บาลีวันละคำ

สวรรคต (บาลีวันละคำ 791)

อ่านว่า สะ-หฺวัน-คด

บาลีเป็น “สคฺคคต” อ่านว่า สัก-คะ-คะ-ตะ

ประกอบด้วย สคฺค + คต

สคฺค” รากศัพท์มาจาก สุ (= ดี, งาม) + อคฺค ลบ อุ ที่ สุ

อคฺค” มีความหมายว่า เด่น, ยอดเยี่ยม, ดีที่สุด, สูงสุด, สำคัญที่สุด (illustrious, excellent, the best, highest, chief)

: สุ > + อคฺค = สคฺค 

สคฺค” (สันสกฤตเป็น สฺวรฺค) แปลตามศัพท์ว่า “ที่ดำรงอยู่ยืนนานและสวยงาม” “แดนอันแสนดีเลิศล้ำด้วยกามคุณ” “แดนที่มีอารมณ์อันเลิศ” (คือได้พบเห็นสัมผัสแต่สิ่งที่น่าเพลิดเพลินเจริญใจ) “แดนที่ติดข้อง

ภาษาไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “สวรรค์” (สะ-หฺวัน) พจน.54 บอกความหมายไว้ว่า “โลกของเทวดา, เมืองฟ้า

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล สคฺค ว่า heaven, the next world (สวรรค์, โลกหน้า) แล้วขยายความว่า popularly conceived as a place of happiness and long life (ตามมโนภาพทั่วๆ ไป เข้าใจกันว่าเป็นสถานที่มีควมสุขและมีอายุยืน)

ตามปกติคำว่า “สคฺค” หมายถึง สวรรค์ที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม 6 ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี

แต่ความหมายในวงกว้าง “สคฺค” หมายถึงเทวโลกทุกภพภูมิ

คต” (คะ-ตะ) รากศัพท์มาจาก คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ปัจจัย (ปัจจัยตัวนี้ใช้หมายถึง อดีตกาล คือแปลว่า “-แล้ว” เช่น กินแล้ว, ทำแล้ว), ลบที่สุดธาตุ

: คมฺ > + = คต แปลว่า “ไปแล้ว

สคฺค + คต = สคฺคคต แปลตามศัพท์ว่า “ไปแล้วสู่สวรรค์

สคฺคคต ในภาษาไทยใช้ว่า “สวรรคต

โปรดสังเกตว่า ศัพท์เดิมในบาลีมี ค 2 ตัว คือ ที่ สคฺค (= สวรรค์) ตัวหนึ่ง และ ที่ คต อีกตัวหนึ่ง แต่ในภาษาไทย “สวรรคต” มี ตัวเดียว ถ้าแยกคำก็จะเห็นได้ชัดว่าชอบกล กล่าวคือ –

สวรรค + ก็ไม่ใช่ เพราะคำเดิม + คต ไม่ใช่ –

สวรร + คต ก็ไม่ใช่อีก เพราะคำเดิม สวรรค ไม่ใช่ สวรร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สวรรคต, เสด็จสวรรคต : (ราชาศัพท์) (คำกริยา) ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้แก่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี หรือผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเป็นการเฉพาะ เช่น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร). (ส. สฺวรฺค + คต ว่า ไปสู่สวรรค์)”

สวรรคต” มักมีผู้พูดออกเสียงว่า สะ-หฺวัน-นะ-คด (-หฺวัน-นะ-) เนื่องจาก –หฺวัน- เป็นเสียงแม่ กน ชวนให้มีเสียง นะ- ติดมา

เคยได้ยินมีผู้ออกเสียงว่า สะ-หฺวัน-ระ-คด (-หฺวัน-ระ-) ก็มี คงเนื่องจากเห็นว่า ร เป็นตัวสะกด

สวรรคต” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกคำอ่านไว้ว่า สะ-หฺวัน-คด (ไม่ใช่ –นะ-คด หรือ –ระ-คด)

ถ้าเราไม่พยายามพัฒนาความรู้ทางภาษาให้ลึกไปถึงราก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานในอนาคตอาจรับรองว่า สะ-หฺวัน-นะ-คด และ สะ-หฺวัน-ระ-คด เป็นคำอ่านที่ถูกต้องไปอีกคำหนึ่ง

: สวรรคต < สคฺคคต เป็นคำที่มีใช้ในคัมภีร์ ดังคาถาบทหนึ่งว่า –

เอวมาทีนวํ  ญตฺวา   อิสฺสรมานสมฺภวํ

ปหาย  อิสฺสรมทํ       ภเว  สคฺคคโต  นโร.

ความถือตัวว่ามีอำนาจเป็นใหญ่ ย่อมเกิดโทษ

คนที่รู้อย่างนี้แล้ว

ขจัดความเมาอำนาจได้

ก็ “สคฺคคต” = ไปสวรรค์ได้

(เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่ม ๒๖ ข้อ ๑๒๖)

———————–

(18 กรกฎาคม 2538

สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี เสด็จสวรรคต)

#บาลีวันละคำ (791)

18-7-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *