)

ในภาษาไทย “ทิฏฺฐธมฺม” เขียนเป็น “ทิฐธรรม” พจน.54 บอกไว้ว่าเป็น “คำแบบ” คือคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป และบอกความหมายไว้ดังนี้ –

ทิฐธรรม : (คำนาม) ภพนี้, ชาตินี้. (ป. ทิฏฺธมฺม).”

คนเก่าๆ แปล “ทิฏฺฐธมฺม > ทิฐธรรม” เป็นคำเก่าว่า “ทันตาเห็น” หมายความว่า บุญบาป-ดีชั่วที่ทำไว้ เห็นผลกันทันตาในชาตินี้ ไม่ต้องรอชาติหน้า

ดูก่อนภราดา! อันว่าบุญกุศลนั้น

: มองเห็นๆ อยู่ในชาตินี้ยังไม่ไขว่คว้า

: รอไปถึงชาติหน้า คิดหรือว่าจะมีโอกาสได้ทำ?

8-6-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย