บาลีวันละคำ

อสุรินทราหู (บาลีวันละคำ 2464)

อสุรินทราหู

อ่านว่า อะ-สุ-ริน-ทะ-รา-หู

แยกศัพท์เป็น อสุร + อินท + ราหู

(๑) “อสุร

บาลีอ่านว่า อะ-สุ-ระ รากศัพท์มาจาก –

(1) (ไม่, ไม่ใช่) + สุรฺ (ธาตุ = สนุกสนาน; รุ่งเรือง) + ปัจจัย, แปลง เป็น

: > + สุรฺ = อสุร + = อสุร แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้ไม่สนุกสนานเหมือนพวกเทวดา” (2) “ผู้ไม่รุ่งเรืองเหมือนพวกเทวดา

(2) ) อสุ (ลมหายใจ) + ปัจจัย

: อสุ + = อสุร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังมีลมหายใจ” (คือรอดตายจากการถูกพวกเทวดาจับโยนลงมาจากสวรรค์)

(3) (ไม่) + สุรา (น้ำเมา, เหล้า), แปลง เป็น , “ลบสระหน้า” คือ อา ที่ (สุ)-รา (สุรา > สุร)

: > + สุรา = อสุรา > อสุร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ไม่ดื่มสุรา” (ตามเรื่องว่า อมนุษย์พวกนี้เดิมอยู่บนสวรรค์ ถูกเทวดามอมสุราแล้วขับตกสวรรค์ เมื่อรู้สึกตัวจึงร้องบอกกันว่า “น สุรํ ปิวิมฺหา น สุรํ ปิวิมฺหา = พวกเราไม่ดื่มสุราแล้ว พวกเราไม่ดื่มสุราแล้ว” ตั้งแต่นั้นมาจึงได้นามว่า “อสุร”)

อสุร” (ปุงลิงค์) หมายถึง เทพที่ตกต่ำ, อสูร; อมนุษย์พวกหนึ่งที่ปรากฏในเทพนิยาย (a fallen angel, a Titan; a class of mythological beings)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อสุร– : (คำนาม) อมนุษย์พวกหนึ่งเป็นศัตรูต่อเทวดา, แทตย์, ยักษ์, มาร, ผี. (ป., ส. อสุร).”

อสุร” มักใช้ในภาษาไทยเป็น “อสูร” (อะ-สูน)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อสูร : (คำนาม) ยักษ์, ในบทกลอนใช้ว่า อสุรา อสุรี หรือ อสุเรศ ก็มี. (ป. อสุร).”

(๒) “อินท

เขียนแบบบาลีเป็น “อินฺท” (อิน-ทะ มีจุดใต้ นฺ) รากศัพท์มาจาก –

(๑) อิทิ (ธาตุ = เป็นใหญ่ยิ่ง) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ต้นธาตุ แล้วแปลงเป็น นฺ (อิทิ > อึทิ > อินฺทิ), “ลบสระหน้า” คือ (อิทิ + ปัจจัย : อิทิ อยู่หน้า อยู่หลัง) ลบสระ อิ ที่ (อิ)-ทิ (อิทิ > อิท)

: อิทิ > อึทิ > อินฺทิ > อินฺท + = อินฺท แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง

(๒) อินฺทฺ (ธาตุ = ประกอบ) + ปัจจัย

: อินฺทฺ + = อินฺท แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ประกอบด้วยความยิ่งใหญ่

อินฺท” (ปุงลิงค์) หมายถึง จอม, เจ้า, ผู้ยิ่งใหญ่, ผู้เป็นใหญ่, พระอินทร์

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อินฺท” ว่า –

(1) lord, chief, king (ผู้เป็นเจ้า, ผู้เป็นหัวหน้า, พระราชา)

(2) The Vedic god Indra (พระอินทร์ตามคัมภีร์พระเวท)

อินฺท” ในภาษาไทยนิยมใช้อิงสันสกฤตเป็น “อินทร์” แต่ที่คงเป็น “อินท์” ก็มี

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อินท์ : (คำนาม) ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และชั้นจาตุมหาราช, พระอินทร์; ผู้เป็นใหญ่. (ป.; ส. อินฺทฺร).”

(๓) “ราหู

บาลีเป็น “ราหุ” (-หุ สระ อุ) รากศัพท์มาจาก รหฺ (ธาตุ = ละ, สิ้น) + ณุ ปัจจัย, ลบ ,(ณุ > อุ), ทีฆะต้นธาตุ คือ อะ ที่ -(หฺ) เป็น อา (รหฺ > ราห)

: รหฺ + ณุ > อุ : รหฺ + อุ = รหุ > ราหุ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังความงามของดวงจันทร์เป็นต้นให้สิ้นไป

บาลี “ราหุ” ในภาษาไทยมักเรียกว่า “ราหู” (-หู สระ อู) แต่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำนี้ไว้ 3 รูป คือ “ราหุ” “ร่าห์” และ “ราหู” บอกไว้ดังนี้ –

ราหุ, ร่าหุ์, ราหู ๑ : (คำนาม) ชื่ออสูรตนหนึ่งมีตัวขาดครึ่งท่อน เชื่อกันว่าเมื่อเวลามีสุริยคราสหรือจันทรคราสเป็นเพราะดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ถูกราหูอมเอาไว้, ในตําราโหรว่า เป็นเทวดาพระเคราะห์ มีอาภรณ์และพาหนะสีคลํ้า; (คำที่ใช้ในโหราศาสตร์) ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๗ หมายถึงตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นเหนือระนาบสุริยวิถี ส่วนตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากเหนือระนาบสุริยวิถีลงสู่ใต้ระนาบสุริยวิถี เรียกว่า พระเกตุ. (ป., ส. ราหุ).”

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน อธิบายเรื่อง “ราหุ” ละเอียดออกไปอีก ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ราหุ : (คำนาม) ‘ราหู, หรือพระราหู,’ อุทยบาต, อุทัยบาต [ในปุราณศาสตร์, บุตรของสินหิกา, ไทตยะ, อันมีหางเปนมังกร, ศีรษะถูกบั่นขาดจากศรีรโดยพระวิษณุ, แต่ไม่ตาย, ศีรษะกับหางต่างถือครองชีวิตอยู่คนละส่วน, และต้องโยกย้ายไปยังดารามณฑล, เปนอุปราคกฤต (ผู้บันดาลให้เกิด ‘สูรโยปราคะและจันโทฺรปราคะ’); หางเปนต้นทำความพยายามอยู่เนืองนิตยที่จะกลืนพระอาทิตย์และพระจันทร์]; the ascending node [in mythology, the son of Sinhikā, a Daitya, with the tail of a dragon, whose head was severed from his body by Vishṇu, but being immortal, the head and the tail retained their separate existence, and being transferred to the stellar sphere, become the authors of eclipses; the tail, especially, is endeavouring at various times to swallow the sun and the moon].”

การประสมคำ :

อสุร + อินฺท = อสุรินฺท (อะ-สุ-ริน-ทะ) แปลว่า “ผู้เป็นใหญ่ในหมู่อสูร” หรือ “อสูรผู้เป็นใหญ่” แปลสั้นๆ ว่า “จอมอสูร

อสุรินฺท + ราหู = อสุรินฺทราหู > อสุรินทราหู แปลว่า “ราหูผู้เป็นจอมอสูร

อสุรินทราหู” เป็นคำเรียก “ราหู” อย่างเต็มยศ คำที่เป็นชื่อจริงๆ คือ “ราหู” คำเดียว ส่วน “อสุรินท” เป็นคำขยายบอกให้รู้ว่า “ราหู” ผู้นี้เป็น “จอมอสูร” คือเป็นเทวดาหรือเทพที่สำคัญมากองค์หนึ่ง

ขยายความ :

คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย แสดงขนาดร่างกายของ “อสุรินทราหู” ไว้ดังนี้ –

(1) จตฺตาริ  โยชนสหสฺสานิ  อฏฺฐ  จ  โยชนสตานิ  อุจฺโจ = สูง 4,800 โยชน์

(2) พาหนฺตรมสฺส  ทฺวาทสโยชนสตานิ = ช่วงแขนยาว 1,200 โยชน์

(3) พหลนฺตเรน  ฉ  โยชนสตานิ = ปลายแขนถึงอกข้างละ 600 โยชน์

(4) หตฺถตลปาทตลานํ  ปุถุลโต  ตีณิ  โยชนสตานิ = ฝ่ามือและฝ่าเท้าหนา 300 โยชน์

(5) องฺคุลิปพฺพานิ  ปณฺณาสโยชนานิ = ข้อนิ้วยาว 50 โยชน์

(6) ภมุกนฺตรํ  ปญฺญาสโยชนํ = ระหว่างคิ้วกว้าง 50 โยชน์

(7) มุขํ  ทฺวิโยชนสตํ  ติโยชนสตคมฺภีรํ  ติโยชนสตปริมณฺฑลํ = ปากยาว 200 โยชน์ ลึก 300 โยชน์ กว้าง 300 โยชน์

(8) คีวา  ติโยชนสตํ = คอยาว 300 โยชน์

(9) นลาฏํ  ติโยชนสตํ = หน้าผากกว้าง 300 โยชน์

(10) สีสํ  นวโยชนสตํ = ขนาดศีรษะ 900 โยชน์

ที่มา: สุมังคลวิลาสินี ภาค 1 หน้า 422 ตอนอธิบายโสณทัณฑสูตร

คัมภีร์สุมังคลวิลาสินีเล่าว่า อสุรินทราหูอยากมาเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่กังวลว่าตนมีร่างกายใหญ่โต ถ้ามาเฝ้าก็จะต้องก้มลงไปมากจึงพูดกับพระพุทธเจ้าได้ แต่ในที่สุดอดรนทนไม่ได้ก็มาเฝ้า พระพุทธองค์ทรงทราบความคิดของอสุรินทราหู จึงทรงสำเร็จสีหไสยาสน์บนเตียง ปรากฏว่าเมื่ออสุรินทราหูเข้ามาเฝ้า ต้องแหงนคอตั้งบ่าจึงเห็นพระพักตร์ของพระพุทธองค์ทั้งที่ประทับนอนอยู่แท้ๆ อสุรินทราหูจึงหมดความอหังการว่าตนมีร่างกายใหญ่โตกว่าใคร

นัยว่าเหตุการณ์ตอนนี้เป็นต้นกำเนิดของพระพุทธรูปปางไสยาสน์

ในความเชื่อของคนทั่วไปที่เชื่อเรื่องเทพเข้าใจกันว่า “อสุรินทราหู” เป็นเทพที่ก่อผลในทางร้าย คือให้โทษมากกว่าให้คุณ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อย่ากลัวทุกข์ที่เทพทำ

: ให้มากไปกว่ากลัว “กรรมของกูเอง”

————-

(ตอบคำถามของ ธมฺมวิชฺชา ธัมมวิชชา)

#บาลีวันละคำ (2,464)

12-3-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *