บาลีวันละคำ

เทศบาล (บาลีวันละคำ 1,494)

เทศบาล

อ่านว่า เทด-สะ-บาน

ประกอบด้วย เทศ + บาล

(๑) “เทศ

บาลีเป็น “เทส” (เท-สะ) รากศัพท์มาจาก ทิส (ธาตุ = แสดง, ชี้แจง, ประกาศ) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ ทิ-(สฺ) เป็น เอ (ทิสฺ > เทส)

: ทิสฺ + = ทิสณ > ทิส > เทส แปลตามศัพท์ว่า “ที่แสดงให้รู้” “ที่ประกาศให้ปรากฏ” หมายถึง จุด, หัวข้อ, ส่วน, สถานที่, ภาค, ถิ่น, ประเทศ (point, part, place, region, spot, country)

เทส” ในภาษาไทยใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “เทศ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เทศ, เทศ-, เทศะ : (คำวิเศษณ์) ต่างประเทศ เช่น เครื่องเทศ ม้าเทศ. (คำนาม) ถิ่นที่, ท้องถิ่น, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.”

(๒) “บาล

บาลีเป็น “ปาล” (ปา-ละ) รากศัพท์มาจาก ปาลฺ (ธาตุ = ดูแล, รักษา) + ปัจจัย

: ปาลฺ + = ปาล แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ดูแล” หมายถึง ยาม, ผู้รักษา, ผู้คุ้มครอง, ผู้ป้องกัน (a guard, keeper, guardian, protector)

ปาล” ใช้ในภาษาไทยว่า “บาล” (บาน) พจน.54 บอกไว้ว่า –

บาล : (คำกริยา) เลี้ยง, รักษา, คุ้มครอง, ปกครอง, เช่น บาลเมือง, โดยมากใช้เป็นคำหลังสมาส เช่น โลกบาล รัฐบาล นครบาล โคบาล นิรยบาล. (ป., ส. ปาล).”

เทส + ปาล = เทสปาล > เทศบาล แปลว่า “ผู้ดูแลท้องถิ่น

เทศบาล” เป็นคำที่บัญญัติเทียบคำอังกฤษว่า municipality

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล municipality เป็นบาลีว่า –

(1) nagarasabhā นครสภา (นะ-คะ-ระ-สะ-พา) = ที่ประชุม (เพื่อบริหารงาน) ของเมือง

(2) nāgarikapālana นาคริกปาลน (นา-คะ-ริ-กะ-ปา-ละ-นะ) = การปกครองดูแลชาวเมือง

ความหมายในภาษาไทย พจน.54 บอกไว้ว่า –

เทศบาล (คำที่ใช้ในกฎหมาย) (คำนาม) : องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ประกอบด้วยนายกเทศมนตรีและสภาเทศบาล.”

………

คงไม่มีใครปฏิเสธว่า บ้านเมืองไม่จำเป็นต้องได้ผู้ปกครองที่มีคุณธรรม

: โชคดี-ที่เรามีระบบการปกครองที่ให้สิทธิ์เลือกผู้ปกครองได้

: แต่โชคร้าย-ที่เราไม่มีวิธีเลือกผู้ปกครองที่มีคุณธรรม

7-7-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย