บาลีวันละคำ

สันดาป (บาลีวันละคำ 843)

สันดาป

อ่านว่า สัน-ดาบ

บาลีเป็น “สนฺตาป” อ่านว่า สัน-ตา-ปะ

สนฺตาป” รากศัพท์มาจาก สํ (สัง = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + ตาป

ตาป” รากศัพท์เหมือนคำว่า “ตป” (ตะ-ปะ)

ตป” แปลตามศัพท์ว่า (1) “การทำให้กายเดือดร้อน” (2) “ธรรมที่เผาบาป” (3) “ธรรมที่ยังกิเลสให้ร้อน” (4) “ข้อปฏิบัติที่ยังตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนในนรก” (ความหมายข้อนี้เป็นทัศนะของพระพุทธศาสนาที่มองการบำเพ็ญตบะแบบผิดๆ ของเจ้าลัทธิต่างๆ)

ตาป” รากศัพท์มาจาก ตปฺ (ธาตุ = เผา, ร้อน, ทำให้ร้อน) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ (ที่ -) เป็น อา

: ตปฺ + = ตป > ตาป แปลว่า การเผา, การไหม้เกรียม, การปิ้ง; การทรมานใจหรือร่างกาย, การทรมานตัวเอง (burning, scorching, roasting; tormenting, torture, self-mortification)

สํ + ตาป, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น : สํ > สนฺ + ตาป = สนฺตาป แปลว่า การเผา; ความร้อน, ไฟ; การทรมาน (burning; heat, fire; torment, torture)

สนฺตาป” รูปคำนี้เป็นทั้งบาลีและสันสกฤต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

สนฺตาป : (คำนาม). ‘สันดาป’, ความร้อน, ความผะผ่าวเร่าร้อน; ทุกข์, ทุกขเวทนา; วิการหรือราคะ; อนุโศก; heat, burning heat; pain, distress or affliction; passion; repentance.”

สนฺตาป ภาษาไทยใช้ว่า สันดาป พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สันดาป : (คำนาม) ความเร่าร้อน, ความแผดเผา; การเผาไหม้; ชื่อนรกขุมหนึ่ง. (ป., ส.).”

ข้อสังเกต :

(๑) คำว่า “สันดาป” ในภาษาไทยที่หมายถึงการเผาไหม้ในกระบวนการเครื่องยนต์ เข้าใจกันว่าอาจแปลมาจากภาษาอังกฤษว่า combustion, ignition หรือ metabolism คำใดคำหนึ่ง

(๒) พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปลคำอังกฤษ 3 คำนั้นเป็นบาลี ดังนี้

(1) combustion :

– dahana ทหน (ทะ-หะ-นะ) การเผาไหม้

– mahāaggiḍāha มหาอคฺคิฑาห (มะ-หา-อัก-คิ-ดา-หะ) ความร้อนจากไฟที่มีระดับสูงมาก

(2) ignition :

– aggijālana อคฺคิชาลน (อัก-คิ-ชา-ละ-นะ) การก่อไฟ, การจุดประกายไฟ

– atitattakaraṇa อติตตฺตกรณ (อะ-ติ-ตัด-ตะ-กะ-ระ-นะ) การทำให้เกิดความร้อนเกินขีด

(3) metabolism :

– rūpajanakasatti รูปชนกสตฺติ (รู-ปะ-ชะ-นะ-กะ-สัด-ติ) ความสามารถที่จะก่อกำเนิดรูปร่างขึ้นมาได้

(๓) ไม่มีคำไหนแปลกลับเป็นบาลีว่า สนฺตาป

: ทำดีหนีชั่ว อย่ากลัวแดดออกฝนตก

: เพราะฝนไฟในนรกร้อนกว่าแสนเท่าล้านเท่า

—————

(ตามคำถามของ องค์ สุวรรณไตร)

#บาลีวันละคำ (843)

8-9-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *