บาลีวันละคำ

ทิฐิมานะ (บาลีวันละคำ 794)

อ่านว่า ทิด-ถิ-มา-นะ

ประกอบด้วยคำว่า ทิฐิ + มานะ

ทิฐิ” บาลีเป็น “ทิฏฺฐิ” (ทิด-ถิ)

โปรดสังเกต บาลีมี ปฏักสะกด ภาษาไทย(ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน) ตัด ออก

ทิฏฺฐิ” รากศัพท์มาจาก ทิสฺ (ธาตุ = เห็น) + ติ ปัจจัย, ลบ สฺ ที่สุดธาตุ, แปลง ติ เป็น ฏฺฐิ

: ทิสฺ > ทิ + ติ > ฏฺฐิ : ทิ + ฏฺฐิ = ทิฏฺฐิ แปลตามศัพท์ว่า “ความเห็น” หมายถึง ความคิดเห็น, ความเชื่อ, หลักลัทธิ, ทฤษฎี, การเก็ง, ทฤษฎีที่ผิด, ความเห็นที่ปราศจากเหตุผลหรือมูลฐาน (view, belief, dogma, theory, speculation, false theory, groundless or unfounded opinion)

ในภาษาธรรม ถ้าพูดเฉพาะ “ทิฏฺฐิ” จะหมายถึง ความเห็นผิด

ถ้าต้องการชี้เฉพาะ จะมีคำบ่งชี้นำหน้า คือ “มิจฺฉาทิฏฺฐิ” = ความเห็นผิดสมฺมาทิฏฺฐิ” = ความเห็นถูก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ทิฐิ : (คำนาม) ความเห็น เช่น สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด; ความอวดดื้อถือดี เช่น เขามีทิฐิมาก”

มานะ” บาลีเขียน “มาน” (มา-นะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) มาน (ธาตุ = บูชา) + ปัจจัย = มาน แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่ให้เขาบูชา” คือต้องการให้เขานับถือ

(2) มน (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย, ลบ , ยืดเสียง ต้นธาตุเป็น อา

: มน + = มน > มาน แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่สำคัญตนว่าดีกว่าเขาเป็นต้น” หมายถึง ความถือตัว, ความหยิ่ง, ความยโส (pride, conceit, arrogance) (ดูเพิ่มเติมที่ มาน : บาลีวันละคำ (87) 3-8-55)

ในภาษาไทย “มานะ” มีความหมายเพี้ยนไปเป็นว่า เพียรพยายาม ขยันมุ่งมั่น เช่นในคำว่า มานะพากเพียร มุมานะ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มานะ ๒ : (คำนาม) ความพยายาม, ความตั้งใจจริง, ความพากเพียร, เช่น มีมานะอดทน มีมานะในการทำงาน; ความถือตัว”

ความแตกต่างระหว่าง ทิฐิ กับ มานะ :

(1) ทิฐิ (ทิฏฐิ) หมายถึงการยึดมั่นในความคิดเห็นหรือความเชื่อของตัวเอง

(2) มานะ หมายถึงการยึดมั่นในสถานะของตัวโดยเทียบกับคนอื่น

ทิฐิมานะ” เป็นคำที่นิยมพูดควบกันในภาษาไทย (พูดเป็น “มานะทิฐิ” ก็มีบ้าง) มีความหมายว่า ไม่ยอมกัน ไม่ลงกัน หรือไม่คืนดีต่อกัน เช่น “คู่นี้เอาแต่ทิฐิมานะกันอยู่นั่นแหละ

ในคัมภีร์มีกล่าวถึง ทิฐิ กับ มานะ คู่กันบ่อยๆ แต่เป็น “มานทิฏฺฐิ” และมีคำที่เป็นชุดกันอีกคำหนึ่งคือ “ตัณหา” รวมเป็น “ตณฺหามานทิฏฺฐิ” (ตัน-หา-มา-นะ-ทิด-ถิ) นับเป็นกิเลสตัวสำคัญ

กิเลสสามตัวนี้ถอดความหมายอิงคำของท่านพุทธทาสภิกขุ ก็คือ –

(1) ตัณหา = “ของกู” (..ของข้าใครอย่าแตะ)

(2) ทิฐิ = “ตัวกู” (เชื่อมั่นว่ามีตัวตนถาวรสำหรับไปเสวยสุข)

(3) มานะ = “นี่กูนะ” (ให้มันรู้เสียบ้างว่ากูเป็นใคร)

: ตัวกู ของกู นี่กูนะ

: ใครสละละได้-ไปนิพพาน

#บาลีวันละคำ (794)

21-7-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *