บาลีวันละคำ

สกุล – school (บาลีวันละคำ 1,589)

สกุล – school

อ่านว่า สะ-กุน –

สกุล” บาลีเป็น “กุล” (กุ-ละ) รากศัพท์มาจาก กุลฺ (ธาตุ = ผูก, พัน; นับ) + ปัจจัย, ลบ

: กุลฺ + = กุลณ > กุล (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “เชื้อสายที่เป็นเครื่องผูกพัน” (2) “เชื้อสายที่ผูกพันกัน” (3) “เชื้อสายอันเขานับรวมไว้” หมายถึง ตระกูล, วงศ์, สกุลผู้ดี (clan, a high social grade, good family)

กุล” ในบาลี ใช้เป็น “สกุล” ในภาษาไทย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สกุล : (คำนาม) ตระกูล, วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์; เชื้อชาติผู้ดี เช่น เป็นคนมีสกุล ผู้ดีมีสกุล.”

น่าสังเกตว่า พจนานุกรมฯ ไม่ได้บอกว่า “สกุล” มาจากภาษาอะไร

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “สกุลฺย” บอกไว้ดังนี้ –

สกุลฺย : (คำนาม) ‘สกุลย์,’ พันธุชน, ญาติ (สํสกฤตว่า – ชฺญาติ), ผู้ร่วมกุลนามและพืชพันธุ์อันเดียวกัน; a kinsman, one of the same family name and common origin.”

เป็นอันว่า “สกุลฺย” ในสันสกฤต ก็คือ “กุล” ในบาลี ในภาษาไทยใช้ว่า “สกุล” และอีกคำหนึ่งที่มีความหมายเดียวกันคือ “ตระกูล

สกุล” เสียงและรูปใกล้กับ school ในภาษาอังกฤษ

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล school เป็นไทยว่า

(1) โรงเรียน

(2) การฝึกหัด, การสอน, ฝึกหัด, สถานอบรม, อบรม

(3) เด็กทั้งโรงเรียน

(4) ห้องสอบไล่

(5) แผนกของมหาวิทยาลัย

(6) จำพวก (หัวเก่า)

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล school เป็นบาลีดังนี้ –

(1) vijjāyatana วิชฺชายตน (วิด-ชา-ยะ-ตะ-นะ) = แหล่งความรู้

(2) pāṭhasālā ปาฐสาลา (ปา-ถะ-สา-ลา) “โรงสอนหนังสือ” = โรงเรียน

(3) sippasālā สิปฺปสาลา (สิบ-ปะ-สา-ลา) “โรงสอนวิชาความรู้” = โรงเรียน

เห็นได้ชัดว่า “สกุล” ในบาลีสันสกฤตเป็นคำเดียวกับ school ในภาษาอังกฤษ แต่ “สกุล” ที่เราเข้าใจกันในภาษาไทยดูเหมือนจะไม่เกี่ยวอะไรกับ school – โรงเรียน เลย

สันนิษฐาน :

การศึกษาเล่าเรียนแต่ดั้งเดิมของมนุษย์ย่อมเป็นไปตามอาชีพของ กุล > สกุล > ตระกูล คือครอบครัว

ตระกูลทำนา ลูกก็เรียนรู้วิธีทำนา

ตระกูลปั้นโอ่ง ลูกก็เรียนรู้วิธีปั้นโอ่ง

ตระกูลช่างไม้ ลูกก็เรียนรู้วิชาช่างไม้

ตระกูลหมอ ลูกก็เรียนรู้วิชาหมอ

จะเห็นได้ว่าตระกูล หรือ “สกุล” ทำหน้าที่เช่นเดียวกับ “โรงเรียน” หรือ school ในสมัยนี้

ในภาษาไทยมีคำว่า “สกุลช่าง” เมื่อพูดถึงงานด้านสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม ประติมากรรม เครื่องปั้นเผา ฯลฯ ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากฝีมือช่างในพื้นที่ต่างๆ เช่น สกุลช่างเพชรบุรี สกุลช่างสุโขทัย เป็นการยืนยันว่า “สกุล” ทำหน้าที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ลูกหลานที่อยู่ในครอบครัวเดียวกันสืบต่อกันมา

มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “จิตรกรรมไทยสกุลช่างต่างๆ”

ชื่อภาษาอังกฤษว่า The schools of painting

โดยนัยนี้ “สกุล” ก็คือ school นั่นเอง

…………….

: บ้านเป็นโรงเรียนประจำของเด็กๆ

ดูก่อนภราดา!

: วันนี้ท่านสอนลูกหลานให้รู้จักบาปบุญคุณโทษแล้วหรือยัง?

10-10-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย