บาลีวันละคำ

ทายาท (บาลีวันละคำ 1,558)

ทายาท

อ่านว่า ทา-ยาด

บาลีอ่านว่า ทา-ยา-ทะ

ทายาท” รากศัพท์มาจาก ทาย (อ่านว่า ทา-ยะ = สิ่งที่ควรมอบให้) + อา (คำอุปสรรค = ทั่ว, ยิ่ง, กลับความ) + ทา (ธาตุ = ให้) + ปัจจัย, “ลบสระหน้า” คือลบสระ อา ที่ ทา (ทา > )

: ทาย + อา + ทา = ทายาทา > ทายาท + = ทายาท (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ถือเอาสิ่งที่ควรมอบให้” หมายถึง ผู้สืบสกุล, ผู้รับมรดก (heir)

หมายเหตุ : “อา” (คำอุปสรรค = ทั่ว, ยิ่ง, กลับความ) ในที่นี้ใช้ในความหมาย “กลับความ” เมื่อนำหน้า “ทา” ธาตุ ซึ่งมีความหมายว่า “ให้” เป็น “อาทา” จึงกลับความจาก “ให้” (give) เป็น “เอา” (take)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “ทายาท” ในภาษาสันสกฤตไว้ดังนี้ –

ทายาท : (คำนาม) บุตร; ญาติ (สนิธหรือห่าง); ผู้รับมรดก, ผู้สืบวงศกุล; บุตรี; สตรีผู้สืบวงศกุล; a son; a kinsman (near or remote); an heir; a daughter; an heiress.”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “ทายาท” ในภาษาไทยไว้ว่า –

ทายาท : (คำนาม) ผู้สืบสันดาน, ผู้สืบสกุล, โดยปริยายหมายถึงผู้รับหรือผู้อยู่ในฐานะที่จะรับตําแหน่งหน้าที่ต่อจากบุคคลอื่น เช่น ทายาททางการเมือง; (คำที่ใช้ในกฎหมาย) บุคคลรวมทั้งทารกในครรภ์มารดาซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ถ้าสิทธินั้นเกิดขึ้นตามกฎหมาย เรียกว่า ทายาทโดยธรรม ถ้าสิทธินั้นเกิดขึ้นตามพินัยกรรม เรียกว่า ผู้รับพินัยกรรม. (ป., ส.).”

ในภาษาไทยมีคำพูดว่า “ทนทายาด” คือมีความทรหดอดทน หรือทนทานอย่างยิ่งยวด

ทา-ยาด ในคำนี้เขียน “ทายาด เด็กสะกด เป็นคนละคำกับ “ทายาท” คือ“ทนทายาด” ไม่ใช่ “ทนทายาท

ในทางธรรม มีคำที่คุ้นกันดีคำหนึ่ง คือ “กรรมทายาท” (กำ-มะ-ทา-ยาด, บาลี “กมฺมทายาท” อ่านว่า กำ-มะ-ทา-ยา-ทะ) มีความหมายว่า ใครทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมอันนั้น

…………

: ทายาทตามกฎหมาย คนทั้งหลายทำ

: ทายาทตามกรรม ตัวทำของตัวเอง

9-9-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย