บาลีวันละคำ

อุรํ ทตฺวา (บาลีวันละคำ 1,526)

อุรํ ทตฺวา

แขกแปลกหน้า… แต่น่ารู้จัก

อ่านว่า อุ-รัง-ทัด-ตฺวา

เป็นวลี ประกอบด้วย 2 คำ คือ “อุรํ” คำหนึ่ง “ทตฺวา” คำหนึ่ง

(๑) “อุรํ” ศัพท์เดิมเป็น “อุร” (อุ-ระ) รากศัพท์มาจาก –

(1) อุสฺ (ธาตุ = เผา, ร้อน) + ปัจจัย, ลบ สฺ ที่ (อุ)-สฺ (อุสฺ > อุ)

: อุสฺ + = อุสร > อุร (ปุงลิงค์ และนปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะที่ร้อนรุ่มเมื่อคนทุบตีด้วยความเสียใจ

(2) อุ แทนศัพท์ “ทุกฺข” = ความทุกข์) + รา (ธาตุ = ทุบ, ตี) + ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “ลบสระหน้า” คือ รา + : รา อยู่หน้า อยู่หลัง) (รา > )

: อุ + รา = อุรา > อุร + = อุร แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะที่ผู้คนทุบตีเมื่อได้รับความทุกข์

(3) อุรฺ (ธาตุ = เป็นไป) + ปัจจัย

: อุร + = อุร แปลตามศัพท์ว่า (1) “อวัยวะที่เป็นไปแห่งตับเป็นต้น” (คือตับและหัวใจเป็นต้นอยู่ในบริเวณนั้น) (2) “อวัยวะที่เป็นไปด้วยอำนาจลม” (คือกระเพื่อมไปตามลมหายใจ)

อุร” หมายถึง อก, หน้าอก (the breast, chest)

(๒) “ทตฺวา

เป็นคำกริยา รากศัพท์มาจาก ทา (ธาตุ = ให้) + ตฺวา ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (ทา > )

: ทา > + ตฺวา = ทตฺวา แปลว่า “ให้แล้ว

หลักวิชา :

ทตฺวา” นักเรียนบาลีรู้กันดีในนาม “ตฺวา ปัจจัย” คำนี้ไม่ใช่อ่านว่า ทัด-วา และไม่ใช่อ่านว่า ทัด-ตะ-วา

โปรดสังเกต ตฺวา มีจุดใต้ ตฺ บอกให้รู้ว่า ตฺ เป็นตัวสะกด : + ตฺ = ทตฺ > ทัต

ในเวลาเดียวกัน ตฺ ก็ออกเสียงครึ่งเสียงด้วย คือไม่ใช่ –ตะ– เต็มเสียง

วิธีที่จะออกเสียง “ตฺวาตฺ ครึ่งเสียงได้ถูกต้อง คือลองออกเสียงเป็น “ตัว-อา” แล้วรวบคำว่า “ตัว” ให้สั้นเข้า หรือพูดเร็วๆ ก็จะได้เสียง “ตฺวา” ที่ถูกต้อง

ดังนั้น “ทตฺวา” ก็คือ “ทัด-ตัว-อา” ออกเสียงเร็วๆ ก็จะได้เสียง “ทตฺวา” ที่ถูกต้อง

อุรํ ทตฺวา” แปลตามศัพท์ว่า “ให้แล้ว ซึ่งอก” (อย่าลืมว่าเป็น 2 คำ ไม่ใช่คำเดียว)

วลีนี้เป็นสำนวน หมายถึง ทุ่มเททำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างสุดชีวิต หรือจะเลิกทำก็ต่อเมื่อตายแล้วเท่านั้น

ความหมายที่กระชับของวลีนี้จึงหมายถึง “มอบกายถวายชีวิตให้แก่สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือแก่คนใดคนหนึ่ง”

สำนวนที่นักเรียนบาลียกเป็นตัวอย่างกันมากที่สุดคือ “พุทฺธสาสเน อุรํ ทตฺวา” แปลตามศัพท์ว่า “ถวายอกไว้ในพระพุทธศาสนา” เป็นสำนวนเมื่อกล่าวถึงภิกษุที่บวชถวายชีวิต คือไม่สึกตลอดชีวิต หรือที่พูดกันว่า “ตายคาผ้าเหลือง

สำนวน “พุทฺธสาสเน อุรํ ทตฺวา” ใช้ในกรณีที่-อยู่ในสมณเพศก็อยู่ได้อย่างงามสง่า ไม่เป็นที่ระแวงรังเกียจของใครๆ ในความบริสุทธิ์ หากแม้จะลาสิกขาออกไปก็สามารถออกไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี แต่ตัดสินใจที่จะมอบกายถวายชีวิตไว้ในพระพุทธศาสนาด้วยความตั้งใจเต็มใจของตัวเอง อย่างนี้จึงจะตรงกับสำนวน “อุรํ ทตฺวา

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลความหมายของวลี “อุรํ ทตฺวา” อ่อนไปกว่าสำนวนแปลของนักเรียนไทย คือแปลว่า to put oneself on to something with one’s chest (เข้ารับหรือจับงานบางอย่างด้วยอกของตนเอง) และบอกว่าใช้เป็นสำนวนมีความหมายว่า to apply oneself to (ใช้ความเพียรพยายามของตน)

ต่อไปนี้ หากตัดสินใจยอมมอบกายถวายชีวิตให้แก่ใครหรือให้แก่กิจการงานใดๆ ก็พูดได้ว่า – เรื่องนี้ข้าพเจ้า “อุรํ ทตฺวา” เด็ดขาดแล้ว

: ถ้ายังตัดสินใจไม่ตก

: อย่ายอมยกอกให้ใครง่ายๆ

———————-

(ถวายกำลังใจและอนุโมทนาสาธุการกับพระเดชพระคุณ Phra Sithawatchamethi Phamonphon)

8-8-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย