บาลีวันละคำ

บาลีในเพลงสรรเสริญพระบารมี (บาลีวันละคำ 1,619)

บาลีในเพลงสรรเสริญพระบารมี

————————-

ขอบเขต :

(๑) แยกศัพท์ที่เป็นบาลีสันสกฤตในคำร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี

(๒) แสดงความหมายของแต่ละศัพท์

(๓) ไม่แสดงความหมายโดยรวม เว้นแต่คำที่สมาสสนธิกันบางคำ

——————

ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกราน

นบพระภูมิบาล บุญดิเรก

เอกบรมจักริน พระสยามินทร์

พระยศยิ่งยง เย็นศิระเพราะพระบริบาล

ผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์

ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด

จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย

ดุจถวายชัย ชโย

——————

(๑) “วรพุทธเจ้า

ประกอบด้วย วร + พุทธเจ้า

วร” รากศัพท์มาจาก วรฺ (ธาตุ = ปรารถนา) + ปัจจัย

: วรฺ + = วร แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะอันบุคคลปรารถนา” หมายถึง ประเสริฐ, วิเศษ, เลิศ, อริยะ (excellent, splendid, best, noble)

วร” แปลง เป็น ออกเสียงว่า พะ-ระ แล้วกลายเสียงเป็น พฺระ (ร กล้ำ)

ข้าวรพุทธเจ้า” ก็คือ “ข้าพระพุทธเจ้า” นั่นเอง

บางท่านแสดงความเห็นว่า “ข้าพระพุทธเจ้า” ก็คือ “ข้า” (ผู้รับใช้) ของ “พระพุทธเจ้า” เราเอามาใช้เป็นสรรพนาม หมายถึงตัวผู้พูด

(๒) “มโน

รูปคำเดิมเป็น “มน” (มะ-นะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) มน (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย

: มน + = มน แปลตามศัพท์ว่า “ตัวรู้

(2) มา (ธาตุ =นับ, กะ, ประมาณ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน, ลบสระที่สุดธาตุ

: มา > + ยุ > อน : + อน = มน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่กำหนดนับอารมณ์

มน” แจกรูปด้วยวิภัตติที่หนึ่ง เอกพจน์ เป็น “มโน” หมายถึง ใจ, ความคิด (mind, thought)

(๓) “ศิระ

บาลีเป็น “สิร” (สิ-ระ) รากศัพท์มาจาก สิ (ธาตุ = คบหา; ผูก, พัน) + ปัจจัย

: สิ + = สิร แปลตามศัพท์ว่า (1) “อวัยวะเป็นเครื่องคบหา” (คือใช้ก้มยอมรับกัน) (2) “อวัยวะอันคอเชื่อมไว้” หมายถึง ศีรษะ, หัว (head)

(๔) “ภูมิบาล” ประกอบด้วย ภูมิ + บาล

ก. “ภูมิ” บาลีอ่านว่า พู-มิ รากศัพท์มาจาก ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + มิ ปัจจัย

: ภู + มิ = ภูมิ แปลตามศัพท์ว่า “สถานที่มีอยู่เป็นอยู่แห่งสัตว์โลก” มีความหมายหลายอย่าง กล่าวคือ พื้นดิน, ดิน, แผ่นดิน, สถานที่, ถิ่น, แคว้น, แถบ, ภูมิภาค, พื้น, พื้นราบ, ขั้นตอน, ระดับ (ground, soil, earth, place, quarter, district, region, plane, stage, level)

ข. “บาล” บาลีเป็น “ปาล” (ปา-ละ) รากศัพท์มาจาก ปาลฺ (ธาตุ = ดูแล, รักษา) + ปัจจัย

: ปาลฺ + = ปาล แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ดูแล” หมายถึง ยาม, ผู้รักษา, ผู้คุ้มครอง, ผู้ป้องกัน (a guard, keeper, guardian, protector)

ปาล” ใช้ในภาษาไทยว่า “บาล” (บาน) พจน.54 บอกไว้ว่า –

บาล : (คำกริยา) เลี้ยง, รักษา, คุ้มครอง, ปกครอง, เช่น บาลเมือง, โดยมากใช้เป็นคำหลังสมาส เช่น โลกบาล รัฐบาล นครบาล โคบาล นิรยบาล. (ป., ส. ปาล).”

ภูมิ + ปาล = ภูมิปาล > ภูมิบาล แปลว่า ผู้คุ้มครองรักษาแผ่นดิน

(๕) “บุญดิเรก

อ่านว่า บุน-ยะ-ดิ-เรก มาจากคำว่า บุญ + อดิเรก

ก. “บุญ” บาลีเป็น “ปุญฺญ” (ปุน-ยะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ปุ (ธาตุ = ชำระ สะอาด) + ณฺย ปัจจัย, ลง อาคม, ลบ ณฺ, แปลง นฺย (คือ อาคม + (ณฺ)- ปัจจัย) เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุ + + ณฺย = ปุนณฺย > ปุนฺย > (+ ญฺ) = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “กรรมที่ชำระสันดานของตนให้สะอาด” “กรรมที่ชำระผู้ทำให้สะอาด

(2) ปุชฺช (น่าบูชา) + ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ชฺช, และ , แปลง นฺย เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุชฺช + ชนฺ + = ปุชฺชชนฺ + ณฺย = ปุชฺชชนณฺย > ปุชนณฺย > ปุนณฺย > ปุนฺย > (+ ญฺ) = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะอันทำให้เกิดความน่าบูชา

(3) ปุณฺณ (เต็ม) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺณ, และ , แปลง รย (คือ ที่ กรฺ + ที่ ณฺ) เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุณฺณ + กรฺ = ปุณฺณกร + ณฺย = ปุณฺณกรณฺย > ปุกรณฺย > ปุรณฺย > ปุรฺย > ปุ (+ ญฺ) = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำอันทำให้เต็มอิ่มสมน้ำใจ

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต แปล “บุญ” เป็นอังกฤษว่า merit; meritorious action; virtue; righteousness; moral acts; good works. adj. meritorious; good.

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปุญฺญ” ว่า merit, meritorious action, virtue (บุญ, กรรมดี, ความดี, กุศล)

ปุญฺญ” ภาษาไทยใช้ว่า “บุญ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.25542 บอกไว้ว่า –

บุญ, บุญ– : (คำนาม) ความสุข เช่น หน้าตาอิ่มบุญ; การกระทําดีตามหลักคําสอนในพระพุทธศาสนา เช่น ไปทำบุญที่วัด; ความดี เช่น ปล่อยนกปล่อยปลาเอาบุญ, คุณงามความดี เช่น เขาทำบุญช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก, ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น เช่น คนใจบุญ, ผลของการทำความดีจากชาติปางก่อน เช่น เขามีบุญจึงเกิดมาบนกองเงินกองทอง. (ป. ปุญฺญ; ส. ปุณฺย).”

ข. “อดิเรก” บาลีเป็น “อติเรก” (อะ-ติ-เร-กะ) รากศัพท์มาจาก อติ (คำอุปสรรค = ยิ่ง, เกิน, ล่วง) + เอก (หนึ่ง), ลง อาคม

: อติ + + เอก = อติเรก แปลตามศัพท์ว่า “ยิ่งกว่าหนึ่ง” “เกินหนึ่งขึ้นไป” หมายถึง เหลือล้น, มากเกินไป; เกิน, เลย, ในปริมาณที่สูง; พิเศษ (surplus, too much; exceeding, excessive, in a high degree; extra)

ปุญฺญ + อติเรก = ปุญฺญาติเรก แปลว่า “มากล้นด้วยบุญ” ภาษาไทยในที่นี้แปลงคำเป็น “บุญดิเรก” (บุน-ยะ-ดิ-เรก)

(๖) “เอก

บาลีอ่านว่า เอ-กะ รากศัพท์มาจาก อิ (ธาตุ = ไป, เป็นไป, ตั้งอยู่) + ณฺวุ ปัจจัย, แผลง อิ เป็น เอ, แปลง ณฺวุ เป็น อก

: อิ > เอ + ณฺวุ = เอณฺวุ > เอก แปลตามศัพท์ว่า (1) “ไปตามลำพัง” (คือไม่มีเพื่อนไปด้วย) (2) “ดำรงอยู่ในความเป็นหนึ่งเดียวเพราะไร้ผู้เหมือนกัน

เอก” ในที่นี้หมายถึง เด่น, ยอดเยี่ยม

(๗) “บรม

บาลีเป็น “ปรม” (ปะ-ระ-มะ) แปลตามศัพท์ว่า (1) “เครื่องผูกผู้อื่นไว้ (ด้วยความดี)” (2) “ขัดเกลาผู้อื่นให้หมดจด” (3) “คุณเครื่องถึงนิพพาน” (4) “คุณเครื่องกำหนดรู้โลก” (5) “คุณเครื่องตักตวงความดีไว้” (6) “คุณเครื่องทำลายปรปักษ์

ปรม” หมายถึง สูงสุด, พิเศษสุด, เป็นเลิศ, ดีที่สุด (highest, most excellent, superior, best)

ปรม” ที่ใช้ภาษาไทยว่า “บรม” (บอ-รม) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บรม, บรม– : (คำวิเศษณ์) อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นําหน้าคําที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม); (ภาษาปาก) อย่างที่สุด เช่น ขี้เกียจบรม บรมขี้เกียจ”

(๘) “จักริน

บาลีเป็น “จกฺกี” (จัก-กี) รากศัพท์คือ จกฺก + อี

จกฺก” (จัก-กะ) มีความหมายดังนี้ –

(1) แปลว่า “สิ่งที่เบียดเบียนแผ่นดิน” (คือบดแผ่นดิน) และ “เครื่องทำให้เคลื่อนไปได้” หมายถึง ล้อ, วงล้อ, ชิ้นส่วนที่เป็นวงกลม

(2) แปลว่า “ผู้เป็นเหตุให้ทำการยึดครองได้” หมายถึง กองทัพ, กำลังพล, กำลังรบ

(3) แปลว่า “เครื่องเบียดเบียน” หมายถึง กงจักร คืออาวุธรูปเป็นวงกลมและมีแฉก ๆ โดยรอบ สำหรับขว้างไปสังหาร

จกฺก + อี = จกฺกี แปลว่า “ผู้มีจักร

บาลี “จกฺก” สันสกฤตเป็น “จกฺร

บาลี “จกฺกี” สันสกฤตเป็น “จกฺรินฺ

คำนี้เราใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “จักริน” อ่านว่า จัก-กฺริน

(๙) “สยามินทร์

อ่านว่า สะ-หฺยา-มิน ประกอบด้วยคำว่า สยาม + อินทร์

ก. คำว่า “สยาม” (สะ-หฺยาม) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า “ชื่อเรียกประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482”

มีผู้สันนิษฐานว่า “สยาม” ที่เป็นชื่อประเทศไทยมาจากคำสันสกฤตว่า “ศยาม” เนื่องจากคนไทยมีผิวสีคล้ำ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า

ศฺยาม : มีสีดำหรือสีครามหม่น; มีสีเขียว black or dark-blue; green”

ศฺยาม” สันสกฤต ตรงกับบาลีว่า “สาม” (สา-มะ)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ บอกไว้ว่า “สาม : เทียบ ศฺยาม ดำ ศฺยาว น้ำเงิน (śyāma black & śyāva brown) และบอกความหมายไว้ดังนี้ –

1 ดำ, มืด (เหมือนน้ำตาลแก่) (black, dark [something like deep brown])

2 เหลือง, มีสีทอง, งดงาม (yellow, of a golden colour, beautiful)

จะเห็นได้ว่า สาม-ศฺยาม-สยาม ไม่ได้แปลว่าดำ หรือคล้ำ อย่างเดียว แต่หมายถึงสีเหลือง สีทอง หรืองดงามก็ได้ด้วย

ข. “อินทร์

บาลีเป็น “อินฺท” (อิน-ทะ) รากศัพท์มาจาก อิทิ (ธาตุ = เป็นใหญ่ยิ่ง) + นิคหิตอาคม + ปัจจัย, แปลงนิคหิตเป็น , ลบสระที่สุดธาตุ

: อิทิ > อึทิ (อิง-ทิ) > อินฺทิ > อินฺท + = อินฺท แปลว่า “ผู้กระทำความเป็นใหญ่ยิ่ง” หมายถึง พระอินทร์, ผู้เป็นเจ้า, ผู้เป็นหัวหน้า, พระราชา, ผู้ปกครอง

สฺยาม + อินฺท = สฺยามินฺท > สยามินทร์ แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ในสยามหมายถึง พระมหากษัตริย์ของประเทศไทย

(๑๐) “ยศ

บาลีเป็น “ยส” (ยะ-สะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ยชฺ (ธาตุ = บูชา) + ปัจจัย, แปลง เป็น

: ยชฺ + = ยช > ยส แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเครื่องบูชา

(2) ยา (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, รัสสะ อา ที่ ยา เป็น (ยา > )

: ยา + = ยาส > ยส แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นไปทุกแห่ง” (ยศมีทั่วไปหมดทุกสังคม)

(3) ยสุ (ธาตุ = พยายาม) + ปัจจัย, ลบสระ อุ ที่สุดธาตุ (ภาษาไวยากรณ์ว่า “ลบสระหน้า”) (ยสุ > ยส)

: ยสุ + = ยสุ > ยส แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเหตุให้เขายกย่องหรือแวดล้อม” ขยายความว่า “มีผู้ยกย่องหรือแวดล้อมด้วยเหตุอันใด ก็พยายามทำเหตุอันนั้น”

(๑๑) “บริบาล

อ่านว่า บอ-ริ-บาน บาลีเป็น “ปริปาล” (ปะ-ริ-ปา-ละ) ประกอบด้วย ปริ (คำอุปสรรค = รอบ, ทั่วไป) + ปาล (ผู้ดูแล) = ปริปาล > บริบาล แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ดูแลรอบด้าน

ในภาษาไทย พจน.54 บอกไว้ว่า –

บริบาล : (คำกริยา) ดูแลรักษา, ดูแลเลี้ยงดู, เช่น บริบาลทารก.น. ผู้รักษา, ผู้ดูแล, ผู้เลี้ยงดู. (ป., ส. ปริปาล).”

(๑๒) “ผล

บาลีอ่านว่า ผะ-ละ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เผล็ดออก” หมายถึง ผลไม้, ผลลัพธ์, ผลที่ได้รับ, ผลที่เกิดตามมา, การสำเร็จผล, พรที่ได้ (fruit, result, consequence, fruition, blessing)

(๑๓) “คุณ

บาลีอ่านว่า คุ-นะ รากศัพท์มาจาก คุณฺ (ธาตุ = ประกาศ, ผูก, มัด, สั่งสม) + ปัจจัย

: คุณฺ + = คุณ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “สิ่งที่ประกาศความดีของตน” = เมื่อทำสิ่งนั้น ก็จะประกาศให้รู้ว่าสิ่งที่ทำหรือผู้ทำสิ่งนั้นมีความดี

(2) “สิ่งที่ผูกผลไว้กับตน” = เมื่อทำสิ่งนั้นก็เท่ากับได้ผลของสิ่งนั้นติดพันมาด้วย

(3) “สิ่งอันผู้ต้องการความดีสั่งสม” = ใครต้องการความดีก็ต้องสั่งสมสิ่งนั้น ถ้าไม่สั่งสมก็ไม่มีและไม่ได้สิ่งที่ต้องการ

คุณ” ในบาลีใช้ในความหมายว่า –

(1) เชือก, ด้าย (a string, a cord)

(2) ส่วนที่ประกอบขึ้น, ส่วนผสม, สิ่งที่ประกอบ (constituent part, ingredient, component, element)

(3) คุณภาพ, คุณความดี, ผลประโยชน์, ผลบุญ  (quality, good quality, advantage, merit)

(4) เมื่อใช้กับ “จำนวน” หรือสิ่งที่นับจำนวน หมายถึง ประการ, ส่วน, เท่า (-fold)

(๑๔) “รักษา

บาลีเป็น “รกฺขา” (รัก-ขา) รากศัพท์มาจาก รกฺข (ธาตุ = ดูแล, รักษา) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: รกฺข + = รกฺข + อา = รกฺขา แปลตามศัพท์ว่า “การดูแล” “การรักษา

รกฺขา” ในบาลีมีความหมายดังนี้ –

(1) คุ้มครอง, ป้องกัน, ระมัดระวัง, เอาใจใส่ (guarding, protecting, watching, taking care)

(2) ปฏิบัติ, รักษา (observing, keeping)

(3) ผู้เพาะปลูก (สติปัญญา) (a cultivator)

(4) ทหารยาม (a sentry, guard, guardian)

(๑๕) “ประชา

บาลีเป็น “ปชา” (ปะ-ชา)  รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน) + ชนฺ (ธาตุ ธาตุ = เกิด) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ ที่สุดธาตุ และ กฺวิ + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: + ชนฺ + กฺวิ = ปชนกฺวิ > ปชน > ปช + อา = ปชา (อิตถีลิงค์)

ปชา” นักเรียนบาลีมักแปลกันว่า “หมู่สัตว์” ทำให้ผู้ไม่คุ้นสำนวนบาลีเข้าใจไปว่าหมายถึงหมู่สัตว์เดรัจฉาน แต่ความจริงหมายถึง “หมู่คน

ปชา” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เกิดมาต่างกันไป” ซึ่งเป็นคำแปลที่ตรงตามสัจธรรม เพราะท่านว่าผู้คนแม้จะมีจำนวนเป็นพันล้านก็ไม่เหมือนกันเลยแม้แต่คนเดียว

ปชา” หมายถึง คน, ผู้คน, รุ่นของคน, ผู้สืบตระกูล, ลูกหลาน, สัตว์โลก, มนุษยชาติ (progeny, offspring, generation, beings, men, world, mankind)

บาลีเป็น “ปชา” สันสกฤตเป็น “ปฺรชา” ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ประชา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ประชา : (คำนาม) หมู่คน เช่น ปวงประชา. (ส. ปฺรชา; ป. ปชา).”

(๑๖) “สุข

บาลีอ่านว่า สุ-ขะ รากศัพท์มาจาก :

(1) สุ (ดี, งาม, สะดวก) + ขมฺ (ธาตุ = อดทน, อดกลั้น) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ และ ที่สุดธาตุ

: สุ + ขมฺ = สุขม + กฺวิ = สุขมกฺวิ > สุขม > สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ทนได้ง่าย

(2) สุ (ดี, งาม, สะดวก) + ขนฺ (ธาตุ = ขุด) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ และ ที่สุดธาตุ

: สุ + ขนฺ = สุขน + กฺวิ = สุขนกฺวิ > สุขน > สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ขุดความทุกข์ด้วยดี

(3) สุ (ดี, งาม, สะดวก) + ขาทฺ (ธาตุ = เคี้ยวกิน) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ และ ที่สุดธาตุ, ลดเสียง อา ที่ ขา-(ทฺ) เป็น อะ

: สุ + ขาทฺ = สุขาท + กฺวิ = สุขาทกฺวิ > สุขาท > สุขา > สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่เคี้ยวกินความทุกข์ด้วยดี

(4) สุขฺ (ธาตุ = สุขสบาย) + ปัจจัย

: สุขฺ + = สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ยังบุคคลให้สุขสบาย

(5) สุ (ง่าย, สะดวก) + (โอกาส)

: สุ + = สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ให้โอกาสได้ง่าย

สุข” เราแปลทับศัพท์กันจนอาจจะไม่เคยคิดว่าหมายถึงอะไร

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สุข” ไว้ดังนี้ –

(1) agreeable, pleasant, blest (เป็นที่พอใจ, รื่นรมย์, ได้รับพร)

(2) wellbeing, happiness, ease (ความผาสุก, ความสุข, ความสบาย)

(3) ideal, success (อุดมคติ, ความสำเร็จ)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สุข, สุข– : (คำนาม) ความสบายกายสบายใจ เช่น ขอให้อยู่ดีมีสุข เกิดมาก็มีสุขบ้างทุกข์บ้าง, มักใช้เข้าคู่กับคำ เป็น เช่น ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข ขอให้เป็นสุข ๆ นะ. (คำวิเศษณ์) สบายกายสบายใจ เช่น เดี๋ยวนี้เขาอยู่สุขสบายดี. (ป., ส.).”

(๑๗) “ศานต์

บาลีเขียน “สนฺต” (สัน-ตะ) รากศัพท์มาจาก สมฺ (ธาตุ = สงบ) + ปัจจัย, แปลง มฺ ที่สุดธาตุเป็น นฺ

: สมฺ + = สมฺต > สนฺต แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่กิเลสสงบ” หมายถึง ความราบรื่น, ความสงบ (tranquillity, peace)

ในภาษาไทย พจน.54 บอกไว้ว่า –

ศานต-, ศานต์ : (คำวิเศษณ์) สงบ. (ส.; ป. สนฺต).”

(๑๘) “ประสงค์

บาลีเป็น “ปสงฺค” (ปะ-สัง-คะ) รากศัพท์มาจาก (ทั่วไป, ข้างหน้า) + สนฺชฺ (ธาตุ = เกี่ยวข้อง) + ปัจจัย, แปลง นฺ ที่ (ส)-นฺ-(ชฺ) เป็นนิคหิต (สนฺช > สํช), แปลงนิคหิตเป็น งฺ (สํช > สงฺช), แปลง เป็น (สงฺช > สงฺค)

: + สนฺชฺ = ปสนฺช + = ปสนฺช > ปสํช > ปสงฺช > ปสงฺค แปลตามศัพท์ว่า “การเกี่ยวข้อง” หมายถึง –

(1) การเกาะติด, การโน้มเอียง, การติดพันอยู่ (hanging on, inclination, attachment)

(2) โอกาส, เหตุการณ์ (occasion, event)

ปสงฺค” สันสกฤตเป็น “ปฺรสงฺค” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ประสงค์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ประสงค์ : (คำกริยา) ต้องการ, อยากได้; มุ่งหมาย, มุ่ง. (ส. ปฺรสงฺค).”

(๑๙) “สฤษดิ์

อานว่า สะ-หฺริด พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สฤษดิ์ : (คำนาม) สฤษฏ์.”

ตามไปดูที่ “สฤษฏ์” บอกไว้ดังนี้ –

สฤษฎิ, สฤษฎี, สฤษฏ์ : (คำนาม) การทํา, การสร้าง, ใช้ว่า สฤษดิ์ ก็มี. (ส.).”

ผู้เขียนบาลีวันละคำมีความเห็นส่วนตัวว่า “สฤษดิ์” คำนี้ ท่านผู้รจนาคำร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีน่าจะตั้งใจให้มีความหมายว่า “สัมฤทธิ์” (สำ-ริด) ซึ่งหมายถึง ความสําเร็จ มากกว่าที่จะให้หมายถึง การทํา, การสร้าง

ขอฝากท่านผู้รู้พิจารณาด้วยเทอญ

(๒๐) “วรหฤทัย

ประกอบด้วย วร + หฤทัย

ก. “วร” ดูที่ (๑) “วรพุทธเจ้า

ข. “หฤทัย” บาลีเป็น “หทย” (หะ-ทะ-ยะ) รากศัพท์มาจาก หรฺ (ธาตุ = นำไป) + ปัจจัย, แปลง ที่ (ห)-รฺ เป็น (หรฺ > หท)

: หรฺ + = หรย > หทย แปลตามศัพท์ว่า (1) “อวัยวะที่นำที่รองรับของตนไป” (คือนำร่างให้เป็นไป) (2) “อวัยวะที่นำสภาวะของตนไป” หมายถึง หัวใจ, ใจ (the heart: the physical organ; the heart as seat of thought and feeling)

วร + หทย = วรหทย > วรหฤทัย > พระหฤทัย = พระราชหฤทัย

(๒๑) “ชัย ชโย

บาลีเป็น “ชย” (ชะ-ยะ) รากศัพท์มาจาก ชิ (ธาตุ = ชนะ) + ปัจจัย, แผลง อิ ที่ ชิ เป็น เอ, แปลง เอ เป็น อย (ชิ > เช > ชย)

: ชิ > เช > ชย + = ชย แปลตามศัพท์ว่า “ความชนะ” หมายถึง การปราบ, การพิชิต, ชัยชนะ (vanquishing, overcoming, victory)

ชย” แจกวิภัตติตามบาลีไวยากรณ์เป็น “ชโย

ในภาษาไทย พจน.54 บอกไว้ว่า –

ชโย : (คำนาม) ความชนะ. (คําเดียวกับ ชัย). (คำอุทาน) คําที่เปล่งเสียงอวยชัยให้พรหรือแสดงความดีใจเมื่อได้รับชัยชนะเป็นต้น.”

คำว่า “ไชโย” ก็ออกไปจากคำนี้

………….

ดูก่อนภราดา! อันว่าเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้น

: ร้องโดยไม่รู้ความหมาย

: ยังไม่เสียหายเท่าร้องโดยไม่รู้กาลเทศะ

9-11-59