บาลีวันละคำ

โวหาร (บาลีวันละคำ 1,529)

โวหาร

ภาษาไทยอ่านว่า โว-หาน

บาลีอ่านว่า โว-หา-ระ

โวหาร” รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + อว (คำอุปสรรค = ลง) + หรฺ (ธาตุ = นำไป) + ปัจจัย, ลบ , “ลบสระหน้า” คือ วิ + อว ลบ อิ ที่ วิ (วิ > ), แผลง อว เป็น โอ, “ทีฆะต้นธาตุ” คือยืดเสียง อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (หรฺ > หาร)

: วิ > + อว > โอ : + โอ = โว + หรฺ = โวหร + = โวหรณ > โวหร > โวหาร แปลตามศัพท์ว่า (1) “คำอันเขากล่าว” (2) “คำเป็นเครื่องกล่าว” (3) “คำที่ลักใจของเหล่าสัตว์อย่างวิเศษ” (คือดึงดูดใจคนฟังไป) (4) “ภาวะที่พูดทำความขัดแย้ง” (5) “การตกลงกัน

โวหาร” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

โวหาร : (คำนาม) ชั้นเชิงหรือสํานวนแต่งหนังสือหรือพูด เช่น มีโวหารดี, ถ้อยคําที่เล่นเป็นสําบัดสํานวน เช่น อย่ามาตีโวหาร เขาชอบเล่นโวหาร. (ป.).”

ในภาษาไทย “โวหาร” เล็งถึง “คำพูด” แต่ในภาษาบาลี “โวหาร” มีความหมายหลายอย่าง คือ –

(1) ชื่อหรือการเรียกขานที่ใช้กันในเวลานั้น, การใช้ภาษาร่วมกัน, ตรรกวิทยา, วิธีปกติธรรมดาของการนิยาม, วิธีใช้, ตำแหน่ง, ฉายา (current appellation, common use, popular logic, common way of defining, usage, designation, term, cognomen)

(2) การค้า, ธุรกิจ (trade, business)

(3) คดีความ, กฎหมาย, พันธะทางกฎหมาย; วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับคดีความ, วิชาธรรมศาสตร์ (lawsuit, law, lawful obligation; juridical practice, jurisprudence)

อภิปราย :

๑ การที่ “โวหาร” หมายถึงธุรกิจ การค้า คงจะมีมูลมาจากผู้ขายสินค้าร้องเรียกผู้คนให้มาซื้อสินค้าของตนไม่ว่าจะขายอยู่กับที่หรือนำสินค้าไปตระเวนขาย

ถ้าดูที่การโฆษณาสินค้าในสมัยนี้จะยิ่งเห็นได้ชัดเจนที่สุด การโฆษณานั่นเองคือความหมายของ “โวหาร” และนั่นจึงเป็นเหตุให้ “โวหาร” หมายถึงธุรกิจ การค้า

๒ การที่ “โวหาร” หมายถึงคดีความ ก็อธิบาย (แบบลากเข้าความ) ได้ว่า ในกระบวนของการ “เป็นความ” กันนั้น ทั้งโจทก์และจำเลยจะต้องใช้ “โวหาร” เพื่อแสดงให้เห็นว่าตนเป็นฝ่ายถูก อีกข้างหนึ่งเป็นฝ่ายผิด ฝ่ายไหนใช้โวหารโน้มน้าวให้น่าเชื่อได้ดีกว่า ฝ่ายนั้นก็ชนะคดี เพราะฉะนั้น “โวหาร” จึงหมายถึงคดีความได้ด้วย

๓ ในภาษาไทยมีคำว่า “โว” พจน.54 บอกความหมายไว้ว่า –

โว : (ภาษาปาก) (คำกริยา) พูดโอ้อวด เช่น โวมากไปหน่อยแล้ว. (คำวิเศษณ์) โอ้อวด เช่น คุยโว.”

โว” น่าจะตัดมาจาก “โวหาร” นี่เอง

………….

: โวหารเท็จตั้งร้อยพันคำ

: มีค่าไม่เท่าสัจธรรมเพียงหนึ่งเดียว

11-9-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย