บาลีวันละคำ

ตลอดกาลและนานเทอญ (บาลีวันละคำ 1,470)

ทีฆรตฺตํ

ตลอดกาลนานเทอญ

อ่านว่า ที-คะ-รัด-ตัง

ประกอบด้วย ทีฆ + รตฺตํ

(๑) “ทีฆ” (ที-คะ) รากศัพท์มาจาก ทุ (ธาตุ = ไป) + ปัจจัย, แปลง อุ ที่ ทุ เป็น อี (ทุ > ที)

: ทุ + = ทุฆ > ทีฆ แปลตามศัพท์ว่า “ระยะที่เป็นไปด้วยเสียงที่ไกล

ทีฆ” ในบาลี ถ้าเป็นคุณศัพท์ แปลว่า ยาว (long) ถ้าเป็นคำนาม แปลว่า งู (a snake)

ในที่นี้ “ทีฆ” เป็นคุณศัพท์ ขยายคำว่า “รตฺตํ

(๒) “รตฺตํ” (รัด-ตัง) รูปคำเดิมเป็น “รตฺต” (รัด-ตะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) รา (ธาตุ = ถือเอา) + ปัจจัย, ลบ อา ที่สุดธาตุ (รา > ), ซ้อน ตฺ

: รา > + ตฺ + = รตฺต แปลตามศัพท์ว่า “เวลาที่ถือเอาความไม่เบียดเบียน” (คือหยุดกิจการต่างๆ)

(2) รญฺช (ธาตุ = กำหนัด, ยินดี) + ปัจจัย, ลบ ญฺช ที่ (ร)-ญฺช (รญฺช > ), ซ้อน

: รญฺช > + ตฺ + = รตฺต แปลตามศัพท์ว่า “เวลาเป็นที่ชื่นชอบแห่งผู้มีความกำหนัด

รตฺต” ในบาลีใช้ในความหมาย 2 อย่าง คือ –

(1) กลางคืน (night)

(2) เวลาโดยทั่วๆ ไป (time in general)

รตฺต เมื่อมีคำอื่นนำหน้ามักใช้ในฐานะเป็น “กริยาวิเศษณ์” คือเป็น “-รตฺตํ

ทีฆ + รตฺต = ทีฆรตฺต > ทีฆรตฺตํ” (ที-คะ-รัด-ตัง) หมายถึง ตลอดเวลายาวนาน (a long time)

ทีฆรตฺตํ” ที่เราคุ้นหูอยู่ในท่อนท้ายของคำถวายทานที่ว่า “ … อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย” (อัม-หา-กัง / ที-คะ-รัด-ตัง / หิ-ตา-ยะ / สุ-ขา-ยะ) แปลว่า “เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ

คำว่า “กาลนาน” อ่านว่า -กาน-ละ-นาน-

คำนี้มักมีผู้พูดด้วยความเข้าใจผิดเป็น-กาน-และ-นาน-

คำว่า “กาล-” มีคำว่า “นาน” ต่อท้าย เป็นคำผสม แต่นิยมออกเสียงเหมือนคำสมาส คือออกเสียงว่า กาน-ละ-

กาล + นาน = กาลนาน

อ่านว่า กาน-ละ-นาน

ไม่ใช่ กาน-และ-นาน

ไม่มีคำว่า “และ” (เช่น ชายและหญิง คนและสัตว์) ที่เป็นคำสันธานอยู่ในคำ “กาลนาน” นี้

: อ่านคำผิด เพียงผิดสั้นๆ

: แต่ทำผิดนั้น ผิดไปตลอดกาลนาน

11-6-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย