บาลีวันละคำ

สมมุติ (บาลีวันละคำ 818)

สมมุติ

อ่านว่า สม-มุด

บาลีเป็น “สมฺมุติ” อ่านว่า สำ-มุ-ติ

สมฺมุติ” รากศัพท์มาจาก สํ ( = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + มุติ ( = สิ่งที่เป็นตัวรู้) แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น มฺ

มุติ” รากศัพท์มาจาก –

(1) มุ (ธาตุ = รู้) + ติ ปัจจัย

: มุ + ติ = มุติ

(2) มน (ธาตุ = รู้) + ติ ปัจจัย, แปลง ที่ – เป็น อุ, ลบที่สุดธาตุ

: มน > มุน > มุ + ติ = มุติ

สํ > สมฺ + มุติ = สมฺมุติ แปลว่า สิ่งที่รับรู้พร้อมกัน, สิ่งที่รับรู้ร่วมกัน = สิ่งที่คนหนึ่งกับอีกคนหนึ่งหรืออีกหลายคนรับรู้ร่วมกัน เข้าใจตรงกัน

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

(1) (คำกริยา) รู้สึกนึกเอาว่า เช่น สมมุติให้ตุ๊กตาเป็นน้อง.

(2) (คำสันธาน) ต่างว่า, ถือเอาว่า, เช่น สมมุติว่าได้มรดกสิบล้าน จะบริจาคช่วยคนยากจน สมมุติว่าถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑ จะไปเที่ยวรอบโลก.

(3) (คำวิเศษณ์) ที่ยอมรับตกลงกันเองโดยปริยาย โดยไม่คํานึงถึงสภาพที่แท้จริง เช่น สมมุติเทพ.

ในภาษาไทย คำที่ใช้ในความหมายเดียวกันนี้มีหลายรูปคำ (ตาม พจน.54) คือ –

สมมต (สม-มด)

สมมติ (สม-มด)

สมมติ– (สม-มด-ติ-) (มีคำอื่นต่อท้าย)

สมมุติ (สม-มุด)

สมมุติ– (สม-มุด-ติ-) (มีคำอื่นต่อท้าย)

ดูเพิ่มเติมที่ : “สมมต – สมมติ – สมมุติ” บาลีวันละคำ (377) 26-5-56

: อย่าติดสมมุติ เพราะสมมุติไม่ใช่เรื่องจริง

: แต่อย่าผิดสมมุติ เพราะเมื่อทำผิด ผิดจริง ไม่ใช่ผิดสมมุติ

—————-

(ตามคำขอของ Tawee Thichai)

#บาลีวันละคำ (818)

14-8-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *