บาลีวันละคำ

พระครูโว (บาลีวันละคำ 2479)

พระครูโว

พระธรรมกถึกนามอุโฆษ

มีผู้ถามว่า ได้ยินชื่อ “พระครูโว” ว่าท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดดาวดึงษาราม และเป็นนักเทศน์ชื่อดัง แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าท่านชื่อ “โว” หรือชื่ออะไร ทำไมจึงเรียกกันว่า “พระครูโว

พระครูโว” อดีตเจ้าอาวาสวัดดาวดึงษาราม กรุงเทพฯ มีนามสมณศักดิ์ว่า “พระครูโวทานธรรมาจารย์

ชื่อ “โวทานธรรมาจารย์” นี้อ่านตามหลักภาษาว่า โว-ทา-นะ-ทำ-มา-จาน แต่ได้ยินอ่านกันว่า โว-ทาน-ทำ-มา-จาน ก็มี

โวทานธรรมาจารย์” ประกอบด้วยคำว่า โวทาน + ธรรม + อาจารย์

คำว่า “ธรรม” และ “อาจารย์” เราคุ้นกันดี แต่คำว่า “โวทาน” ดูเป็นคำแปลกอยู่

โวทาน” บาลีอ่านว่า โว-ทา-นะ รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + อว (คำอุปสรรค = ลง) + ทา (ธาตุ = ชำระ, สะอาด) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

วิ + อว ลบ อิ ที่ วิ (วิ > ), แผลง อว เป็น โอ (อว > โอ)

: วิ > + อว > โอ ( : + โอ) = โว + ทา = โวทา + ยุ > อน = โวทาน แปลตามศัพท์ว่า “ความสะอาด

โวทาน” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การชำระล้าง, การส่องสว่าง (cleansing, getting bright)

(2) ความบริสุทธิ์, สุทธิ, ความผ่องแผ้ว (purity, purification, sanctification)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “โวทาน” ไว้ด้วย บอกไว้ดังนี้ –

โวทาน : (คำนาม) การทําให้สะอาด; ความบริสุทธิ์. (ป.).”

การประสมคำ :

โวทาน + ธรรม = โวทานธรรม แปลว่า “ธรรมอันบริสุทธิ์” “ธรรมอันส่องสว่าง

โวทานธรรม + อาจารย์ = โวทานธรรมาจารย์ แปลว่า “อาจารย์ผู้มีธรรมอันบริสุทธิ์” “อาจารย์ผู้มีธรรมอันส่องสว่าง” แปลให้สอดคล้องกับคุณสมบัติของท่านว่า “อาจารย์ผู้แสดงธรรมได้แจ่มกระจ่างสว่างไสว

อภิปราย :

สมณศักดิ์ “พระครูโวทานธรรมาจารย์” มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 อาจเรียกกันสั้นๆ ว่า “พระครูโว” มาแล้วตั้งแต่สมัยนั้น เพราะคำว่า “โว” เสียงไปตรงกับคำไทยที่หมายถึงพูดโอ้อวด เช่น คุยโว เป็นคำที่รู้ความหมายกันดี เรียกติดปากง่าย ผู้เรียกก็เรียกด้วยความรู้สึกเชิงขำขัน ไม่ได้มีเจตนาจะตำหนิหรือล้อเลียนแต่อย่างใด

มีบางท่านได้ยินคนเรียกท่านว่า “พระครูโว” ก็เข้าใจไปว่าท่านคงชื่อ “โว” แต่ความจริงแล้ว “พระครูโวทานธรรมาจารย์” อดีตเจ้าอาวาสวัดดาวดึงษารามรูปนี้ท่านชื่อ หวาด นามสกุล สาระมณี เมื่ออุปสมบทได้นามฉายา สุธมฺโม เป็นคนอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ท่านรูปร่างใหญ่ เสียงดัง ประกอบกับเป็นนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงทั้งในกรุงและหัวเมือง เมื่อได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้มีหน้าที่คิดนามสมณศักดิ์คงจะเห็นว่า นาม “พระครูโวทานธรรมาจารย์” ที่มีอยู่แล้วเหมาะสมกับบุคลิกของท่าน จึงได้ยกนามนี้ถวายแก่ท่าน

พระครูโวทานธรรมาจารย์” (หวาด สุธมฺโม) เกิดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2419 อุปสมบทเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2440 ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2503

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าแต่งเครื่องแบบของพระพุทธเจ้า

: ก็จงแสดงคำสอนของพระพุทธเจ้า

#บาลีวันละคำ (2,479)

27-3-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *