บาลีวันละคำ

สมรรถนะ-สมรรถภาพ (บาลีวันละคำ 893)

สมรรถนะสมรรถภาพ

สมรรถนะ อ่านว่า สะ-มัด-ถะ-นะ

สมรรถภาพ อ่านว่า สะ-มัด-ถะ-พาบ หรือ สะ-หฺมัด-ถะ-พาบ ก็ได้ (ตาม พจน.54)

คำหลักในสองคำนี้คือ “สมรรถ-”

คำนี้บาลีเป็น “สมตฺถ” (สะ-มัด-ถะ) เป็นคุณศัพท์ แปลว่า อาจ, สามารถ (able, strong)

(1) สมตฺถ + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะนะ)

: สมตฺถ + ยุ > อน = สมตฺถน (สะ-มัด-ถะ-นะ) แปลตามศัพท์ว่า “ความเป็นผู้สามารถ

(2) สมตฺถ + ภาว (พา-วะ, = ความมี, ความเป็น)

: สมตฺถ + ภาว = สมตฺถภาว (สะ-มัด-ถะ-พา-วะ) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะของผู้สามารถ

สมตฺถ สันสกฤตเป็น สมรฺถ ภาษาไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น สมรรถ

สมตฺถน > สมรรถนะ

สมตฺถภาว > สมรรถภาพ (แปลง เป็น )

ทั้งสองคำในภาษาบาลีมีความหมายเหมือนกัน แปลว่า “ความสามารถ” (ability, strength)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) สมรรถ, สมรรถ– : (คำวิเศษณ์) สามารถ. (ส. สมรฺถ ว่า ผู้สามารถ; ป. สมตฺถ).

(2) สมรรถนะ : (คำนาม) ความสามารถ (ใช้แก่เครื่องยนต์) เช่น รถยนต์แบบนี้มีสมรรถนะดีเยี่ยมเหมาะสำหรับเดินทางไกล.

(3) สมรรถภาพ : (คำนาม) ความสามารถ เช่น เขาเป็นคนมีสมรรถภาพในการทำงานสูงสมควรได้เลื่อนตำแหน่ง.

: มีสมรรถนะสูงสุด ถ้าไม่รู้จักหยุด ก็พัง

#บาลีวันละคำ (893)

28-10-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *