บาลีวันละคำ

จักรพรรดิ (บาลีวันละคำ 1,484)

จักรพรรดิ

อ่านว่า จัก-กะ-พัด

ประกอบด้วย จักฺร + พรรดิ

(๑) “จักร” บาลีเป็น “จกฺก” (จัก-กะ) รากศัพท์มาจาก –

1) (แทนศัพท์ว่า “คมน” = การไป) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) กฺวิ ปัจจัย, ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ, ซ้อน กฺ

: + กฺ + กรฺ = จกฺกรฺ + กฺวิ = จกฺกรกฺวิ > จกฺกร > จกฺก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเครื่องทำให้เคลื่อนไปได้” = ล้อรถ (a wheel (of a carriage)

2) จกฺกฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย

: จกฺกฺ + = จกฺก แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่เบียดเบียน คือบดแผ่นดิน” = ล้อรถ (2) “วัตถุเป็นเครื่องเบียดเบียน” = กงจักร, วงจักร (a discus used as a missile weapon)

3) กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย, แผลง ที่ -(รฺ) เป็น กฺก (กรฺ > กกรฺ) (ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “ทเวภาวะ” = การทำให้เป็นสอง) แล้วแปลง ตัวหน้าเป็น , แปลง ตัวหลังเป็น กฺก, ลบที่สุดธาตุ

: กรฺ + = กร > กกฺร > จกฺร > จกฺกร > จกฺก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นเหตุให้ทำการยึดครองได้” = กองทัพ, กองพล (an array of troops)

(๒) “พรรดิ

บาลีเป็น “วตฺติ” (วัด-ติ) รากศัพท์มาจาก วตฺตฺ (ธาตุ = เป็นไป) + ณิ ปัจจัย, ลบ (ณิ > อิ)

: วตฺตฺ + ณิ > อิ = วตฺติ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นไป” “ผู้ยัง-ให้เป็นไป

จกฺก + วตฺติ = จกฺกวตฺติ > จกฺรวรฺตินฺ > จักรวรรดิ > จักรพรรดิ แปลตามศัพท์ได้หลายนัย ดังนี้ –

(1) “ผู้เป็นไปด้วยจักรรัตนะ” (คือประพฤติตามราชประเพณีมีปราบคนชั่วเป็นต้น)

(2)“ผู้ยังจักรรัตนะให้เป็นไป” (คือปล่อยให้ลอยไปข้างหน้าของตน)

(3) “ผู้หมุนวงล้อแห่งบุญ หรือวงล้อแห่งรถให้เป็นไปในเหล่าสัตว์ หรือทรงให้เหล่าสัตว์เป็นไปในวงล้อนั้น

(4) “ผู้บำเพ็ญทศพิธราชธรรมถึงสิบปีเพื่อให้จักรรัตนะเกิดขึ้น

(5) “ผู้ปฏิบัติจักรธรรม” (คือธรรมเนียมปฏิบัติ ๑๐ หรือ ๑๒ ประการ)

(6) “ผู้ยังอาณาจักรและธรรมจักรให้เป็นไปในหมู่สัตว์ทั้งสี่ทวีป

(7) “ผู้ยังจักรคืออาณาเขตให้เป็นไปไม่ติดขัด

(8) “ผู้ยังจักรคือทานอันยิ่งใหญ่ให้เป็นไป

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกความหมายของ “จักรพรรดิ” ไว้ว่า –

จักรพรรดิ : พระราชาธิราช หมายถึงพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ มีราชอาณาเขตปกครองขว้างขวางมาก บ้านเมืองในปกครองมีความร่มเย็นเป็นสุข ปราบข้าศึกศัตรูด้วยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญาและศัสตรา มีรัตนะ 7 ประการประจำพระองค์ คือ ช้างแก้ว ม้าแก้ว นางแก้ว ขุนคลังแก้ว ขุนพลแก้ว จักรแก้ว แก้วมณี.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

จักรพรรดิ : (คำนาม) พระราชาธิราช, ประมุขของจักรวรรดิ, โบราณเขียนว่า จักรพัตราธิราช ก็มี. (ส. จกฺรวรฺตินฺ; ป. จกฺกวตฺติ).”

ในคัมภีร์แสดง “จักรวรรดิวัตร” หรือหน้าที่ของจักรพรรดิ นักปกครองผู้ยิ่งใหญ่ ไว้ดังนี้ –

1. อนฺโตชนสฺมึ  พลกายสฺมึ = สงเคราะห์ชนภายใน และพลกายกองทหาร

2. ขตฺติเยสุ = สงเคราะห์กษัตริย์เมืองขึ้นทั้งหลาย

3. อนุยนฺเตสุ = สงเคราะห์เหล่าเชื้อพระวงศ์ ผู้ตามเสด็จเป็นราชบริพาร

4. พฺราหฺมณคหปติเกสุ = คุ้มครองพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย

5. เนคมชานปเทสุ = คุ้มครองชาวราษฎรพื้นเมืองทั้งหลาย

6. สมณพฺราหฺมเณสุ = คุ้มครองเหล่าสมณพราหมณ์

7. มิคปกฺขีสุ = คุ้มครองเนื้อนกที่เอาไว้สืบพันธุ์

8. อธมฺมการปฏิกฺเขโป = ห้ามปรามมิให้มีการประพฤติการอันผิดธรรม

9. อธนานํ  ธนานุปฺปทานํ = ทํานุบํารุงผู้ขัดสนไร้ทรัพย์

10. สมณพฺราหฺมเณ  อุปสงฺกมิตฺวา  ปญฺหาปุจฺฉนํ = เข้าไปหาและสอบถามปัญหากะสมณพราหมณ์

11. อธมฺมราคสฺส  ปหานํ = เว้นความกําหนัดในกามโดยอาการไม่เป็นธรรม

12. วิสมโลภสฺส  ปหานํ = เว้นโลภกล้า ไม่เลือกควรไม่ควร

ที่มา : สุมังคลวิลาสินี ภาค 3 หน้า 56, อ้างใน พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต ข้อ [339]

: นักปกครองที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน

เป็นได้แค่คนมีอำนาจ

: นักปกครองที่เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติ

เป็นจักรพรรดิราชของปวงชน

27-6-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย