บาลีวันละคำ

ราชาศัพท์ (บาลีวันละคำ 1,650)

ราชาศัพท์

อ่านว่า รา-ชา-สับ

ประกอบด้วย ราชา + ศัพท์

(๑) “ราชา

เป็นรูปคำบาลี แปลตามรากศัพท์ว่า –

(1) “ผู้รุ่งเรืองโดยยิ่งเพราะมีเดชานุภาพมาก

ความหมายนี้ประกอบขึ้นจาก ราชฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง) + (ปัจจัย) = ราช

หมายความว่า ผู้เป็นพระราชาย่อมมีเดชานุภาพมากกว่าคนทั้งหลาย

(2) “ผู้ยังคนทั้งหลายให้ยินดี

ความหมายนี้ประกอบขึ้นจาก รญฺชฺ (ธาตุ = ยินดี พอใจ) + (ปัจจัย) ลบ ลบ ญฺ แผลง เป็น รา = ราช

หมายความว่า เป็นผู้อำนวยความสุขให้ทวยราษฎร์ จนคนทั้งหลายร้องออกมาว่า “ราชา ราชา” (พอใจ พอใจ)

ราช” หมายถึง พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน ใช้นำหน้าคำให้มีความหมายว่า เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน, เกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน หรือเป็นของหลวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ราช ๑, ราช– : (คำนาม) พระเจ้าแผ่นดิน, พญา (ใช้แก่สัตว์) เช่น นาคราช คือ พญานาค สีหราช คือ พญาราชสีห์, คํานี้มักใช้ประกอบกับคําอื่น, ถ้าคําเดียวมักใช้ว่า ราชา.”

(๒) “ศัพท์

บาลีเป็น “สทฺท” (สัด-ทะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) สปฺปฺ (ธาตุ = สวด, พูด; รู้) + ปัจจัย, แปลง ปฺป เป็น ทฺท (สปฺปฺ > สทฺท)

: สปฺปฺ + = สปฺป > สทฺท (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งอันเขาพูดออกมา” (2) “สิ่งเป็นเหตุให้รู้เนื้อความ

(2) สปฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง ปฺ ที่ (ส)-ปฺ เป็น ทฺ (สปฺ > สทฺ), ซ้อน ทฺ

: สป > สทฺ + ทฺ + = สทฺท (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเหตุให้เป็นไปได้” (คือทำให้เกิดความสะดวกในการดำเนินชีวิต)

(3) สทฺทฺ (ธาตุ = ส่งเสียง) + ปัจจัย

: สทฺทฺ + = สทฺท (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาส่งออกไป

สทฺท” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) เสียง, สำเนียง (sound, noise)

(2) เสียงคน (voice)

(3) คำ (word)

บาลี “สทฺท” สันสกฤตเป็น “ศพฺท

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน) บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ศพฺท : (คำนาม) ‘ศัพท์,’ เสียงทั่วไป; คำ; (คำใช้ในไวยากรณ์) ศัพท์นี้ขึ้นอยู่กับวิภัตติ์หรือเปลี่ยนรูปไปตามวิภัตติ์, ดุจนาม, สรรพนาม ฯลฯ; sound in general; a word; (In grammar) a declinable word, as noun, pronoun &c.”

สทฺท > ศพฺท ในภาษาไทยใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “ศัพท

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศัพท-, ศัพท์ : (คำนาม) เสียง เช่น โทรศัพท์, คำ เช่น ศัพท์บัญญัติ; คำยากที่ต้องแปล, ศัพท์แสง ก็ว่า; เรื่อง เช่น ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด. (ส. ศพฺท; ป. สทฺท ว่า เสียง, คํา).”

ราชา + ศัพท์ = ราชาศัพท์ แปลตามศัพท์ว่า “คำอันเขากล่าวแก่พระเจ้าแผ่นดิน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ราชาศัพท์ : (คำนาม) คําเฉพาะใช้สําหรับเพ็ดทูลพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านาย, ต่อมาหมายรวมถึงคําที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการ และสุภาพชนด้วย.”

…………..

จำไว้ง่ายๆ ก่อน :

– เจ้านายที่จะใช้ราชาศัพท์กับท่าน ท่านว่าคือผู้มีฐานันดรศักดิ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป

– พระสงฆ์ระดับสมเด็จพระราชาคณะ ไม่ต้องใช้ราชาศัพท์กับท่าน

…………..

: ชาติที่มีอารยธรรม วางคำให้เหมาะแก่คน

: ผู้ที่เป็นอารยชน วางตนให้เหมาะแก่ธรรม

10-12-59