บาลีวันละคำ

ประชาทัณฑ์ (บาลีวันละคำ 1,493)

ประชาทัณฑ์

อ่านว่า ปฺระ-ชา-ทัน

ประกอบด้วย ประชา + ทัณฑ์

(๑) “ประชา

บาลีเป็น “ปชา” (ปะ-ชา)  รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน) + ชนฺ (ธาตุ ธาตุ = เกิด) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ ที่สุดธาตุ และ กฺวิ + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: + ชนฺ + กฺวิ = ปชนกฺวิ > ปชน > ปช + อา = ปชา (อิตถีลิงค์)

ปชา” นักเรียนบาลีมักแปลกันว่า “หมู่สัตว์” ทำให้ผู้ไม่คุ้นสำนวนบาลีเข้าใจไปว่าหมายถึงหมู่สัตว์เดรัจฉาน แต่ความจริงหมายถึง “หมู่คน” – (ดูความหมายของคำว่า “สัตว์” ที่คำว่า สตฺต บาลีวันละคำ (212) 6-12-55)

ปชา” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เกิดมาต่างกันไป” ซึ่งเป็นคำแปลที่ตรงตามสัจธรรม เพราะท่านว่าผู้คนแม้จะมีจำนวนเป็นพันล้านก็ไม่เหมือนกันเลยแม้แต่คนเดียว

ปชา” หมายถึง คน, ผู้คน, รุ่นของคน, ผู้สืบตระกูล, ลูกหลาน, สัตว์โลก, มนุษยชาติ (progeny, offspring, generation, beings, men, world, mankind)

บาลีเป็น “ปชา” สันสกฤตเป็น “ปฺรชา” ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ประชา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ประชา : (คำนาม) หมู่คน เช่น ปวงประชา. (ส. ปฺรชา; ป. ปชา).”

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ปฺรชา : (คำนาม) ‘ประชา,’ สันตติ, บุตร์หรือสุดา; ราษฎร, ประชาชนทั่วไป; progeny, offspring; people, subjects.”

(๒) “ทัณฑ์

บาลีเป็น “ทณฺฑ” อ่านว่า ทัน-ดะ (ฑ มณโฑ ออกเสียงเหมือน ด เด็ก) รากศัพท์มาจาก –

(1) ทมฺ (ธาตุ = ฝึก, ข่ม, ทรมาน) + ปัจจัย, แปลง มฺ เป็น ณฺ

: ทมฺ > ทณฺ + = ทณฺฑ แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องทรมานฝึกฝน” หมายถึง การลงทัณฑ์, การทรมาน, การลงอาญา, การถูกปรับ

(2) ทฑิ (ธาตุ = ตี, ประหาร) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ต้นธาตุแล้วแปลงเป็น ณฺ, ลบ และสระที่สุดธาตุ

: ทฑิ > ทํฑิ > ทณฺฑิ > ทณฺฑ + = ทณฺฑ แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องตี” หมายถึง ท่อนไม้, ไม้เท้า, ไม้เรียว

ทณฺฑ” มีความหมายหลัก 2 อย่าง คือ ไม้ที่หยิบถือได้ (a stick, staff, rod) และ การลงโทษ (punishment)

ในที่นี้ “ทณฺฑ” หมายถึงการลงโทษ

ปชา + ทณฺฑ = ปชาทณฺฑ > ประชาทัณฑ์ แปลตามศัพท์ว่า “การลงโทษของประชาชน

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล “ประชาทัณฑ์” เป็นอังกฤษว่า lynch law

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี lynch เป็นบาลีว่า –

(1) avinicchitvā daṇḍaṃ paṇeti

อวินิจฺฉิตฺวา ทณฑํ ปเณติ (อะ-วิ-นิด-ฉิดต๎วา ทัน-ดัง ปะ-เน-ติ) (คำกริยา) = สั่งลงโทษโดยไม่ไต่สวน

(2) avinicchitvā paṇīta-daṇḍa

อวินิจฺฉิตฺวา ปณีต-ทณฺฑ (อะ-วิ-นิด-ฉิดต๎วา ปะ-นี-ตะ ทัน-ดะ) (คำนาม) = โทษที่สั่งให้ลงโดยไม่ไต่สวน

โปรดสังเกตว่า ความหมายตามภาษาบาลีนั้น lynch law ไม่ได้เล็งไปที่ประชาชนเข้ามารุมทำร้ายผู้กระทำผิด แต่หมายถึงผู้มีอำนาจสั่งลงโทษโดยตรง เพียงแต่เป็นการลงโทษที่ไม่มีการไต่สวนตามกระบวนการยุติธรรม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ประชาทัณฑ์ : (คำนาม) การที่ฝูงชนกลุ้มรุมทําร้าย เป็นการลงโทษบุคคลที่ตนเข้าใจหรือนึกว่ามีความผิด โดยไม่ดําเนินการตามกระบวนการยุติธรรม.”

ดูก่อนภราดา!

: เมื่อเขาจับผู้กระทำผิดได้ แลท่านออกมาปกป้องไม่ให้ถูกประชาทัณฑ์ ก็ชอบแล้ว

: แต่ตอนที่เหยื่อถูกกระทำอย่างทารุณนั้น มีใครออกมาปกป้องกันบ้าง?

6-7-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย