บาลีวันละคำ

บรมนาถบพิตร (บาลีวันละคำ 1,608)

บรมนาถบพิตร

ประกอบด้วย บรม + นาถ + บพิต

(๑) “บรม

บาลีเป็น “ปรม” (ปะ-ระ-มะ) รากศัพท์มาจากหลายทาง แสดงในที่นี้พอเป็นตัวอย่าง :

(1) ปร (ผู้อื่น) + มุ (ธาตุ = ผูกไว้) + ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (มุ > )

: ปร + มุ > + = ปรม แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องผูกผู้อื่นไว้ (ด้วยความดี)

(2) ปร (ผู้อื่น) + มชฺช (ธาตุ = ขัดเกลา, ชำระ) + ปัจจัย, ลบ ชฺช ที่สุดธาตุ

: ปร + มชฺช > + = ปรม แปลตามศัพท์ว่า “ขัดเกลาผู้อื่นให้หมดจด

(3) ปร (ฝั่ง, นิพพาน) + มี (ธาตุ = ไป, ถึง, บรรลุ) + ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (มี > )

: ปร + มี > + = ปรม แปลตามศัพท์ว่า “คุณเครื่องถึงนิพพาน

(4) ปร (โลก, โลกหน้า) + มุ (ธาตุ = รู้, กำหนดรู้) + ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (มุ > )

: ปร + มุ > + = ปรม แปลตามศัพท์ว่า “คุณเครื่องกำหนดรู้โลก

(5) ปร (คุณความดี) + มิ (ธาตุ = ชั่ง, ตวง, วัด, นับ) + ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (มิ > )

: ปร + มิ > + = ปรม แปลตามศัพท์ว่า “คุณเครื่องตักตวงความดีไว้

(6) ปร (ปรปักษ์, ข้าศึก) + มิ (ธาตุ = ทำลาย, เบียดเบียน) + ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (มิ > )

: ปร + มิ > + = ปรม แปลตามศัพท์ว่า “คุณเครื่องทำลายปรปักษ์

(ความหมายตามรากศัพท์อื่นๆ ของ “ปรม” ดูเพิ่มเติมที่ : “บรมครู” บาลีวันละคำ (1,142) 11-7-58)

ปรม” หมายถึง สูงสุด, พิเศษสุด, เป็นเลิศ, ดีที่สุด (highest, most excellent, superior, best)

ปรม” ที่ใช้ภาษาไทยว่า “บรม” (บอ-รม) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บรม, บรม– : (คำวิเศษณ์) อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นําหน้าคําที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม); (ภาษาปาก) อย่างที่สุด เช่น ขี้เกียจบรม บรมขี้เกียจ.”

(๒) “นาถ

บาลีอ่านว่า นา-ถะ รากศัพท์มาจาก นาถฺ (ธาตุ = ประกอบ, ขอร้อง, ปรารถนา, เป็นใหญ่, ทำให้ร้อน) + ปัจจัย

: นาถฺ + = นาถ แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “ผู้กอปรประโยชน์แก่ผู้อื่น

(2) “ผู้ขอร้องคนอื่นให้บำเพ็ญประโยชน์นั้นๆ

(3) “ผู้ปรารถนาประโยชน์สุขแก่ผู้ที่ควรช่วยเหลือ

(4) “ผู้เป็นใหญ่กว่าผู้ที่ควรช่วยเหลือ” (ผู้ช่วยเหลือย่อมอยู่เหนือผู้รับการช่วยเหลือ)

(5) “ผู้ยังกิเลสให้ร้อน” (เมื่อจะช่วยเหลือคนอื่น ความตระหนี่ ความเกียจคร้านเป็นต้นจะถูกแผดเผาจนทนนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้)

นาถ” ความหมายที่เข้าใจกันคือ ที่พึ่ง, ผู้ปกป้อง, การช่วยเหลือ (protector, refuge, help)

(๓) “บพิตร

มาจากสันสกฤตว่า “ปวิตฺร” บาลีเป็น “ปวิตฺต” (ปะ-วิด-ตะ) แปลว่า ผู้สะอาด, ผู้หมดจด, ผู้บริสุทธิ์

ในภาษาไทย > และ > : ปวิตฺต > ปวิตฺร > บพิตร 

พจน.54 บอกไว้ว่า –

บพิตร : (ราชาศัพท์; คำแบบ = คำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป) (คำนาม) พระองค์ท่าน เช่น บำรุงฤทัยตระโบม บพิตรผู้อย่าดูเบา, โดยมากเป็นคำที่พระสงฆ์ใช้แก่เจ้านาย ซึ่งใช้คำเปลี่ยนไปตามพระอิสริยยศของเจ้านาย เช่น สมเด็จพระราชภคินีบพิตร สมเด็จพระบรมวงศบพิตร บรมวงศบพิตร พระเจ้าวรวงศบพิตร พระวรวงศบพิตร.”

การประสมคำ:

(1) บรม + นาถ = บรมนาถ

(2) บรมนาถ + บพิตร = บรมนาถบพิตร

บรมนาถบพิตร” เป็นวรรคสุดท้ายในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

หลักการอ่าน :

บรม” คำเดียวอ่านว่า บอ-รม

แต่เมื่อมี “นาถ” มาสมาสข้างท้ายเป็น “บรมนาถ

ถ้าอ่านว่า บอ-รม-นาด ก็ผิดหลักการอ่านคำสมาส

เราจึงต้องอ่านว่า ว่า บอ-รม-มะ-นาด (มี -มะ- ต่อจาก -รม- เพิ่มขึ้นอีกพยางค์หนึ่ง)

ฉันใด

บรมนาถ” คำเดียว อ่านว่า บอ-รม-มะ-นาด

แต่เมื่อมี “บพิตร” มาสมาสข้างท้ายเป็น “บรมนาถบพิตร

ถ้าอ่านว่า บอ-รม-มะ-นาด-บอ-พิด ก็ผิดหลักการอ่านคำสมาส

เราจึงต้องอ่านว่า ว่า บอ-รม-มะ-นาด-ถะ-บอ-พิด (มี -ถะ- ต่อจาก -นาด- เพิ่มขึ้นอีกพยางค์หนึ่ง)

ฉันนั้น

บรมนาถบพิตร” อาลักษณ์อ่านว่า บอ-รม-มะ-นาด-ถะ-บอ-พิด

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ก็ทรงอ่านว่า บอ-รม-มะ-นาด-ถะ-บอ-พิด

บรมนาถบพิตร” แปลว่า “พระองค์ท่านผู้ทรงเป็นที่พึ่งอันยอดเยี่ยม

…………….

คน : ไม่อยู่ให้เราพึ่งได้ตลอดไป

ธรรมะที่อยู่ในหัวใจ : เป็นที่พึ่งได้ตลอดกาล

29-10-59