บาลีวันละคำ

พิสูจน์ (บาลีวันละคำ 1,472)

พิสูจน์

อ่านว่า พิ-สูด

บาลีเป็น “วิสูจน” อ่านว่า วิ-สู-จะ-นะ

วิสูจน” รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = พิเศษ, แจ้ง,ต่าง) + สูจฺ (ธาตุ = บ่ง, ชี้แจง, ประกาศ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: วิ + สูจฺ = วิสูจฺ + ยุ > อน = วิสูจน แปลตามศัพท์ว่า “การบ่งอย่างพิเศษ” หมายถึง การบ่งชี้, การแสดง (indicating, exhibiting)

วิสูจน” มีนัย 2 อย่าง คือ –

(1) มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งหมกกลบอยู่ เช่นแผลกลัดหนอง เอาของแหลมเจาะแทงให้หนองไหลออกมาเพื่อให้รู้ว่าแผลและหนองมีอาการและลักษณะอย่างไร เป็นต้น ก็เรียกว่า “วิสูจน

(2) มีปัญหา คือความสงสัยเคลือบแคลงว่า ความจริง ของจริง หรือข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรกันแน่ จึงค้นคว้าหาคำตอบเพื่อให้สิ้นสงสัย ก็เรียกว่า “วิสูจน

ในภาษาไทย “วิสูจน” แผลง – เป็น – ตามหลักนิยมของไทย

: วิสูจน > พิสูจน

และเพื่อให้สะดวกแก่การออกเสียงแบบไทย จึงใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตที่ เป็น “พิสูจน์” อ่านว่า พิ-สูด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

พิสูจน์ : (คำกริยา) บ่ง, ชี้แจงให้รู้เหตุผล, เช่น เอาพยานหลักฐานไปพิสูจน์ความจริงในศาล, ทดลองให้เห็นจริง, ทดลองหาความจริง, เช่น มีวิธีพิสูจน์ว่าเป็นผงชูรสแท้หรือไม่. (ส. วิสูจน).”

: ทองแท้ไม่กลัวไฟ

: ผู้บริสุทธิ์ใจไม่กลัวการพิสูจน์

13-6-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย