บาลีวันละคำ

ภาพลักษณ์ (บาลีวันละคำ 1,647)

ภาพลักษณ์

อ่านว่า พาบ-ลัก (ตาม พจน.54)

ประกอบด้วย ภาพ + ลักษณ์

(๑) “ภาพ

รูปคำเหมือนจะมาจาก “ภาว” (พา-วะ) ในบาลี

ภาว” รากศัพท์มาจาก ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อู เป็น โอ, แปลง โอ เป็น อาว

: ภู + = ภูณ > ภู > โภ > ภาว แปลตามศัพท์ว่า “ความมี” “ความเป็น

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ภาว” ไว้ดังนี้ –

(1) being, becoming, condition, nature (ความมี, ความเป็น, ภาวะ, ธรรมชาติ)

(2) cultivation or production by thought, mental condition (การปลูกฝัง หรือการผลิตผลด้วยความคิด, ภาวะทางใจ)

ความหมายของ “ภาว” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภาว-, ภาวะ : (คำนาม) ความมี, ความเป็น, ความปรากฏ, เช่น ภาวะน้ำท่วม ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ. (ป., ส.).”

ภาว แปลง เป็น = ภาพ

ความหมายของ “ภาพ” ในภาษาไทย พจน.54 บอกไว้ว่า –

(1) ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย.

(2) รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึกเห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน.

(3) สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย.

ในที่นี้ “ภาพ” ใช้ในความหมายตามข้อ (2)

(๒) “ลักษณ์

บาลีเป็น “ลกฺขณ” (ลัก-ขะ-นะ) รากศัพท์มาจาก ลกฺขฺ (ธาตุ = กำหนด) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน, แปลง เป็น

: ลกฺขฺ + ยุ > อน = ลกฺขน > ลกฺขณ แปลตามศัพท์ว่า –

๑) “สภาวะอันธรรมดากำหนดไว้อย่างนั้นนั่นเอง

๒) “สิ่งเป็นเครื่องอันเขาใช้กำหนดหมาย

ลกฺขณ” หมายถึง สัญลักษณ์, เครื่องหมาย, เครื่องหมายที่เด่นหรือลักษณะที่สำคัญ, คุณภาพ (sign, characteristic, mark, a distinguishing mark or salient feature, property, quality)

ลกฺขณ” ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “ลักษณ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ลักษณ-, ลักษณะ : (คำนาม) สมบัติเฉพาะตัว เช่น น้ำมีลักษณะเป็นของเหลว ลูกบิลเลียดมีลักษณะกลม ลูกเต๋ามีลักษณะเหลี่ยม คนไทยมีลักษณะอ่อนโยน; ประเภท เช่น ใน ๓ ลักษณะ. (ส.; ป. ลกฺขณ).”

ภาพ + ลักษณ์ = ภาพลักษณ์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภาพลักษณ์ : (คำนาม) ภาพที่เกิดจากความนึกคิดหรือที่คิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้น, จินตภาพ ก็ว่า. (อ. image).”

ภาพลักษณ์” เป็นศัพท์บัญญัติจากคำอังกฤษว่า image

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล image ว่า รูปจำลอง, รูปบูชา เช่น พระพุทธรูป, เงา, ภาพบนจอ บนกระจก หรือบนฟิล์มถ่ายรูป, ภาพในใจ, รูปถ่าย

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล image เป็นบาลีไว้ดังนี้ –

(1) paṭimā ปฏิมา (ปะ-ติ-มา) = รูปจำลอง, รูปปั้น

(2) upaṭṭhiti อุปฏฺฐิติ (อุ-ปัด-ถิ-ติ) = สิ่งที่ถูกแต่งขึ้น

(3) paṭibimba ปฏิพิมฺพ (ปะ-ติ-พิม-พะ) = รูปจำลอง, รูปเปรียบ

(4) paṭirūpa ปฏิรูป (ปะ-ติ-รู-ปะ) = รูปเทียม

(5) ākāra อาการ (อา-กา-ระ) = “สิ่งที่ทำทั่ว” = รูปร่างหน้าตา

โปรดสังเกตว่า ไม่มีคำแปลว่า “ภาวลกฺขณ” (ภาพลักษณ์) หรือแม้แต่ “ลกฺขณ” คำเดียว

ภาพลักษณ์” จึงเป็นคำไทยที่แต่งตัวให้เป็นบาลีสันสกฤต

…………..

อภิปราย :

คำนิยามในพจนานุกรมฯ ที่ว่า “ภาพที่เกิดจากความนึกคิดหรือที่คิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้น” ทำให้นึกถึงคำที่ชอบพูดกันว่า “สร้างภาพ

เข้าใจว่าคำนี้คงตัดมาจากคำว่า “สร้างภาพลักษณ์” นี่เอง หมายถึงการกระทำใดๆ ซึ่งอาจเป็นความจริงหรือเป็นสิ่งที่แสร้งทำก็ได้ ที่จงใจทำขึ้นเพื่อให้คนที่ได้พบเห็นเกิดความรู้สึกนึกคิดตามที่ผู้ทำต้องการ

…………..

: ความจริงที่เป็นที่เห็นประจักษ์ เป็นภาพลักษณ์ที่ยั่งยืน

: สิ่งที่เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน อาจเป็นเพียงภาพลักษณ์จำลอง

7-12-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย