บาลีวันละคำ

อสรพิษ (บาลีวันละคำ 862)

อสรพิษ

อ่านว่า อะ-สอ-ระ-พิด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อสรพิษ : (คำนาม) สัตว์มีพิษในเขี้ยว มักหมายถึง งูพิษ, โดยปริยายหมายถึงคนที่ลอบทำร้ายหรือให้ร้ายผู้มีคุณหรือผู้อื่นด้วยความอิจฉาริษยาเป็นต้น. (ส. อสิร + วีษ; ป. อาสีวิส).”

พจน.54 บอกว่า “อสรพิษ” ถ้าเป็นสันสกฤต คือ “อสิร + วีษ” แต่บาลีเป็น “อาสีวิส

อาสีวิส” (อา-สี-วิ-สะ) ประกอบด้วย อาสี + วิส

อาสี” (เป็น อาสิ ก็มี) รากศัพท์มาจาก อสฺ (ธาตุ = กิน) + ณี ปัจจัย, ลบ เหลือแต่ อี, ยืดเสียง – (ที่ อสฺ)เป็น อา

: อสฺ > อาส + ณี > อี = อาสี แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องกินที่มีอยู่ในปาก” หมายถึง เขี้ยว, เขี้ยวสัตว์ (โดยเฉพาะเขี้ยวงู) (a large tooth, fang)

วิส” รากศัพท์มาจาก วิสฺ (ธาตุ = เข้าไป) + ปัจจัย แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เข้าสู่ร่างกายทางเส้นเลือด” หมายถึง ยาพิษ, พิษ, พิษของสัตว์ (poison, virus, venom)

โปรดสังเกตคำแปลเป็นภาษาอังกฤษคำหนึ่ง : virus ที่เราเรียกทับศัพท์ว่า ไวรัส ก็คือ วิส > พิษ นี่เอง

อาสี + วิส = อาสีวิส แปลตามศัพท์ว่า “มีพิษสะสมอยูที่เขี้ยว” หมายถึง งูพิษ

: อาสีวิส > อสิรวีษ > อสรพิษ

อาสีวิส” ของบาลี เป็น “อสิรวีษ” ของสันสกฤต และเป็น “อสรพิษ” ของไทย

อสรพิษ” หมายถึงอะไร โปรดดูคำนิยามของพจนานุกรมข้างต้น

สำหรับการเมือง : ท่านว่าสตางค์คืออสรพิษร้ายสุด

สำหรับบุรุษ : ท่านย่อมว่าสตรีคืออสรพิษ

แต่สำหรับบรรพชิต : ท่านว่าเป็นอสรพิษทั้งสตรีและสตางค์

#บาลีวันละคำ (862)

27-9-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *