บาลีวันละคำ

กิตติศักดิ์ + อัครณัฐ (บาลีวันละคำ 1,617)

กิตติศักดิ์ + อัครณัฐ

บาลีวันละคำพิจารณาในแง่ภาษาที่เป็นชื่อเท่านั้น

ปลอดจากอคติและความคิดเห็นใดๆ ต่อเหตุการณ์

………….

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2559 ที่กรุงเทพฯ รถจักรยานยนต์ของนายกิตติศักดิ์ สิงห์โต ชนรถเก๋งมินิคูเปอร์ของนายอัครณัฐ อริยฤทธิ์วิกุล

นายอัครณัฐทำร้ายนายกิตติศักดิ์และสั่งให้ “กราบรถกู”

………….

(๑) “กิตติศักดิ์” ประกอบด้วย กิตติ + ศักดิ์

ก. “กิตติ” บาลีเขียน “กิตฺติ” (มีจุดใต้ ตัวแรก) รากศัพท์มาจาก กิตฺตฺ (ธาตุ = กล่าวถึง, พูดด้วยดี) + อิ ปัจจัย

: กิตฺต + อิ = กิตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “ความดีอันเขากล่าวถึง” หมายถึง คําเล่าลือ, คําสรรเสริญ, ชื่อเสียง, ความรุ่งโรจน์, เกียรติยศ (fame, renown, glory, honour)

กิตฺติ” สันสกฤตเป็น “กีรฺติ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “กีรฺตฺติ” และ “กีรฺติ” บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

กีรฺตฺติ, กีรฺติ : (คำนาม) เกียรติ, ความบันลือ, ศรี (ยศสฺหรือสง่า), อนุเคราะห์, อนุกูลย์; ธันยวาท; ศัพท์, เสียง; อาภา, โศภา; โคลน, สิ่งโสโครก; ความซ่านทั่ว; มูรติทิพยศักดิ์ของพระกฤษณ; fame, renown, glory; favour; approbation; sound; light, lustre; mud, dirt; diffusion, expansion; one of the Mātrikās or personified divine energies of Krishṇa.”

ข. “ศักดิ์” บาลีเป็น “สตฺติ” (สัด-ติ) รากศัพท์มาจาก –

(1) สกฺ (ธาตุ = สามารถ) + ติ ปัจจัย, แปลง กฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ (นัยหนึ่งว่า ลบ กฺ ซ้อน ตฺ)

: สกฺ + ติ = สกฺติ > สตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่สามารถ” หมายถึง ความสามารถ, กำลัง, อำนาจ (ability, power)

(2) สสฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ติ ปัจจัย, แปลง สฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ

: สสฺ + ติ = สสฺติ > สตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เบียดเบียน” หมายถึง หอก, หลาว; มีด, กริช, ดาบ (a spear, javelin; knife, dagger, sword)

บาลี “สตฺติ” สันสกฤตเป็น “ศกฺติ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ศกฺติ : (คำนาม) ‘ศักติ,’ กำลัง, แรง, ความกล้า; หอกหรือศรเหล็ก; เตชัส (หรือเดช) ของเทพดา, อันโรปยติเปนชายาของเธอ; นัยหรือความหมายของศัพท์; power, strength, prowess; an iron spear or dart; the energy of a deity, personified as his wife; signification or meaning of words.”

ภาษาไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ศักดิ

กรณีที่ต้องการอ่านว่า “สัก” เขียน “ศักดิ์” (การันต์ที่ ดิ)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศักดิ์ : (คำนาม) อํานาจ, ความสามารถ, เช่น มีศักดิ์สูง ถือศักดิ์; กำลัง; ฐานะ เช่นมีศักดิ์และสิทธิแห่งปริญญานี้ทุกประการ; หอก, หลาว. (ส. ศกฺติ; ป. สตฺติ).”

กิตฺติ + สตฺติ = กิตฺติสตฺติ > กิตติศักดิ์ แปลว่า “ผู้มีชื่อเสียงและมีความสามารถ

(๒) “อัครณัฐ” ประกอบด้วย อัคร + ณัฐ

ก. “อัคร” บาลีเป็น “อคฺค” (อัก-คะ) รากศัพท์มาจาก อชฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง ชฺ ที่ (อ)-ชฺ เป็น คฺ, ซ้อน คฺ

: อชฺ > อค + = อคฺค + = อคฺค แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่ถึงความประเสริฐที่สุด” (2) “ฐานะอันบุคคลถึงได้ด้วยบุญ” (3) “สิ่งที่ถึงก่อน

อคฺค” หมายถึง ยอด, จุดหมาย, สูงสุด, สุดยอด ส่วนที่ดีที่สุด,  ความดีเลิศ  ความดีวิเศษ, ความเด่น, ตำแหน่งยอดเยี่ยม (top, point, the top or tip, the best part, the ideal, excellence, prominence, first place)

อคฺค ในภาษาไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “อัคร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อัคร– : (คำวิเศษณ์) เลิศ, ยอด, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส, เช่น อัครมเหสี อัครมหาเสนาบดี. (ส.; ป. อคฺค).”

ข. “ณัฐ” บาลีเป็น “ณฏฺฐ” (นัด-ถะ) หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) แสดงรูปวิเคราะห์ ( = กระบวนการหาความหมาย) ของศัพท์ไว้ว่า –

ญาณสฺมึ ฐิโตติ ณฏฺโฐ = ผู้ตั้งอยู่ในความรู้ ชื่อว่า ณฏฺฐ

รากศัพท์มาจาก = ญาณ (ความรู้) + ฐา (ธาตุ = ตั้งอยู่) + ปัจจัย, ลบ , ซ้อน ฏฺ, ลบสระที่สุดธาตุ (ฐา > )

: + + ฐา = ณฏฺฐา + = ณฏฺฐา > ณฏฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ตั้งอยู่ในความรู้” หมายถึง นักปราชญ์, ผู้รู้

ในภาษาบาลีมีศัพท์อีกคำหนึ่ง ออกเสียงเหมือนกัน (ตามสะดวกปากของนักเรียนบาลีในไทยส่วนมาก) ว่า นัด-ถะ แต่สะกดเป็น นฏฺฐ (ฏฺ- หนู)

นฏฺฐ” รากศัพท์มาจาก นสฺ (ธาตุ = พินาศ, ฉิบหาย) + ปัจจัย, แปลง สฺ ที่สุดธาตุกับ เป็น ฏฺฐ

: นสฺ + = นสต ( + = ฏฺฐ) > นฏฺฐ เป็นคำกริยา แปลว่า “ฉิบหายแล้ว” เป็นคำคุณศัพท์ แปลว่า “ผู้ฉิบหาย

ข้อสังเกต:

มีผู้นิยมเอาศัพท์ว่า “ณฏฺฐ” ไปตั้งชื่อกันมาก ผู้ชายเขียนเป็น “ณัฏฐ์” (นัด) ผู้หญิงเขียนเป็น “ณัฏฐา” (นัด-ถา) หรือตัด ปฏักออก เขียนเป็น “ณัฐ” ก็มี

ระยะแรกที่เห็นคำนี้ คนส่วนมากไม่ทราบความหมาย แม้แต่นักเรียนบาลีเอง เมื่อได้ยินเสียง นัด-ถะ ก็มักนึกถึงคำว่า “นฏฺฐ” (ฉิบหายแล้ว) เพราะไม่เคยคุ้นกับศัพท์ “ณฏฺฐ

แต่ปัจจุบันนี้รู้ความหมายกันมากแล้ว

คนชื่อ “ณัฏฐ์” หรือ “ณัฏฐา” หรือ “ณัฐ” จึงต้องระวังให้ดี อย่าให้ เณร กลายเป็น หนู

อคฺค + ณฏฺฐ = อคฺคณฏฺฐ > อัครณัฐ แปลว่า “นักปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยม

ระวัง อย่าเขียนผิดเป็น “อัครนัฐ” เพราะความหมายจะกลายเป็นว่า “ผู้เสียหายอย่างสุดๆ

…………..

กิตติศักดิ์ + อัครณัฐ

เป็นชื่อที่คล้องจองกัน สมควรเป็นมิตรกันโดยแท้

…………..

: ขอมวลมนุษย์จงมองกันด้วยสายตาเป็นมิตร

: มีไมตรีจิตและปรารถนาดีต่อกันโดยทั่วหน้า เทอญ

7-11-59