บาลีวันละคำ

สามัญ (บาลีวันละคำ 1,577)

สามัญ

ยังมีความหมายที่เราลืม

อ่านว่า สา-มัน

สามัญ” บาลีเป็น “สามญฺญ” อ่านว่า สา-มัน-ยะ มีรากศัพท์ดังนี้ –

(๑) สมาน (สะ-มา-นะ, = เสมอกัน, เหมือนกัน, เหมาะสมกัน) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ (ณฺย > ), ทีฆะ อะ ที่ -(มาน) เป็น สา– ด้วยอำนาจ ณฺย ปัจจัย (สมาน > สามาน), แปลง อาน ที่ –มาน กับ เป็น ญฺญ

ขั้นตอนการแปลงรูป :

(1) สมาน > สามาน (ด้วยอำนาจ ณฺย ปัจจัย)

(2) สามาน : สาม + อาน

(3) ณฺย >

(4) อาน (ในข้อ 2) + (ในข้อ 3) = ญฺญ

(5) สาม (ในข้อ 2) + ญฺญ (ในข้อ 4) = สามญฺญ

สามญฺญ” ตามรากศัพท์นี้แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เสมอกัน” ใช้ในความหมายว่า –

(1) เหมือนกัน, เสมอกัน, เท่ากัน, อย่างเดียวกัน (similar, equal, even, same)

(2) สามัญ, ความเสมอกัน, การอนุวัตตาม; ความเป็นหนึ่ง, วงสมาคม (generality; equality, conformity; unity, company)

(๒) สมณ (สะ-มะ-นะ, = นักบวช, นักพรต) + ณฺย ปัจจัย (กฎการแปลงรูปทำนองเดียวกับในข้อ ๑)

ขั้นตอนการแปลงรูป :

(1) สมณ > สามณ (ด้วยอำนาจ ณฺย ปัจจัย)

(2) สามณ : สาม +

(3) ณฺย >

(4) (ในข้อ 2) + (ในข้อ 3) = ญฺญ

(5) สาม (ในข้อ 2) + ญฺญ (ในข้อ 4) = สามญฺญ

สามญฺญ” ตามรากศัพท์นี้แปลตามศัพท์ว่า “ความเป็นสมณะ” คือ ภาวะแห่งนักบวช, ชีวิตของนักพรต (true Samaṇaship, the life of the recluse)

สามญฺญ” ในบาลี เป็น “สามานฺย” ในสันสกฤต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

(1) สามานฺย : (คุณศัพท์) ‘สามานยะ’ สาธารณะ; common.

(2) สามานฺย : (คำนาม) ‘สามานยะ’ เภท, ประเภท; ชาติธรรม, วิเศษลักษณะ; สามานยทรัพย์; โลกกฤตย์, ชนการย์หรือคณกรรมน์; สากลย์; รูปอลังการศาสตร์; สตรีที่เปนสาธารณะแก่ชายทั้งหลาย, หญิงแพศยา; kind, sort; specific property, generic character, or foremost quality; common property; public affairs or business; totality, the whole; a figure of rhetoric; a female who is common to all men, a harlot.

สามญฺญ” ในภาษาไทยใช้ว่า “สามัญ” (สา-มัน) ความหมายที่เข้าใจกันทั่วไปก็คือ ปกติ, ธรรมดา, พื้นๆ, มีทั่วไป, เหมือนๆ กัน, ไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษ

แม้แต่อะไรที่พิเศษหรือเหนือกว่าปกติ ถ้าเกิดมีเหมือนๆ กัน ก็จะกลายเป็นสามัญไป เช่น ถ้าเกิดคนไทยเป็น Dr.กันหมดทั้งประเทศ Dr. ก็กลายเป็นสามัญไป

ในทางธรรม ความไม่เที่ยง ทนอยู่ได้ยาก ไม่มีตัวแท้ มีแต่ตัวประสม (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) มีแก่สรรพสิ่ง ภาวะเช่นนี้จึงเรียกว่า “สามัญลักษณะ”

แต่ “สามัญ” อีกความหมายหนึ่งที่เราลืม หรือจะว่าแทบจะไม่รู้จักก็ว่าได้ คือ “ความเป็นสมณะ” หรือภาวะแห่งนักบวช, ชีวิตของนักพรต

ทุกชีวิตไม่ได้เป็น “สมณะ” มาตั้งแต่เกิด คนจำนวนน้อยนิดเท่านั้นที่สมัครใจเข้าไปเป็นสมณะ ซึ่งมีระบบชีวิตที่ต่างไปจากชาวบ้าน อาจพูดเป็นสำนวนได้ว่า เป็น “สามัญที่ไม่สามัญ” ในความหมายที่ว่า ความเป็นสมณะไม่ได้มีแก่คนทุกคน

สามัญ” ในความหมายว่า “ความเป็นสมณะ” นี้ บัณฑิตท่านเตือนสติไว้ว่า มีคุณอนันต์และมีโทษมหันต์ คือ ถ้าทำถูกก็ส่งขึ้นสูงเหนือสามัญ คือส่งถึงพระนิพพาน แต่ถ้าทำผิดก็ดึงให้ตกนรกลึกกว่าคนสามัญด้วยเช่นกัน

…………….

ดูก่อนภราดา!

๏ กิน นอน กลัว สืบพันธุ์

เป็น “สามัญ” ของคนและสัตว์

ผิว์ไร้ธรรมนำมนัส

คนกับสัตว์ก็สามานย์

28-9-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย