บาลีวันละคำ

ขันตยาคโม (บาลีวันละคำ 1,532)

ขันตยาคโม

อ่านแบบไทยว่า ขัน-ตะ-ยา-คะ-โม

ขันตยาคโม” บาลีเป็น “ขนฺตฺยาคโม

ประกอบด้วย ขนฺติ + อาคโม

(๑) “ขนฺติ” อ่านว่า ขัน-ติ รากศัพท์มาจาก ขมฺ (ธาตุ = อดทน) + ติ ปัจจัย, แปลง ติ เป็น นฺติ, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ

: ขมฺ > + ติ > นฺติ : + นฺติ = ขนฺติ (อิตถีลิงค์)

หรือจะว่า –

: ขมฺ + ติ แปลง มฺ ที่สุดธาตุเป็น นฺ : ขมฺ > ขนฺ + ติ = ขนฺติ ก็ได้

ขนฺติ” แปลตามศัพท์ว่า “กิริยาที่อดทนได้” หมายถึง ความอดทน, ความอดกลั้น, การให้อภัย (patience, forbearance, forgiveness)

ในทางวิชาการ ท่านว่าคุณธรรมเหล่านี้เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของ ขันติ กล่าวคือ :

(1) เมตฺตา = ความรัก (love)

(2) ตีติกฺขา = ความอดกลั้น (forbearance)

(3) อวิหึสา = ความไม่เบียดเบียน (tolerance)

(4) อกฺโกธ = ความไม่โกรธ (meekness)

(5) โสรจฺจ = ความสงบเสงี่ยม, ความว่านอนสอนง่าย (docility, tractableness)

(6) มทฺทว = ความสุภาพอ่อนโยน (gentleness)

(๒) “อาคโม

ศัพท์เดิมเป็น “อาคม” บาลีอ่านว่า อา-คะ-มะ รากศัพท์มาจาก อา + คมฺ (ธาตุ = ไป) + ปัจจัย

: อา + คมฺ = อาคม + = อาคม แปลตามศัพท์ว่า “การมา” “สิ่งที่มา

เสริมความรู้ :

อา” เป็นคำจำพวกที่เรียก “อุปสรรค” คือใช้นำหน้าคำอื่น มีความหมายว่า ทั่วไป, ยิ่ง, กลับความ

ในที่นี้ “อา” ใช้ในความหมายว่า “กลับความ

กลับความ” หมายความว่า คำที่อยู่หลัง (โดยมากเป็นธาตุ คือรากศัพท์) มีความหมายอย่างไร เมื่อมี “อา-” มานำหน้า ก็จะเปลี่ยนความหมายเป็นตรงกันข้าม เช่น –

ทา ธาตุ หมายถึง “ให้” ถ้ามี “อา” นำหน้า เป็น “อาทา”  เช่นคำว่า “อาทาน” ก็กลับความหมายจาก ให้ เป็นตรงข้าม คือกลายเป็น เอา, รับ, จับ, ถือ

นี ธาตุ หมายถึง “นำไป” ถ้ามี “อา” นำหน้า เป็น “อานี” เช่นในคำว่า “อานีต” ก็กลับความหมายจาก นำไป เป็นตรงข้าม คือกลายเป็น นำมา

ดังนั้น คมฺ ธาตุ หมายถึง “ไป” เมื่อมี “อา” นำหน้าเป็น “อาคม” ก็กลับความหมายจาก “ไป” เป็นตรงข้าม คือกลายเป็น “มา

แต่พึงทราบว่า คำที่ “อา” ไปนำหน้ามิใช่จะ “กลับความ” ไปหมดทุกคำ

อา” อาจจะมีความหมายว่า “ทั่วไป” หรือ “ยิ่งขึ้น” ก็ได้

คำไหนจะกลับความหรือไม่กลับความ ขึ้นอยู่กับความหมายที่ลงตัวแล้วของคำนั้นๆ

อาคม” ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การมา, การเข้าใกล้, บรรลุ (coming, approach, result)

(2) สิ่งที่คนอาศัย, ทรัพยากร, หนทาง, ที่อ้างอิง, แหล่งสำหรับอ้างอิง, ตำรา, คัมภีร์, พระบาลี (that which one goes by, resource, reference, source of reference, text, Scripture, Canon)

(3) กฎ, ข้อปฏิบัติ, วินัย, การเชื่อฟัง (rule, practice, discipline, obedience)

(4) ความหมาย, ความเข้าใจ (meaning, understanding)

(5) การใช้คืน (ซึ่งหนี้สิน) (repayment [of a debt])

(6) เป็นศัพท์เฉพาะทางไวยากรณ์ = “เพิ่มเข้าไป”, พยัญชนะหรือพยางค์ที่เพิ่มขึ้นหรือใส่เข้าไป (as gram. = “augment”, a consonant or syllable added or inserted)

ตัวอย่างความหมายในข้อ (6) เช่น :

ยทิทํ (ยะ-ทิ-ทัง, ในบทสวดสังฆคุณ-ยทิทํ จตฺตาริ …) มาจากคำว่า ยํ + อิทํ จะเห็นว่าไม่มี ทหาร เมื่อสนธิกันควรจะเป็น “ยํอิทํ” หรือ “ยอิทํ” แต่เป็น “ยทิทํ” เพราะเพิ่ม ทหารลงไประหว่าง ยํ กับ อิทํ

ทหาร ที่เพิ่มเข้าไปนี้คือ “อาคม” เรียกว่า ท-อาคม

จริต ประกอบด้วย จรฺ ธาตุ + ปัจจัย ควรเป็น “จรต” แต่เป็น “จริต” เพราะเพิ่มสระ อิ ที่ –

สระ อิ ที่เพิ่มเข้ามานี้คือ “อาคม” เรียกว่า อิ-อาคม

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อาคม : (คำนาม) เวทมนตร์, บางทีใช้คู่กับ คาถา เป็น คาถาอาคม; การมา, การมาถึง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น มีนาคม คือ มีน + อาคม แปลว่า การมาถึงราศีมีน. (ป., ส.).”

ขนฺติ + อาคม แปลง อิ ที่ ติ เป็น เขียนเป็น ตฺย เป็นผลให้ ตฺ ต้องออกเสียงครึ่งเสียง คือไม่ใช่ ตะ-ยะ แต่ออกเสียงเหมือนคำว่า เตียะ และเมื่อ – + อา = ยา : –ตฺยา จึงเท่ากับ -เตียะ-อา-

ขนฺติ > ขนฺตฺย + อาคม = ขนฺตฺยาคม > ขันตยาคม

ขนฺตฺยาคม อ่านแบบบาลี ขัน-เตียะอา-คะ-มะ

ขันตยาคม อ่านสะดวกปากแบบไทย ขัน-ตะ-ยา-คม

ขนฺตฺยาคม” เมื่อใช้เป็นนามฉายาของภิกษุ แจกวิภัตติได้รูปเป็น “ขนฺตฺยาคโม” (ขัน-เตียะอา-คะ-โม) (ปุงลิงค์ วิภัตติที่หนึ่ง เอกพจน์) เขียนแบบไทยเป็น “ขันตยาคโม” (ขัน-ตะ-ยา-คะ-โม)

ขนฺตฺยาคม > ขนฺตฺยาคโม > ขันตยาคโม แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีขันติเป็นอาคม” หมายถึง ผู้มีความอดทนเป็นทางมาแห่งการบรรลุผล คือใช้ความอดทนปฏิบัติกิจจนกระทั่งสำเร็จผลที่ปรารถนา

พระสายกรรมฐานที่มีนามฉายา “ขันตยาคโม” ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี คือ พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ หรือหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม

…………

นิยามของ ขันติ ความอดทน >

อด : ไม่ได้สิ่งที่อยากได้, ไม่ได้ทำสิ่งที่อยากทำ

ทน : ได้สิ่งที่ไม่อยากได้, ทำสิ่งที่ไม่อยากทำ

—————

(ตามคำขอของ เย็นชา สาเกตนคร)

14-8-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย