พาณิช กับ พาณิชย์ (บาลีวันละคำ 792)
มีความหมายต่างกันอย่างไร
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –
(1) พาณิช : (คำนาม) พ่อค้า. (ส., ป. วาณิช).
(2) พาณิชย-, พาณิชย์ : [พานิดชะยะ-, พานิด] (คำนาม) การค้าขาย; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการพาณิชย์ และกิจการทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการพาณิชย์รวมตลอดทั้งการซื้อขายและแลกเปลี่ยนสินค้า การควบคุมและส่งเสริมเกี่ยวกับกิจการค้าและการประกันภัย. (ส. วาณิชฺย; ป. วาณิชฺช).
(1) “พาณิช” บาลีเป็น “วาณิช” (วา-นิ-ชะ) ภาษาไทย พ– บาลี ว– รากศัพท์มาจาก วาณ (= เสียง, การส่งเสียง) + อชฺ (ธาตุ = ไป) + อ ปัจจัย, แปลง อ ต้นธาตุเป็น อิ
: วาณ + อชฺ = วาณช + อ = วาณช > วาณิช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ไปทางโน้นทางนี้ด้วยการส่งเสียง” หมายถึง พ่อค้า, คนค้าขาย (a merchant, trader)
ความหมายนี้คงเนื่องมาจากพ่อค้าสมัยโบราณจะไปซื้อขายที่ไหนก็ส่งเสียงร้องบอกชาวบ้านไปด้วย
การโฆษณาสินค้าในสมัยนี้ก็คือรูปแบบของ “การส่งเสียง” ที่พัฒนาขึ้นมานั่นเอง
(2) “พาณิชย” (มี ย์) บาลีเป็น “วาณิชฺช” (วา-นิด-ชะ, ช 2 ตัว) รากศัพท์เดียวกับ “วาณิช” เพียงแต่ลงปัจจัยที่ทำให้ “นามบุคคล” กลายเป็น “อาการนาม”
สูตรทางไวยากรณ์คือ – วาณิช + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ, แปลง ชย (ช ที่ วาณิช + ย ปัจจัยที่เหลือจากลบ ณฺ) เป็น ชฺช
: วาณิช + ณฺย > ย : วาณิช + ย = วาณิชย > วาณิชฺช แปลตามศัพท์ว่า “กิจการของผู้ค้าขาย” หมายถึง การค้าขาย, การซื้อขาย (trade, trading, commerce, business)
สรุปความแตกต่าง :
พาณิช = ผู้ค้า = บุคคล
พาณิชย์ = การค้า = กิจการ
: ความดีมีไว้ทำ
: ไม่ใช่มีไว้ขาย
#บาลีวันละคำ (792)
19-7-57
พาณิช กับ พาณิชย์
มีความหมายต่างกันอย่างไร
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –
(1) พาณิช : (คำนาม) พ่อค้า. (ส., ป. วาณิช).
(2) พาณิชย-, พาณิชย์ : [พานิดชะยะ-, พานิด] (คำนาม) การค้าขาย; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการพาณิชย์ และกิจการทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการพาณิชย์รวมตลอดทั้งการซื้อขายและแลกเปลี่ยนสินค้า การควบคุมและส่งเสริมเกี่ยวกับกิจการค้าและการประกันภัย. (ส. วาณิชฺย; ป. วาณิชฺช).
(1) “พาณิช” บาลีเป็น “วาณิช” (วา-นิ-ชะ) ภาษาไทย พ– บาลี ว– รากศัพท์มาจาก วาณ (= เสียง, การส่งเสียง) + อชฺ (ธาตุ = ไป) + อ ปัจจัย, แปลง อ ต้นธาตุเป็น อิ
: วาณ + อชฺ = วาณช + อ = วาณช > วาณิช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ไปทางโน้นทางนี้ด้วยการส่งเสียง” หมายถึง พ่อค้า, คนค้าขาย (a merchant, trader)
ความหมายนี้คงเนื่องมาจากพ่อค้าสมัยโบราณจะไปซื้อขายที่ไหนก็ส่งเสียงร้องบอกชาวบ้านไปด้วย
การโฆษณาสินค้าในสมัยนี้ก็คือรูปแบบของ “การส่งเสียง” ที่พัฒนาขึ้นมานั่นเอง
(2) “พาณิชย” (มี ย์) บาลีเป็น “วาณิชฺช” (วา-นิด-ชะ, ช 2 ตัว) รากศัพท์เดียวกับ “วาณิช” เพียงแต่ลงปัจจัยที่ทำให้ “นามบุคคล” กลายเป็น “อาการนาม”
สูตรทางไวยากรณ์คือ – วาณิช + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ, แปลง ชย (ช ที่ วาณิช + ย ปัจจัยที่เหลือจากลบ ณฺ) เป็น ชฺช
: วาณิช + ณฺย > ย : วาณิช + ย = วาณิชย > วาณิชฺช แปลตามศัพท์ว่า “กิจการของผู้ค้าขาย” หมายถึง การค้าขาย, การซื้อขาย (trade, trading, commerce, business)
สรุปความแตกต่าง :
พาณิช = ผู้ค้า = บุคคล
พาณิชย์ = การค้า = กิจการ
: ความดีมีไว้ทำ
: ไม่ใช่มีไว้ขาย
#บาลีวันละคำ (792)
19-7-57