บาลีวันละคำ

มรรคนายก (บาลีวันละคำ 1,568)

มรรคนายก

(ไม่ใช่ ‘มรรคทายก’)

อ่านว่า มัก-คะ-นา-ยก

ประกอบด้วย มรรค + นายก

(๑) “มรรค

บาลีเป็น “มคฺค” (มัก-คะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) มคฺคฺ (ธาตุ = ไป, ถึง; แสวงหา) + ปัจจัย

: มคฺค + = มคฺค แปลตามศัพท์ว่า (1) “ทางเป็นเครื่องไปสู่ที่ต้องการได้โดยตรง” (2) “ที่อันพวกคนเดินทางแสวงหา” (3) “ธรรมที่ยังบุคคลให้ถึงพระนิพพาน” (4) “ทางอันผู้ต้องการพระนิพพานดำเนินไป

(2) มชฺชฺ (ธาตุ = สะอาด, หมดจด) + ปัจจัย, ลบ , แปลง ชฺชฺ ที่ (ม)-ชฺชฺ เป็น คฺค

: มชฺช + = มชฺชณ > มชฺช > มคฺค แปลตามศัพท์ว่า “ที่ที่สะอาดโดยพวกคนเดินทาง

(3) (นิพพาน) + คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ปัจจัย, ซ้อน คฺ ระหว่าง + คมฺ, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ (คมฺ > )

: + คฺ + คมฺ = มคฺคม > มคฺค + = มคฺค แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมเป็นเครื่องถึงพระนิพพาน

(4) (กิเลเส มาเรติ = ฆ่ากิเลส) + (คจฺฉติ = ไป), ซ้อน คฺ

: + คฺ + = มคฺค แปลตามศัพท์ว่า “วิธีที่ไปฆ่ากิเลส

มคฺค” ในบาลีหมายถึง –

(1) ถนน, ถนนใหญ่, ทาง, ทางเท้า (a road, high road, way, foot-path)

(2) ทางแห่งศีลธรรมและสัมมาชีพ, สัมมามรรคหรือทางที่ชอบธรรม (the road of moral & good living, the path of righteousness) คือมรรคในอริยสัจสี่

(3) ขั้นตอนของการบรรลุธรรม (Stage of righteousness) คือมรรคที่คู่กับผล

มคฺค” ในบาลี เป็น “มารฺค” ในสันสกฤต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

มารฺค : (คำนาม) ถนน, ทาง; a road, a path or way.”

(๒) “นายก

บาลีอ่านว่า นา-ยะ-กะ รากศัพท์มาจาก นี (ธาตุ = นำไป) + ณฺวุ ปัจจัย, แปลง อี ที่ นี เป็น เอ แปลง เอ เป็น อาย (นี > เน > นาย), แปลง ณฺวุ เป็น อก (อะ-กะ)

: นี > เน > นาย + ณฺวุ > อก : นาย + อก = นายก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้นำ

คำว่า “นายก” ความหมายทั่วไปคือ ผู้นํา, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้นำทาง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “นายก” ว่า a leader, guide, lord (ผู้นำ, ผู้นำทาง, ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่)

คำว่า “นายก” ในบาลี ถ้าเป็นคุณนามของพระพุทธเจ้า มีความหมายเฉพาะว่า “ผู้นำสัตวโลกออกจากห้วงน้ำคือสังสารวัฏไปสู่ฝั่งพระนิพพาน

หากประยุกต์ใช้กับผู้นำสังคม “นายก” ก็ควรมีความหมายว่า “ผู้นำปวงชนในความรับผิดชอบออกจากความเดือดร้อนไปสู่ความร่มเย็นเป็นสุข

มคฺค + นายก = มคฺคนายก > มารฺคนายก > มรรคนายก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้นำทาง

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

มรรคนายก : (คำนาม) “ผู้นำทาง” คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือ ผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด. (ส. มารฺค + นายก).”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

มรรคนายก : “ผู้นำทาง”, ผู้แนะนำจัดแจงในเรื่องทางบุญทางกุศล และเป็นหัวหน้านำชุมชนฝ่ายคฤหัสถ์ในศาสนพิธี ตามปกติทำหน้าที่ประจำอยู่กับวัดใดวัดหนึ่ง เรียกว่าเป็นมรรคนายกของวัดนั้นๆ, ผู้นำทางบุญของเหล่าสัปบุรุษ

………..

คำนี้มักใช้ผิดเป็น “มรรคทายก” (มัก-คะ-ทา-ยก) ซึ่งแปลว่า “ผู้ให้ทาง” และไม่ใช่ความหมายที่ต้องการในที่นี้ (ไม่มีคำที่ใช้ในความหมายเช่นนี้)

อาจเป็นเพราะ –

(1) เสียง “นายก” กับ “ทายก” ฟังดูคล้ายกัน

(2) มีคำว่า “ทายก” ที่แปลว่า “ผู้ให้” หมายถึงผู้ถวายจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร (ถ้าเป็นเพศหญิงเรียกว่า “ทายิกา” มักพูดควบกันว่า “ทายกทายิกา”) ซึ่งอยู่ในแวดวงบุญกุศลเหมือนกัน

จึงชวนให้เข้าใจว่า “มรรคนายก” กับ “มรรคทายก” มีความหมายเหมือนกัน

ในคัมภีร์ มีคำว่า “มคฺคนายก” ใช้ในความหมายว่าผู้นำทาง แต่ไม่พบคำว่า “มคฺคทายก” ที่ใช้ในความหมายเช่นนี้

มีแต่ “มคฺคทายก” เป็นชื่อพระอรหันต์องค์หนึ่ง ซึ่งเป็นชื่อเฉพาะ (proper name) ท่านได้ชื่อเช่นนี้เพราะในอดีตชาติได้สร้างทางถวายพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเพื่อให้เสด็จไปได้โดยสะดวกสบาย

…………

ดูก่อนภราดา!

: ทางไปสวรรค์นิพพาน พระท่านก็ชี้ให้เห็นอยู่กระจ่าง

: นี่ยังจะต้องรอคนนำทางอยู่อีกสักกี่ชาติ?

19-9-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย