บาลีวันละคำ

จตุปัจจัยไทยธรรม (บาลีวันละคำ 1,607)

จตุปัจจัยไทยธรรม

เป็นคำประสมกันระหว่าง จตุปัจจัย + ไทยธรรม

(๑) “จตุปัจจัย” (จะ-ตุ-ปัด-ไจ)

ประกอบด้วย จตุ + ปัจจัย

1) จตุ (จะ-ตุ) แปลว่า สี่ (จำนวน 4)

2) “ปัจจัย” บาลีเป็น “ปจฺจย” (ปัด-จะ-ยะ) รากศัพท์มาจาก ปฏิ หรือ ปติ (เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ) + อิ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง ปฏิ เป็น ปจฺจ หรืออีกนัยหนึ่ง แปลง อิ ที่ ปติ เป็น , แปลง ตย (คือ ปตย) เป็น ปจฺจ, แปลง อิ ธาตุเป็น เอ, แปลง เอ เป็น อย

: ปฏิ > ปจฺจ (ปติ > ปตย > ปจฺจ) + อิ > เอ > อย : ปจฺจ + อย + = ปจฺจย (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “เหตุเป็นแดนอาศัยเป็นไปแห่งผล” “เหตุเป็นเครื่องเป็นไปแห่งผล” หมายถึง สิ่งสนับสนุน, ของที่จำเป็น, ปัจจัย, วิถีทาง, เครื่องค้ำจุน (support, requisite, means, stay)

ปจฺจย” หมายถึง –

(1) อาศัย, หันไปพึ่ง, รากฐาน, เหตุ, สาเหตุ (resting on, falling back on, foundation, cause, motive)

(2) สิ่งสนับสนุน, ของที่จำเป็น, ปัจจัย, วิถีทาง, เครื่องค้ำจุน (support, requisite, means, stay)

(3) เหตุผล, วิธี, เงื่อนไข (reason, ground, condition)

(4) เหตุผลสำหรับ, ความเชื่อ, ความมั่นใจ, ความเชื่อมั่น, การเชื่อถือหรืออาศัย (ground for, belief, confidence, trust, reliance)

ความหมายที่เข้าใจกันทั่วไปคือ ปัจจัย, เหตุ, สาเหตุ, ที่พึ่ง, ความช่วยเหลือ ฯลฯ

ปจฺจย” ภาษาไทยใช้ว่า “ปัจจัย” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

(1) เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล, หนทาง, เช่น การศึกษาเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้ความสามารถ, องค์ประกอบ, ส่วนประกอบ, เช่น ปัจจัยในการผลิต, คํา “ปัจจัย” กับ คํา “เหตุ” มักใช้แทนกันได้.

(2) เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึงเงินตราก็ได้ (มักใช้แก่ภิกษุสามเณร).

(3) (คำที่ใช้ในไวยากรณ์) ส่วนเติมท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อแสดงความหมายเป็นต้น. (ป.).

จตุ + ปจฺจย = จตุปจฺจย > จตุปัจจัย หมายถึง ปัจจัย 4 สำหรับดำรงชีวิตประจำวันของภิกษุ, กล่าวคือ จีวร, บิณฑบาต, เสนาสนะ และ เภสัช (the 4 necessaries of the bhikkhu’s daily life, i. e. clothing, food as alms, a dwelling-place, medicine)

ความหมายตามตัวของ “จตุปัจจัย” คือ “เครื่องอาศัยยังชีพ 4 อย่าง” ต่อมาความหมายก็เคลื่อนที่ไปเป็น-อะไรก็ได้ที่เป็นเครื่องอาศัยยังชีพ ไม่เน้นว่าจะต้องเป็น 4 อย่าง และในฐานะเป็นคำวัดก็พูดลัดตัดลงเหลือแค่ “ปัจจัย” หมายถึงเงินตรา

(๒) “ไทยธรรม” (ไท-ยะ-ทำ)

บาลีเป็น “เทยฺยธมฺม” อ่านว่า เท็ย-ยะ-ทำ-มะ ประกอบด้วย เทยฺย + ธมฺม

1) “เทยฺย” รากศัพท์มาจาก ทา (ธาตุ = ให้) + ณฺย ปัจจัย, แปลง ณฺย เป็น เอยฺย, “ลบสระหน้า” คือ อา ที่ ทา (ทา > )

: ทา > + ณฺย > เอยฺย : + เอยฺย = เทยฺย  แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันพึงให้

2) “ธมฺม” รากศัพท์มาจาก ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺม (ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (ธรฺ > ) และ ต้นปัจจัย (รมฺม > มฺม)

: ธรฺ > + รมฺม > มฺม : + มฺม = ธมฺม (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สภาพที่ทรงไว้

ธมฺม” สันสกฤตเป็น “ธรฺม” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ธรรม

ในที่นี้ “ธรรม” หมายถึงสิ่งของ

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ “ธรรมคาถาธรรมกถา” : บาลีวันละคำ (1,605) 26-10-59)

เทยฺย + ธมฺม = เทยฺยธมฺม > ไทยธรรม แปลว่า “สิ่งของอันพึงให้

อภิปราย :

ในภาษาไทย “จตุปัจจัย” หมายถึงของฉันของใช้ของพระภิกษุสามเณร ซึ่งตามปกติย่อมได้มาจากการถวายของทายกทายิกา “จตุปัจจัย” จึงมีนัยหมายถึง “ของที่ควรให้” ซึ่งเป็นความหมายของ “ไทยธรรม

โดยนัยนี้ “จตุปัจจัยไทยธรรม” ในภาษาไทย จึงน่าจะเป็นคำประสมแบบซ้ำความ

แต่ถ้าแปลตามหลักภาษาบาลี “จตุปัจจัยไทยธรรม” แปลได้ว่า “ของที่ควรถวาย คือปัจจัยสี่

ของที่ควรให้หรือควรถวายมีหลายชนิด แต่ในที่นี้เน้นที่ “ปัจจัยสี่” เท่านั้น

โดยนัยนี้ “จตุปัจจัยไทยธรรม” ก็ไม่ใช่คำประสมซ้ำความ แต่เป็นคำสมาส

………………

ทั้งชาวบ้านและชาววัดต้องอาศัยปัจจัยเครื่องยังชีพเหมือนกัน

ต่างกันที่ชาววัดพระพุทธองค์ทรงสอนให้บริโภคเฉพาะคุณค่าแท้ ในขณะที่ชาวบ้านมักพอใจที่จะบริโภคคุณค่าเทียมเข้าไปด้วย

………………

ดูก่อนภราดา! อันว่าปัจจัยเครื่องเลี้ยงชีพนั้น >

: ถ้ามีเพื่อให้ ก็เบา

: แต่ถ้ามีเพื่อเอา ก็หนัก

28-10-59