บาลีวันละคำ

สังเกตสังกา (บาลีวันละคำ 896)

สังเกตสังกา

(บาลีแบบไทย)

อ่านว่า สัง-เกด-สัง-กา

(๑) “สงฺเกต

แปลตามศัพท์ว่า “รู้ร่วมกัน” “รู้พร้อมกัน” รากศัพท์มาจาก –

(1) สํ ( = ร่วมกัน, พร้อมกัน) + กิ (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย, แปลงนิคหิตเป็น งฺ, แปลง อิ (ที่ กิ) เป็น เอ

: สํ > สงฺ + กิ = สงฺกิ > สงฺเก + = สงฺเกต

(2) สํ + กิต (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย, แปลงนิคหิตเป็น งฺ, แปลง อิ (ที่ กิต) เป็น เอ

: สํ > สงฺ + กิต = สงฺกิต > สงฺเกต + = สงฺเกต

สงฺเกต หมายถึง การกำหนด, ความตกลง, การนัดหมาย, สถานที่นัดหมาย, ที่นัดพบ (intimation, agreement, engagement, appointed place, rendezvous)

สงฺเกต” ในภาษาไทยเขียนว่า “สังเกต

โปรดสังเกตว่า รากศัพท์ไม่ได้มีสระ อุ ที่ คำนี้จึงเขียนว่า สังเกต ไม่ใช่ สังเกตุ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สังเกต : (คำกริยา) กําหนดไว้, หมายไว้, เช่น ทำเครื่องหมายไว้เป็นที่สังเกต; ตั้งใจดู, จับตาดู, เช่น ไม่ได้สังเกตว่าวันนี้เขาแต่งตัวสีอะไร สังเกตกิริยาท่าทางเขาไว้ว่าเป็นคนดีหรือคนร้าย”

(๒) “สงฺกา

รากศัพท์มาจาก สงฺกฺ (ธาตุ = สงสัย) + ปัจจัย + อา ปัจจัยอิตถีลิงค์

: สงฺกฺ + = สงฺก + อา = สงฺกา แปลว่า “ความสงสัย

สงฺกา” ภาษาไทยใช้ว่า “สงกา” (สง-กา) แต่ พจน.54 ก็เก็บรูปคำ “สังกา” (สัง-กา) ไว้ด้วย บอกว่าคือ “สงกา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สงกา : (คำนาม) ความสงสัย. (ป. สงฺกา; ส. ศงฺกา).”

เพื่อให้สิ้นสงสัย ควรตามไปดูความหมายของคำว่า “สงสัย” ซึ่งก็คือความหมายของ “สงกา” ด้วย

พจน.54 บอกไว้ว่า –

(1) ไม่แน่ใจในข้อเท็จจริง เช่น สงสัยว่าทำดีจะได้ดีจริงหรือ.

(2) ลังเล เช่น เมื่อเดินไปถึงทาง ๒ แพร่ง สงสัยว่าจะไปทางไหนจึงจะถูก.

(3) ทราบไม่ได้แน่ชัด, เคลือบแคลง, เช่น สงสัยว่าคำตอบข้อไหนถูก สงสัยว่าเขาจะเป็นขโมย.

(4) เอาแน่ไม่ได้ เช่น สงสัยว่าเขาจะมาหรือไม่มา.

สังเกตสังกา” หมายถึงเห็นอะไรแล้วเกิดความสงสัยจึงจับตาดูหรือหาข้อมูลต่อไปว่าสิ่งนั้นคืออะไร เป็นมาอย่างไรและจะเป็นไปอย่างไรเป็นต้น

คนรุ่นเก่าเมื่อจะเตือนกันให้รู้จักสังเกตจดจำและรู้จักแยกแยะเหตุการณ์ เรื่องราว บุคคล หรือสิ่งของที่พบเห็น ว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งไหนต่างจากสิ่งไหนอย่างไรเป็นต้น มักจะใช้คำพูดว่า “หัดสังเกตสังกาไว้มั่งนะ” “รู้จักสังเกตสังกาเสียบ้างสิ

สังกา” ดูคล้ายกับเป็นคำสร้อยของ “สังเกต” แต่เป็นคำสร้อยที่มีความหมายและเป็นความหมายที่สอดคล้องกัน

สังเกตสังกา” ปัจจุบันไม่ค่อยได้ยินพูดกันแล้ว

๏ สงสัยจงสอบสวน

ให้สิ้นส่วนที่สงสัย

เคลือบแคลงกินแหนงใคร

อย่าคุมแค้นทั้งเคลือบคลุม

๏ หากเห็นฤๅยินเหตุ

ย่อมสิ้นเศษสงสัยสุม

สงกาเข้าเกาะกุม

จงแกะแก้ให้ควรการณ์

๏ โกรธเกลียดก็ว่ากล่าว

อย่าชี้ฉาวให้ร้าวฉาน

เมตตาปัญญาญาณ

เข้ายึดเหนี่ยวกลมเกลียวเทอญ๚ะ๛

#บาลีวันละคำ (896)

31-10-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *