บาลีวันละคำ

ครุฑพ่าห์ (บาลีวันละคำ 2497)

ครุฑพ่าห์

อ่านว่า คฺรุด-พ่า

ประกอบด้วยคำว่า ครุฑ + พ่าห์

(๑) “ครุฑ

บาลีเป็น “ครุฬ” (คะ-รุ-ละ) รากศัพท์มาจาก –

(1) คร (งู, นาค) + หนฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย, ลบ , แปลง ที่ (ค)- เป็น รุ (คร > ครุ), แปลง หนฺ เป็น

: คร + หนฺ = ครหนฺ + = ครหนณ > ครหน > ครุหน > ครุฬ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เบียดเบียนพญานาค

(2) ครุ (ของหนัก) + ลา (ธาตุ = ถือเอา) + ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (ลา > ), แปลง ที่ ลา ธาตุ เป็น (ลา > ฬา)

: ครุ + ลา = ครุลา > ครุล + = ครุล > ครุฬ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ถือของหนักได้” (คือจับพญานาคบินไปได้)

ครุฬ” (ปุงลิงค์) หมายถึง ครุฑ (the garuda)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ครุฬ” ว่า Name of a mythical bird, a harpy (ชื่อของนกในนิยาย, ครุฑ, นกหน้าเป็นมนุษย์)

บาลี “ครุฬ” สันสกฤตเป็น “ครูฑ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ครูฑ : (คำนาม) ยานปักษินของพระวิษณุ, ครุฑราชปักษิน, พญาครุฑหรือครุฑทรงขององค์นารายณ์ (ช่างเขียน ๆ รูปไว้กลายๆ, กล่าวคือ, มนุษย์ก็มิใช่ปักษินก็มิเชิง, นับว่าเปนพญานก; เปนโอรสกัศยปและวินตา, และเปนอนุภราดาของอรุณ); the vehicle bird of Vishṇu or Nārāyaṇa [he is represented as a being something between a man and a bird, and considered sovereign of the feathered race; he is the son of Kaśyapa and Vinatā, and younger brother of Aruṇa].”

ในภาษาไทยใช้ตามสันสกฤตเป็น “ครุฑ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ครุฑ : (คำนาม) พญานกในเทพนิยาย เป็นพาหนะของพระนารายณ์, ใช้เป็นตราแผ่นดินและเครื่องหมายทางราชการ. (ส.; ป. ครุฬ).”

(๒) “พ่าห์

บาลีเป็น “วาห” อ่านว่า วา-หะ รากศัพท์มาจาก –

(1) วาหฺ (ธาตุ = พยายาม) + ปัจจัย

: วาหฺ + = วาห แปลตามศัพท์ว่า “ผู้พยายาม (ที่จะไป)

(2) วหฺ (ธาตุ = นำไปให้ถึง) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(หฺ) เป็น อา (วหฺ > วาหฺ)

: วหฺ + = วหณ > วห > วาห แปลตามศัพท์ว่า (1) “ยานที่นำไป” (2) “ผู้นำไปให้ถึง

วาห” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การบรรทุก, การนำ; ผู้นำ (carrying, leading; a leader)

(2) เกวียน, พาหนะ (a cart, vehicle)

(3) ม้า (a horse)

(4) ของซึ่งบรรทุกเต็มเกวียนเล่มหนึ่ง (a cartload) เป็นชื่อมาตราตวง อัตรา 100 ถังเท่ากับ 1 วาหะ เช่นที่ภาษาไทยพูดว่า “ข้าวเปลือกเกวียนละ…” “เกวียน” คำนั้นก็คือ “วาห” คำนี้

วาห” ในภาษาไทย แผลง เป็น ใช้เป็น “พาห” ในที่นี้เขียนเป็น “พ่าห์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

พ่าห์, พาหะ ๑ : (คำนาม) ผู้แบก, ผู้ถือ, ผู้ทรงไว้; ม้า. (ป., ส. วาห).”

ครุฑ + พ่าห์ = ครุฑพ่าห์ แปลตามศัพท์ว่า (2) “ครุฑผู้เป็นพาหะคือผู้นำไป” (2) “ผู้นำไปคือครุฑ

ขยายความ :

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 มีคำว่า “ครุฑพ่าห์” บอกไว้ดังนี้ –

ครุฑพ่าห์ : (คำนาม) ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงทำเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวมต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เรียกเต็มว่า ธงพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่, ใช้เข้าคู่กับ ธงกระบี่ธุช โดยธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา และธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย.”

ต่อมา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ปรับปรุงใหม่ แยกเก็บเป็น “ครุฑพ่าห์ ๑” และ “ครุฑพ่าห์ ๒”

ครุฑพ่าห์ ๑” บอกไว้ว่า คือ “เครื่องหมายครุฑพ่าห์” หมายถึง “เครื่องหมายที่เป็นรูปครุฑ พระครุฑพาห หรือพระครุฑพ่าห์ ในอิริยาบถต่าง ๆ.”

ครุฑพ่าห์ ๒” บอกไว้ว่า คือ “ธงพระครุฑพ่าห์, ธงชัยพระครุฑพ่าห์, ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่” มีคำอธิบายดังนี้ –

ธงพระครุฑพ่าห์, ธงชัยพระครุฑพ่าห์, ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่ : (คำนาม) ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงทำเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวมต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เข้าคู่กับธงกระบี่ธุช โดยธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา และธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย.

…………..

หนังสือ “ประมวลองค์ความรู้พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” กระทรวงวัฒนธรรมจัดพิมพ์เนื่องในมหามงคลการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 หน้า 128 อธิบายเรื่อง “พระราชลัญจกร” มีข้อความตอนหนึ่งดังนี้

…………..

พระราชลัญจกรประรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เป็นพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์แกะสลักจากงา มีพระปรมาภิไธยบนขอบรอบพระราชลัญจกร ใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธยในเอกสารสำคัญอันเป็นราชการแผ่นดินทั้งปวงประจำรัชสมัย เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา พระราชกำหนด ประกาศพระบรมราชโอการต่างๆ เป็นต้น

…………..

สรุปว่า คำว่า “ครุฑพ่าห์” ใช้เรียกสิ่งที่มีรูปครุฑในฐานะเป็น “พ่าห์” คือผู้แบก ผู้ถือ หรือผู้ทรงไว้ซึ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งปรากฏอยู่ในสิ่งนั้นๆ ซึ่งอาจสรุปได้ คือ –

(1) ธงชนิดหนึ่ง คือ ธงพระครุฑพ่าห์, ธงชัยพระครุฑพ่าห์, ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่

(2) เครื่องหมายรูปครุฑในพระราชลัญจกร เรียกว่า “พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์

(3) สิ่งที่มีเครื่องหมายเป็นรูปครุฑในอิริยาบถต่าง ๆ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ไม่ใช่พญาครุฑอย่าบังอาจยุดนาคี

: ไม่ใช่เมธีอย่าบังอาจแก้ปริศนาธรรม

#บาลีวันละคำ (2,497)

14-4-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *