บาลีวันละคำ

ธงชัย (บาลีวันละคำ 1,492)

ธงชัย

บาลีว่าอย่างไร

(๑) “ธง

คำบาลีสามัญว่า “ธช” (ทะ-ชะ) รากศัพท์มาจาก ธชฺ (ธาตุ = ไป) + ปัจจัย

: ธชฺ + = ธช (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ผ้าที่สะบัดไป

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ธช” ว่า a flag, banner; mark, emblem, sign, symbol (ธง, สัญลักษณ์; เครื่องหมาย, เครื่องแสดง, เครื่องสังเกต)

(๒) “ชัย

บาลีเป็น “ชย” (ชะ-ยะ) รากศัพท์มาจาก ชิ (ธาตุ = ชนะ) + ปัจจัย, แผลง อิ ที่ ชิ เป็น เอ แล้วแปลง เอ เป็น อย (ชิ > เช > ชย)

: ชิ > เช > ชย + = ชย (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ความชนะ” หมายถึง การปราบ, การพิชิต, ชัยชนะ (vanquishing, overcoming, victory)

ชย” ในภาษาไทยใช้ว่า “ชัย” (ไช)

ธงชัย” ในภาษาไทย เมื่อแปลงกลับเป็นบาลี “ชย” อยู่หน้า “ธช” อยู่หลัง

ชย + ธช ตามหลักไวยากรณ์บาลีท่านให้ซ้อน ทฺ ซึ่งเป็นพยัญชนะที่อยู่หน้า (ในพยัญชนะวรรค : ต ถ ท ธ น) อันเป็นพยัญชนะแรกของคำหลัง

ชย + ทฺ + ธช = ชยทฺธช อ่านว่า ชะ-ยัด-ทะ-ชะ แปลตามศัพท์ว่า “ผืนผ้าที่สะบัดไปเพื่อความชนะ” หรือ “ธงแห่งชัยชนะ” แปลตรงตัวว่า “ธงชัย

คำว่า “ชยทฺธช” มีใช้ในคัมภีร์

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปลคำว่า “ธงชัย” เป็นอังกฤษว่า –

(1) the flag of victory

(2) luckly (day of the week)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) ธงชัย ๑ : (คำนาม) ธงซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะ.

(2) ธงชัย ๒ : (คำนาม) กาลโยคอย่างหนึ่งในโหราศาสตร์ คือ เวลาประกอบด้วยโชค คราวชนะ ศัตรูจะยอมแพ้หรือแตกหนีไป.

จะเห็นได้ว่า ความหมายของ ธงชัย ๒ ในภาษาไทยเป็นความหมายที่เคลื่อนที่มาจากความหมายแรกนั่นเอง

………….

ดูก่อนภราดา!

: “ธงชัย” เป็นเพียงเครื่องจูงใจให้มุ่งมั่นต่อสู้

แต่ไม่ใช่ผู้บันดาลความสำเร็จ

: องค์พระศรีสรรเพชญผู้เป็นที่พึ่งแห่งไตรโลก

ไม่เคยทรงบันดาลโชคและผลสัมฤทธิ์

ให้แก่ผู้ที่ไม่ได้ประกอบกิจด้วยตัวเอง-มิใช่ฤๅ?

5-7-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย