บาลีวันละคำ

ไพรัช (บาลีวันละคำ 1,531)

ไพรัช

ทำไมจึงหมายถึง “ต่างประเทศ”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ไพรัช, ไพรัช– : (คำวิเศษณ์) นอกประเทศ, ต่างประเทศ, เช่น ไพรัชพากย์.”

พจน.54 ไม่ได้บอกว่า “ไพรัช” มาจากภาษาอะไร แต่เมื่อเทียบตามหลักภาษาแล้ว “ไพรัช” ตรงกับรูปคำบาลีว่า “วิรชฺช” (วิ-รัด-ชะ)

วิรชฺช” ประกอบด้วย วิ + รชฺช

(๑) “วิ” เป็นคำอุปสรรค มีคำแปลตามที่นักเรียนบาลีท่องจำกันได้ว่า “วิ = วิเศษ, แจ้ง, ต่าง

วิเศษ” และ “ต่าง” ในที่นี้หมายถึง แปลกไปจากปกติ, ไม่ใช่สิ่งที่มีที่เป็นอยู่ตามปกติ, ไม่เหมือนพวกที่เป็น ที่เห็น ที่มีกันอยู่ตามปกติ

วิ” นิยมแผลงเป็น “เว” และในรูปคำสันสกฤตก็แผลงต่อไปเป็น “ไว

วิ > เว > ไว

(๒) “รชฺช” (รัด-ชะ)

รากศัพท์มาจาก ราช (พระราชา) + ณฺย ปัจจัย, รัสสะ (หดเสียง) อา ที่ รา-(ช) เป็น อะ (ราช > รช), แปลง ณฺย กับ ที่ (รา)- เป็น ชฺช (- + ณฺย = ชฺช)

: ราช + ณฺย = ราชณฺย > รชณฺย > รชฺช แปลตามศัพท์ว่า “ความเป็นแห่งพระราชา

ขอให้สังเกตขั้นตอนการกลายรูปของ “รชฺช”จะผ่านการเป็น “ราชณฺย” ด้วย

ราชณฺย” อ่านว่า รา-ชัน-ยะ ถ้าเขียนแบบไทย การันต์ที่ ก็จะเป็น “ราชัณย์” ตรงกับรูปคำสันสกฤตที่เป็น “ราชนฺย” (ขั้นตอนนี้ “-ชัณ-” บาลีเป็น เณร) นี่ก็คือคำที่พูดกันว่า รา-ชัน นั่นเอง

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ราชนฺย : (คำนาม) ‘ราชนย์,’ กษัตริย์, นรผู้ไสนิกหรือกษัตริยวรรณ; นามของอัคนิ; ต้นไม้; a Kshatriya, a man of the military or regal tribe; a name of Agni; a tree.”

ราชา > ราชณฺย ( > ราชนฺย) > รชฺช > ในภาษาไทยตัด ออกตัวหนึ่งเป็น รัช

รชฺช > รัช หมายถึง –

(1) ความเป็นพระราชา, ความเป็นเจ้า, อาณาจักร, จักรพรรดิ; รัชสมัย, ราชบัลลังก์ (kingship, royalty, kingdom, empire; reign, throne)

(2) ความเป็นเอกราช, อำนาจอธิปไตย (sovereignty)

วิ + รชฺช = วิรชฺช แปลตามศัพท์ว่า “ความเป็นพระราชาต่าง” = ต่างจากพระราชาองค์นี้ ถือเอาความว่าเป็นพระราชาอีกองค์หนึ่ง

เมื่อ “รชฺช” หมายถึงอาณาจักร หรือประเทศ “วิรชฺช” จึงหมายถึง อาณาจักรอีกแห่งหนึ่ง หรือประเทศอีกประเทศหนึ่ง = ต่างประเทศ

วิ = ต่าง

รชฺช = ประเทศ

วิรชฺช > วิรัช > เวรัช > ไวรัช (แผลง เป็น ตามหลักนิยมที่เราคุ้นกันดี) > ไพรัช

คำเทียบ เช่น –

วิจิตฺต > วิจิตฺร > ไพจิตร

วิปุลฺล > วิปุลฺย > ไพบูลย์

วิสาล > เวศาล > ไพศาล

ดังนั้น : วิรชฺช > วิรัช > เวรัช > ไวรัช > ไพรัช = ต่างประเทศ

…………

: ต่างประเทศแดนไกลจะไม่มี

ถ้ามนุษย์ปลูกไมตรีไว้เต็มหัวใจ

: ถ้ามีแต่รังเกียจเดียดฉันท์

อยู่ประเทศเดียวกันก็เหมือนไกลแสนไกล

13-8-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย