บาลีวันละคำ

กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ (บาลีวันละคำ 2485)

กิติวัฒนาดุลโสภาคย์

อ่านว่า กิด-ติ-วัด-ทะ-นา-ดุน-ละ-โส-พาก

แยกศัพท์เป็น กิติ + วัฒน + อดุล + โสภาคย์

(๑) “กิติ

บาลีเป็น “กิตฺติ” (กิด-ติ) รากศัพท์มาจาก กิตฺตฺ (ธาตุ = กล่าวถึง, พูดด้วยดี) + อิ ปัจจัย

: กิตฺต + อิ = กิตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “ความดีอันเขากล่าวถึง” หมายถึง คําเล่าลือ, คําสรรเสริญ, ชื่อเสียง, ความรุ่งโรจน์, เกียรติยศ (fame, renown, glory, honour)

กิตฺติ” สันสกฤตเป็น “กีรฺติ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “กีรฺตฺติ” และ “กีรฺติ” บอกไว้ดังนี้ :

(สะกดตามต้นฉบับ, ความหมายที่ท่านให้ไว้ในภาษาไทยบางคำเข้าใจยาก ถ้าดูภาษาอังกฤษอาจช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น)

กีรฺตฺติ, กีรฺติ : (คำนาม) เกียรติ, ความบันลือ, ศรี (ยศสฺหรือสง่า), อนุเคราะห์, อนุกูลย์; ธันยวาท; ศัพท์, เสียง; อาภา, โศภา; โคลน, สิ่งโสโครก; ความซ่านทั่ว; มูรติทิพยศักดิ์ของพระกฤษณ; fame, renown, glory; favour; approbation; sound; light, lustre; mud, dirt; diffusion, expansion; one of the Mātrikās or personified divine energies of Krishṇa.”

กิติ” ปกติสะกดเป็น “กิตติ” ( 2 ตัว) แต่ในที่เป็นชื่อเฉพาะ (proper name) จึงสะกดเช่นนี้

(๒) “วัฒน

บาลีเป็น “วฑฺฒน” (วัด-ทะ-นะ) รากศัพท์มาจาก วฑฺฒฺ (ธาตุ = เจริญ, เพิ่มขึ้น) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: วฑฺฒฺ + ยุ > อน = วฑฺฒน แปลตามศัพท์ว่า “การเจริญ” หมายถึง การเพิ่มขึ้น, การยกให้สูง, การบำรุง, การเพิ่มเติม, การทำให้เจริญขึ้น, การทำให้ยาวออกไป (increasing, augmenting, fostering; increase, enlargement, prolongation) ความหมายที่เราคุ้นกันก็คือ “ความเจริญ

วฑฺฒน ในภาษาไทยตัดตัวสะกดออกตามหลักนิยม ใช้เป็น “วัฒน-” (วัด-ทะ-นะ-, มีคำอื่นสมาสท้าย) หรือ “วัฒน์” (วัด, อยู่ท้ายคำ)

(๓) “อดุล

บาลีเป็น “อตุล” (อะ-ตุ-ละ) รากศัพท์มาจาก (ไม่, ไม่ใช่) + ตุลา

(ก) “ตุลา” (ตุ-ลา) รากศัพท์มาจาก ตุลฺ (ธาตุ = ชั่ง, วัด) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ตุลฺ + = ตุล + อา = ตุลา แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องชั่ง

ตุลา” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ขื่อหรือปั้นจั่นสำหรับยก, พาไปหรือค้ำ, จันทัน (a beam or pole for lifting, carrying or supporting, a rafter)

(2) คานสำหรับชั่งน้ำหนัก, คันชั่ง, เครื่องชั่ง (a weighing pole or stick, scales, balance)

(3) การชั่งน้ำหนัก, มาตร, มาตรฐาน, ระดับ (weighing, measure, standard, rate)

(ข) + ตุลา แปลง เป็น ตามกฎการเปลี่ยนรูปของ เมื่อไปประสมกับคำอื่น คือ –

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อาอิอีอุอูเอโอ-) แปลง เป็น อน– เช่น :

+ อามัย = อนามัย

+ เอก = อเนก

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – เช่น :

+ นิจจัง = อนิจจัง

+ มนุษย์ = อมนุษย์

ในที่นี้ “ตุลา” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ จึงแปลง เป็น – และลบสระท้ายศัพท์คือ อา เนื่องจากเป็นคุณศัพท์

: + ตุลา = นตุลา > อตุลา > อตุล แปลตามศัพท์ว่า “ชั่งไม่ได้” หมายถึง เปรียบเทียบไม่ได้, ไม่มีที่เปรียบ, วัดไม่ได้หรือสุดที่จะเปรียบ (incomparable, not to be measured, beyond compare or description)

อตุล” ในภาษาไทยใช้เป็น “อดุล” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อดุล, อดุลย-, อดุลย์ : (คำวิเศษณ์) ชั่งไม่ได้, ไม่มีอะไรเปรียบ, ไม่มีอะไรเท่า. (ป., ส. อตุล, อตุลฺย).”

(๔) “โสภาคย์

บาลีเป็น “โสภาคฺย” (โส-พาก-เคียะ) รากศัพท์มาจาก สุภค + ณฺย ปัจจัย

(ก) “สุภค” (สุ-พะ-คะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) สุภ (ดี, งาม) + คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ มฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ

: สุภ + คมฺ = สุภคมฺ + กฺวิ = สุภคมฺกฺวิ > สุภค แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ถึงภาวะอันงาม

(2) สุ (คำอุปสรรค = ดี, งาม, ง่าย) + ภชฺ (ธาตุ = เสพ, คบหา) + ปัจจัย, แปลง ชฺ ที่สุดธาตุเป็น (ภชฺ > ภค)

: สุ + ภชฺ = สุภชฺ + = สุภช > สุภค แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาซ่องเสพด้วยดีเพราะเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา” หมายถึง มีโชคดี; น่ารัก(lucky; beloved)

(ข) สุภค + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ (ณฺย > ), แผลง อุ ที่ สุ-(ภค) เป็น โอ แล้วทีฆะ อะ ที่ –– เป็น อา (สุภค > โสภค > โสภาค)

: สุภค + ณฺย = สุภคณฺย > สุภคฺย > โสภคฺย > โสภาคฺย แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่รุ่งเรือง” หมายถึง ความรุ่งเรือง, ความงาม, ความสวย (prosperity, beauty)

หมายเหตุ :

รูปคำบาลี “โสภาคฺย” อาจไม่พบบ่อยนัก รูปทั่วไปเป็น “โสภคฺค

คำว่า “โสภาคย์” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

การประสมคำ :

(๑) กิติ + วัฒน = กิติวัฒน แปลว่า “เจริญด้วยเกียรติ”

(๒) อดุล + โสภาคย์ = อดุลโสภาคย์ แปลว่า “มีความงามอันไม่มีที่เปรียบ” หรือ “มีความรุ่งเรืองไม่มีที่เปรียบ

(๓) กิติวัฒน + อดุลโสภาคย์ = กิติวัฒนาดุลโสภาคย์

ดูเพิ่มเติม:

เทพรัตนสุดา” บาลีวันละคำ (1,401) 2-4-59

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา” บาลีวันละคำ (1,049) 2-4-58

สิรินธร” บาลีวันละคำ (685) 2-4-57

…………..

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เมื่อประสูติได้รับการถวายพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์

ชาวเราทั่วไปอาจไม่คุ้นกับสร้อยพระนาม “กิติวัฒนาดุลโสภาคย์” เนื่องจากโดยปกติไม่ได้ขานพระนามเต็ม ประกอบกับเมื่อทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์เฉลิมพระนามว่า “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี” ก็ไม่ได้ขานพระนามที่ได้รับการถวายเมื่อประสูติ (พระนามเดิม) อีกเลย

…………..

วันที่ 2 เมษายน 2562 เป็นศุภสิริวารคล้ายวันพระราชสมภพ

๏ แถลงพระนามตามนัยบาลี เป็นอนุสรณีย์

เนื่องในศุภมงคลวาร

๏ แถลงศัพท์จับโดยพิสดาร ถวายเป็นราชสักการ

ประดับพระปัญญาบารมี๚ะ๛

#บาลีวันละคำ (2,485)

2-4-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *