บาลีวันละคำ

ลัดดา (บาลีวันละคำ 2426)

ลัดดา

ใช้กันมายาวนาน แต่ไม่มีในพจนานุกรม

อ่านตรงตัวว่า ลัด-ดา

ลัดดา” เป็นคำที่เพี้ยนมาจาก “ลดา” บาลีเป็น “ลตา” (ละ-ตา) รากศัพท์มาจาก ลา (ธาตุ = ถือเอา) + ปัจจัย, รัสสะ อา ที่ ลา เป็น ะ (ลา > ) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ลา + = ลาต > ลต + อา = ลตา แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนที่ถือเอาตามความยาว

ลตา” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ต้นไม้เลื้อย, ลดาวัลย์, เครือเขา (a slender tree, a creeping plant, creeper)

(2) กิ่งไม้ (branch)

(3) (ใช้ในเชิงอุปมา) คำแสดงลักษณะของตัณหา (ความโลภ) เท่าที่มันรัดคอเหยื่อ (an epithet of taṇhā (greed), as much as it strangles its victim)

(3) สายฟ้า, แสงปลาบ (streak, flash)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ลดา : (คำนาม) เครือเถา, เครือวัลย์; สาย. (ป., ส. ลตา).

อภิปราย :

คำนิยามของพจนานุกรมฯ ที่ว่า “ลดา” คือ “เครือเถา” ชวนให้เกิดความสงสัย เพราะคำว่า “เครือเถา” พจนานุกรมฯ บอกไว้เองว่า

เครือเถา : (คำนาม) ชื่อลายไทยชนิดหนึ่ง ประดิษฐ์เป็นเถาไม้เลื้อยสอดสลับ มีดอกใบและก้าน หรือใช้ตัวกระหนกแทน.”

นั่นคือ “เครือเถา” เป็นชื่อลายไทยชนิดหนึ่ง ไม่ได้บอกว่า “เครือเถา” เป็นพืช หรือหมายถึงเถาวัลย์

ลตา” ในบาลีหมายถึงพืชจำพวกที่เราเรียกกันว่า เถาวัลย์ พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ก็แปลคำนี้ว่า a slender tree, a creeping plant, creeper

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “ลตา” บอกความหมายไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ลตา : (คำนาม) ‘ลดา,’ ไม้เลื้อย; ศาขา; ด้าย; a creeper, a creeping plant; a branch; thread.”

ทั้งบาลีและสันสกฤต “ลตา” หมายถึง พืชจำพวกเถาวัลย์ และพืชจำพวกเถาวัลย์นั้น ภาษาไทยเรียกว่า “เครือเขา” ดังที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ก็บอกไว้เองเช่นกันว่า –

เครือเขา : (คำนาม) เถาวัลย์.”

ลตา” จึงควรเป็น “เครือเขา” ไม่ใช่ “เครือเถา

หรือไม่ก็ต้องปรับปรุงคำนิยามคำว่า “เครือเถา” ใหม่ ให้หมายถึง “เถาวัลย์” ด้วย

ลตา” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ลดา” ซึ่งต้องอ่านว่า ละ-ดา แต่เวลาออกเสียงจริงๆ มักเพี้ยนเป็น ลัด-ดา แล้วเลยเขียนเป็น “ลัดดา” ไปด้วย โดยเฉพาะที่ใช้เป็นชื่อคน ซึ่งมักเป็นชื่อสตรี

แต่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ไม่ได้เก็บคำว่า “ลัดดา” ไว้ ประหนึ่งจะบอกว่าพจนานุกรมฯ ไม่รับรู้ว่ามีคำว่า “ลัดดา” อยู่ในภาษาไทยทั้งๆ ที่คำที่สะกดเช่นนี้มีมานานนักหนาแล้ว

จะอย่างไรก็ตาม “ลตา” หรือ “ลดา” แม้จะเป็นเพียงพรรณไม้เถาหรือพรรณไม้เลื้อยที่มีอายุไม่ยืนนาน แต่ก็เป็นพรรณไม้ที่ประดับโลกให้งาม ดังที่มนุษย์ที่มีอารมณ์สุนทรีย์มองเห็นความงามนั้นแล้วนำมาเป็นแบบประดิษฐ์ลวดลายเป็นศิลปกรรมอันงดงามดังที่เราพบเห็นกันอยู่ทั่วไป

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ทำความดีประดับโลกไว้ก่อนตาย

: อย่าให้อายเครือเขาลดาวัลย์

#บาลีวันละคำ (2,426)

2-2-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *