บาลีวันละคำ

ลงมติ (บาลีวันละคำ 1,525)

ลงมติ

บาลีว่าอย่างไร

ลงมติ” คำบาลีคือ “มติ

มติ” (มะ-ติ) รากศัพท์มาจาก มนฺ (ธาตุ = รู้) + ติ ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ (มนฺ > )

: มนฺ + ติ = มนติ > มติ แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมชาติที่รู้” (คำหลักคือ “รู้” และมองว่า การรู้นั้นเป็น “ธรรมชาติ” อย่างหนึ่ง) หมายถึง จิตใจ, ความเห็น, ความคิด; การคิดถึง, ความอยาก, ความอยากได้หรือปรารถนา (mind, opinion, thought; thinking of, hankering after, love or wish for)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน) บอกไว้ว่า –

มติ : (คำนาม) พุทธิ; ความปรารถนา; ความจำ; ความเคารพ; ความเห็น; understanding or intellect; wish or desire; memory or recollection; opinion.”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) มติ : (คำนาม) ความเห็น, ความคิดเห็น, เช่น ที่ประชุมลงมติ มติของข้าพเจ้า, ความรู้; ข้อวินิจฉัยญัตติที่เสนอต่อที่ประชุม. (ป., ส.).

(2) ลงมติ : (คำกริยา) ลงความเห็นร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง.

เมื่อพูดว่า “ลงมติ” คำอังกฤษที่เราคุ้นกันดีน่าจะเป็นคำว่า vote

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล vote เป็นบาลีดังนี้ –

: คำนาม –

(1) chandaka ฉนฺทก (ฉัน-ทะ-กะ) = การให้ความเห็นชอบ

(2) anumati อนุมติ (อะ-นุ-มะ-ติ) = การรับรู้

: คำกริยา –

(1) chandaṃ deti ฉนฺทํ เทติ = ให้ความเห็นชอบ

(2) anumatiṃ pakāseti อนุมตึ ปกาเสติ = ประกาศการรับรู้

: ออกเสียงเสร็จแล้ว –

(1) dinnachanda ทินฺนฉนฺท = ให้ความเห็นชอบแล้ว

(2) pakāsitānumatī ปกาสิตานุมตี = ประกาศการรับรู้แล้ว

: ผู้ออกเสียง –

(1) chandadāyī ฉนฺททายี = ผู้ให้ความเห็นชอบ

ผ2) anumatidāyī อนุมติทายี = ผู้ให้การรับรู้

เข้าใจให้ตรงกัน :

คำว่า “ฉนฺท” = ความเห็นชอบ ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง “เห็นด้วย” หรือ yes แต่หมายถึงบุคคลผู้นั้นชอบอย่างไร ชอบแบบไหน ก็ประกาศแสดงความชอบของตนออกมาให้ปรากฏ ซึ่งอาจจะเป็นการเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย คืออาจตอบ yes หรือ no ก็ได้ ตามที่ผู้ตอบพอใจ

ศัพท์อื่นในที่นี้ก็พึงเข้าใจความหมายโดยนัยเดียวกันนี้

…………..

ดูก่อนภราดา!

คนเรามักทำอะไรๆ ตามความคิดเห็นของตน

: ความคิดเห็นเปลี่ยนได้

: แต่ผลของการกระทำเปลี่ยนไม่ได้

7-8-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย