บาลีวันละคำ

บรรณาคมสรนี (บาลีวันละคำ 2446)

บรรณาคมสรนี

…………..

ในพระบรมมหาราชวังมีพระที่นั่งหมู่หนึ่ง ตั้งชื่อคล้องจองกันอย่างไพเราะเพราะพริ้งนับได้ถึง 10 ชื่อ ดังนี้ –

(1) มูลสถานบรมอาสน์

(2) สมมติเทวราชอุปบัติ

(3) ดำรงสวัสดิ์อนัญวงศ์

(4) นิพัทธพงศ์ถาวรวิจิตร

(5) บรมราชสถิตยมโหฬาร

(6) อมรพิมานมณี

(7) สุทธาศรีอภิรมย์

(8) บรรณาคมสรนี

(9) ปรีดีราชวโรทัย

(10) เทพดนัยนันทยากร

ผู้เขียนบาลีวันละคำขอนำชื่อพระที่นั่งแต่ละองค์มาแยกศัพท์และแปลสู่กันฟังตามสติปัญญา เพื่อเป็นอลังการทางภาษาและเป็นเครื่องประเทืองปัญญาตามสมควร

อนึ่ง พึงทราบว่า ชื่อพระที่นั่งเหล่านี้เป็นวิสามานยาม (proper name) การแยกศัพท์และแปลจึงกระทำไปเท่าที่ตาเห็น ซึ่งอาจคลาดเคลื่อนไปจากเจตนาของผู้ตั้งชื่อก็เป็นได้

อีกประการหนึ่ง ขอบเขตของบาลีวันละคำมีเพียงแค่แยกศัพท์และแปลความหมายเท่านั้น มิได้แสดงรายละเอียดอื่นๆ ของพระที่นั่งแต่ละองค์ประกอบไว้ด้วย

ดังนั้น หากญาติมิตรท่านใดมีข้อมูลที่แตกต่างไปจากที่แสดงไว้ก็ดี มีรายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับพระที่นั่งแต่ละองค์ก็ดี หากจะกรุณานำมาร่วมเสนอไว้เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ ก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

…………..

บรรณาคมสรนี” อ่านว่า บัน-นา-คม-สะ-ระ-นี หรือจะอ่านว่า บัน-นา-คม-สอ-ระ-นี ก็ได้ แยกศัพท์เป็น บรรณ + อาคม + สรนี

(๑) “บรรณ

บาลีเป็น “ปณฺณ” (ปัน-นะ) รากศัพท์มาจาก

(1) ปูร (ธาตุ = เต็ม) + ปัจจัย, แปลง ปูร เป็น ปณฺณ

: ปูรฺ + = ปูร > ปณฺณ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ทำให้เต็ม” (คือทำให้ต้นไม้เต็มต้น)

(2) ปต (ธาตุ = ตกไป) + ปัจจัย, แปลง เป็น ณฺณ

: ปตฺ + = ปต > ปณฺณ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะร่วงไปโดยไม่นาน

(3) ปณฺณฺ (ธาตุ = เขียวสด) + ปัจจัย

: ปณฺณฺ + = ปณฺณ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เขียวสด

ปณฺณ” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ใบไม้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใบพลู) (a leaf [esp. betel leaf])

(2) ใบไม้ที่ใช้เขียน, ใบไม้ที่มีหนังสือจารึกอยู่, จดหมาย; ของบริจาค, เครื่องบรรณาการ (a leaf for writing upon, written leaf, letter; donation, bequest)

(3) ขนนก, ปีกนก (a feather, wing)

ชั้นเดิมศัพท์นี้หมายถึง “ใบไม้” แต่ต่อมาความหมายขยายไปถึง “หนังสือ” อาจเป็นเพราะแต่เดิมมนุษย์ใช้ใบไม้เป็นที่ขีดเขียนลายลักษณ์ลงไป “ปณฺณ” จึงหมายถึงหนังสือไปด้วย

ปณฺณ” ในภาษาไทยใช้เป็น “บรรณ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บรรณ, บรรณ– : (คำนาม) ปีก; หนังสือ; ใบไม้. (ส. ปรฺณ; ป. ปณฺณ).”

(๒) “อาคม

บาลีอ่านว่า อา-คะ-มะ รากศัพท์มาจาก อา + คมฺ (ธาตุ = ไป) + ปัจจัย

: อา + คมฺ = อาคม + = อาคม แปลตามศัพท์ว่า “การมา” “สิ่งที่มา”

เสริมความรู้ :

อา” เป็นคำจำพวกที่เรียก “อุปสรรค” คือใช้นำหน้าคำอื่น มีความหมายว่า ทั่วไป, ยิ่ง, กลับความ

ในที่นี้ “อา” ใช้ในความหมายว่า “กลับความ

กลับความ” หมายความว่า คำที่อยู่หลัง (โดยมากเป็นธาตุ คือรากศัพท์) มีความหมายอย่างไร เมื่อมี “อา-” มานำหน้า ก็จะเปลี่ยนความหมายเป็นตรงกันข้าม เช่น –

ทา ธาตุ หมายถึง “ให้” ถ้ามี “อา” นำหน้า เป็น “อาทา”  เช่นคำว่า “อาทาน” ก็กลับความหมายจาก ให้ เป็นตรงข้าม คือกลายเป็น เอา, รับ, จับ, ถือ

นี ธาตุ หมายถึง “นำไป” ถ้ามี “อา” นำหน้า เป็น “อานี” เช่นในคำว่า “อานีต” ก็กลับความหมายจาก นำไป เป็นตรงข้าม คือกลายเป็น นำมา

ดังนั้น คมฺ ธาตุ หมายถึง “ไป” เมื่อมี “อา” นำหน้าเป็น “อาคม” ก็กลับความหมายจาก “ไป” เป็นตรงข้าม คือกลายเป็น “มา

แต่พึงทราบว่า คำที่ “อา” ไปนำหน้ามิใช่จะ “กลับความ” ไปหมดทุกคำ

อา” อาจจะมีความหมายว่า “ทั่วไป” หรือ “ยิ่งขึ้น” ก็ได้

คำไหนจะกลับความหรือไม่กลับความ ขึ้นอยู่กับความหมายที่ลงตัวแล้วของคำนั้นๆ

อาคม” ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การมา, การเข้าใกล้, บรรลุ (coming, approach, result)

(2) สิ่งที่คนอาศัย, ทรัพยากร, หนทาง, ที่อ้างอิง, แหล่งสำหรับอ้างอิง, ตำรา, คัมภีร์, พระบาลี (that which one goes by, resource, reference, source of reference, text, Scripture, Canon)

(3) กฎ, ข้อปฏิบัติ, วินัย, การเชื่อฟัง (rule, practice, discipline, obedience)

(4) ความหมาย, ความเข้าใจ (meaning, understanding)

(5) การใช้คืน (ซึ่งหนี้สิน) (repayment [of a debt])

(6) เป็นศัพท์เฉพาะทางไวยากรณ์ = “เพิ่มเข้าไป”, พยัญชนะหรือพยางค์ที่เพิ่มขึ้นหรือใส่เข้าไป (as gram. = “augment”, a consonant or syllable added or inserted)

ตัวอย่างความหมายในข้อ (6) เช่น :

ยทิทํ (ยะ-ทิ-ทัง, ในบทสวดสังฆคุณ-ยทิทํ จตฺตาริ …) มาจากคำว่า ยํ + อิทํ จะเห็นว่าไม่มี ทหาร เมื่อสนธิกันควรจะเป็น “ยํอิทํ” หรือ “ยอิทํ” แต่เป็น “ยทิทํ” เพราะเพิ่ม ทหารลงไประหว่าง ยํ กับ อิทํ

ทหาร ที่เพิ่มเข้าไปนี้คือ “อาคม” เรียกว่า ท-อาคม

จริต ประกอบด้วย จรฺ ธาตุ + ปัจจัย ควรเป็น “จรต” แต่เป็น “จริต” เพราะเพิ่มสระ อิ ที่ –

สระ อิ ที่เพิ่มเข้ามานี้คือ “อาคม” เรียกว่า อิ-อาคม

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อาคม : (คำนาม) เวทมนตร์, บางทีใช้คู่กับ คาถา เป็น คาถาอาคม; การมา, การมาถึง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น มีนาคม คือ มีน + อาคม แปลว่า การมาถึงราศีมีน. (ป., ส.).”

(๓) “สรนี

รูปคำที่สะกดแบบนี้ไม่มีในบาลี ส่วนสันสกฤตมีคำว่า “สรณิ” และ “ศรณิ” สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน) บอกไว้ว่า –

สรณิ, ศรณิ : (คำนาม) ถนน, ทาง, มารค; ทางตรง; โรคในลำคอ; a road, a path, a way; a straight line; a dis-case of the throat.”

พิจารณาแล้ว “สรนี” ในที่นี้น่าจะไม่ใช่ “สรณิ” หรือ “ศรณิ” ในสันสกฤต แต่น่าจะเป็น “สรณ” ที่แปลว่า “ความระลึก” แล้วลงปัจจัยหรือแปลงเสียงให้เป็น “สรณี” เพื่อส่งสัมผัสให้คำต่อไป คือ “ปรีดีราชวโรทัย

แต่ถ้าไม่ห่วงถึงการสะกดการันต์ตามต้นฉบับ ผู้เขียนบาลีวันละคำปรารถนาจะให้คำนี้สะกดเป็น “สรณีย์” รากศัพท์มาจาก สรฺ (ธาตุ = ระลึก) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) แล้วแปลง เป็น (ยุ > อน > อณ) + อีย ปัจจัย

: สรฺ + ยุ > อน = สรน > สรณ + อีย = สรณีย (สะ-ระ-นี-ยะ) แปลตามศัพท์ว่า “อันเป็นที่ตั้งแห่งการระลึกถึง” หมายถึง ควรแก่การระลึกถึง

สรณีย” ใส่การันต์ที่ เขียนเป็น “สรณีย์

และ “สรณีย์” คำนี้เองกลายเป็น “สรนี” ด้วยเหตุผลทางอักขรวิธีที่เกิดขึ้นในเวลาคัดลอกต่อกันมา หมายความว่า สะกดเป็น “สรนี” แต่หมายถึง “สรณีย์

ถ้าเป็นดังที่ว่ามานี้ คำว่า “บรรณาคมสรนี” (บรรณาคมสรณีย์) ก็แปลได้ชัดขึ้น

การประสมคำ :

(๑) บรรณ + อาคม = บรรณาคม แปลว่า “ที่มา (รวมกัน) แห่งหนังสือ” หมายถึง ห้องสมุด ห้องอ่านและเขียนหนังสือ

(๒) บรรณาคม + สรนี = บรรณาคมสรนี แปลตามศัพท์ที่ตาเห็นว่า “ที่เป็นที่ระลึกถึงหนังสืออันมารวมกัน” แปลตามที่ศัพท์ปรารถนา (คือ “บรรณาคมสรณีย์”) ว่า “ห้องสมุดอันควรค่าแก่การระลึกถึง

เท่าที่ทราบมา พระที่นั่งบรรณาคมสรนี เป็นห้องทรงพระอักษร

…………..

ดูก่อนภราดา!

: หนังสือช่วยให้รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว

: การฝึกตัวช่วยให้สามารถละชั่วทำดี

#บาลีวันละคำ (2,446)

22-2-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *