บาลีวันละคำ

อัครศาสนูปถัมภก (บาลีวันละคำ 1,612)

อัครศาสนูปถัมภก

อ่านว่า อัก-คฺระ-สา-สะ-นู-ปะ-ถำ-พก

แยกศัพท์เป็น อัคร + ศาสน + อุปถัมภก

(๑) “อัคร

บาลีเป็น “อคฺค” (อัก-คะ) รากศัพท์มาจาก อชฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง ชฺ ที่ (อ)-ชฺ เป็น คฺ, ซ้อน คฺ

: อชฺ > อค + = อคฺค + = อคฺค แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่ถึงความประเสริฐที่สุด” (2) “ฐานะอันบุคคลถึงได้ด้วยบุญ” (3) “สิ่งที่ถึงก่อน

อคฺค” หมายถึง ยอด,  จุดหมาย, สูงสุด, สุดยอด ส่วนที่ดีที่สุด,  ความดีเลิศ  ความดีวิเศษ, ความเด่น, ตำแหน่งยอดเยี่ยม (top, point, the top or tip, the best part, the ideal, excellence, prominence, first place)

อคฺค ในภาษาไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “อัคร”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อัคร– : (คำวิเศษณ์) เลิศ, ยอด, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส, เช่น อัครมเหสี อัครมหาเสนาบดี. (ส.; ป. อคฺค).”

(๒) “ศาสน

บาลีเป็น “สาสน” รากศัพท์มาจาก –

(1) สาสฺ (ธาตุ = สั่งสอน) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน

: สาสฺ + ยุ > อน = สาสน แปลตามศัพท์ว่า (1) “คำอันท่านสั่งสอน” (2) “คำเป็นเครื่องสั่งสอนชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก

(2) สสฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน, ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ -(สฺ) เป็น อา (สสฺ > สาส)

: สสฺ + ยุ > อน = สสน > สาสน แปลตามศัพท์ว่า “คำสั่งสอนที่เบียดเบียนกิเลส

คำว่า “สาสน” มีที่ใช้ในความหมาย 3 อย่าง คือ –

(1) คำสอน = teaching หรือที่เรียกทับศัพท์ว่า “ศาสนา

(2) คำสั่ง (ในทางปกครองบังคับบัญชา) = order (to rule, govern)

(3) ข่าว = message คือที่เราคุ้นกันในคำว่า “สาส์น” (สาน)

(๓) “อุปถัมภก

บาลีเป็น “อุปตฺถมฺภก” (อุ-ปัด-ถำ-พะ-กะ) รากศัพท์มาจาก อุปตฺถมฺภ +

ก. อุปตฺถมฺภ

1) อุป (คำอุปสรรค = เข้าไป, ใกล้, มั่น) + ถมฺภฺ (ธาตุ = ผูกติด) + ปัจจัย, ซ้อน ตฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (อุป + ตฺ + ถมฺภ)

: อุป + ตฺ + ถมฺภ = อุปตฺถมฺภ + อ = อุปตฺถมฺภ แปลตามศัพท์ว่า “การเข้าไปผูกติดไว้

2) อุป (คำอุปสรรค = เข้าไป, ใกล้, มั่น) + ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺภ ปัจจัย, ซ้อน ตฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (อุป + ตฺ + ธรฺ), แปลง ที่ -(รฺ) เป็น , ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (ธรฺ > ) และ ต้นปัจจัย (รมฺภ > มฺภ)

: อุป + ตฺ + ธรฺ > ถรฺ = อุปตฺถร + รมฺภ = อุปตฺถรรมฺภ > อุปตฺถมฺภ แปลตามศัพท์ว่า “การเข้าไปรองรับไว้

3) อุป (คำอุปสรรค = เข้าไป, ใกล้, มั่น) + ถมฺภ (เสา), ซ้อน ตฺ ระหว่างอุปสรรคกับ ถมฺภ (อุป + ตฺ + ถมฺภ)

: อุป + ตฺ + ถมฺภ = อุปตฺถมฺภ แปลตามศัพท์ว่า “การเข้าไปเป็นเสา

อุปตฺถมฺภ” (ปุงลิงค์) หมายถึง –

(1) การอุปถัมภ์, การส่งเสริม, การค้ำจุน (a support, prop, stay)

(2) การปลดเปลื้อง, การปล่อยทุกข์ (relief, ease)

(3) การให้กำลังใจ (encouragement)

ข. อุปตฺถมฺภ + ณฺวุ ปัจจัย, แปลง ณฺวุ เป็น อก (อะ-กะ)

: อุปตฺถมฺภ + ณฺวุ > อก = อุปตฺถมฺภก แปลว่า “ผู้อุปถัมภ์

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อุปตฺถมฺภก” ว่า holding up, supporting, sustaining (ยกขึ้นไว้, อุดหนุน, ค้ำจุน, บำรุง)

การประกอบคำ :

1) สาสน + อุปตฺถมฺภก = สาสนูปตฺถมฺภก แปลว่า “ผู้อุปถัมภ์ศาสนา”

2) อคฺค + สาสนูปตฺถมฺภก = อคฺคสาสนูปตฺถมฺภก เขียนแบบไทยเป็น “อัครศาสนูปถัมภก” แปลว่า “ผู้อุปถัมภ์ศาสนาอย่างยอดเยี่ยม

…………..

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ผ่านมาบัญญัติไว้ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก”

หมายความว่า แม้จะทรงนับถือพระพุทธศาสนา แต่ก็ทรงอุปถัมภ์บำรุงศาสนาทุกศาสนาที่มีอยู่ในแผ่นดินไทย

…………..

: อุปถัมภ์บำรุงเฉพาะศาสนาของตน เป็นวิสัยของคนธรรมดา

: อุปถัมภ์บำรุงทุกศาสนา เป็นวิสัยของพระโพธิสัตว์

2-11-59