บาลีวันละคำ

ญาณเวศกวัน (บาลีวันละคำ 1,658)

ญาณเวศกวัน

อ่านว่า ยา-นะ-เว-สะ-กะ-วัน

ถ้าเรียกย่อ อ่านว่า ยา-นะ-เวด (อักษรโรมันสะกด nyanaves.)

ประกอบด้วย ญาณ + เวศก + วัน

(๑) “ญาณ

บาลีอ่านว่า ยา-นะ รากศัพท์มาจาก ญา (ธาตุ = รู้) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แปลง เป็น (อน > อณ)

: ญา + ยุ > อน = ญาน > ญาณ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องช่วยรู้” “สิ่งที่เป็นเหตุให้รู้” “รู้สิ่งที่พึงรู้” หมายถึง ความรู้, ปัญญา, การหยั่งเห็น, ความเข้าใจ, การหยั่งรู้, การรับรู้, ความคงแก่เรียน, ทักษะ, ความฉลาด (knowledge, intelligence, insight, conviction, recognition, learning, skill)

ญาณ” ในความหมายพิเศษ หมายถึงปัญญาหยั่งรู้หรือกําหนดรู้ความจริงอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างแจ่มชัดจนเกิดความสว่างไสวในดวงจิต หรือความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษถึงเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

ญาณ” ในภาษาไทย :

– ถ้ามีคำอื่นมาสมาสท้าย อ่านว่า ยา-นะ- หรือ ยาน-นะ- เช่น ญาณสังวร (ยา-นะ-สัง-วอน, ญาน-นะ-สัง-วอน)

– ถ้าอยู่เดี่ยวหรือเป็นส่วนท้ายของสมาส อ่านว่า ยาน เช่น วชิรญาณ (วะ-ชิ-ระ-ยาน)

(๒) “เวศก

บาลีเป็น “เวสก” (เว-สะ-กะ) รากศัพท์มาจาก เวส + ปัจจัย

เวส” (เว-สะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) วิสฺ (ธาตุ = ชอบใจ) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ วิ-(สฺ) เป็น เอ (วิส > เวส)

: วิสฺ + = วิสณ > วิส > เวส แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่น่าชอบใจ

(2) วิสิ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ วิ-(สิ) เป็น เอ (วิสิ > เวสิ), ลบสระที่สุดธาตุ (วิสิ > วิส)

: วิสิ + = วิสิณ > วิสิ > วิส > เวส แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่เบียดเบียน” (คือทำให้อึดอัด)

เวส” (ปุงลิงค์) ในบาลีหมายถึง การแต่งตัว, เครื่องแต่งตัว, เสื้อผ้า; บุคลิก; การปลอมตัว, รูปร่างที่ปลอมขึ้น (dress, apparel; individuality; disguise, assumed appearance)

เวส” สันสกฤตเป็น “เวศ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

เวศ : (คำนาม) เครื่องแต่งตัว; เครื่องแต่งเพื่อปลอมแปลงตัว; สำนักของหญิงแพศยา; บ้าน, เรือน; การเข้าสู่; dress; disguise; a dress intended to conceal the wearer; the abode of harlots; a house; entrance, entering.”

เวส + = เวสก ในที่นี้ใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “เวศก” และใช้ในความหมายตามสันสกฤต คือหมายถึง “(สถานที่) อันมีเรือน” และ “ผู้เข้าไปสู่-

ข้อสังเกต:

ในบาลี ถ้าหมายถึง “เรือน, ที่อยู่” นิยมใช้เป็น “นิเวสน” (นิ + เวสน) ถ้าหมายถึง “เข้าไป” นิยมใช้เป็น “ปเวส” (ป + เวส)

(๓) “วัน

บาลีเป็น “วน” (วะ-นะ) รากศัพท์มาจาก วนฺ (ธาตุ = เสพ, คบหา, ส่งเสียง) + ปัจจัย

: วนฺ + = วน (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “ที่เป็นที่เสพสุขแห่งเหล่าสัตว์” (2) “ที่เป็นที่ส่งเสียงแห่งเหล่าสัตว์” (3) “ที่อันผู้ต้องการวิเวกเสพอาศัย

วน” นักเรียนบาลีนิยมแปลกันว่า “ป่า

คำว่า “ป่า” ในภาษาไทยมักรู้สึกกันว่าเป็นสถานที่รกทึบ มีอันตรายจากสัตว์ป่า และเป็นสถานที่น่ากลัว

คำว่า “วน” ในภาษาบาลีมีความหมายดังนี้ :

(1) สถานที่อันน่ารื่นรมย์และเป็นที่เล่นกีฬา (as a place of pleasure & sport) : wood = ป่าไม้

(2) สถานที่มีอันตรายและน่าสะพรึงกลัว (as well as of danger & frightfulness) : jungle = ไพรสณฑ์

(3) สถานที่อาศัยของนักบวช มีชื่อเสียงในทางวิเวก (as resort of ascetics, noted for its loneliness) : forest = ป่าดงพงไพร

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “วน” ในสันสกฤตไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

วน : (คำนาม) อรัณย์, ป่า; น้ำ; ที่อยู่, ที่อาศรัย, บ้าน, เรือน; น้ำตก; a forest, a wood, a grove; water; a residence, a dwelling or abode, a house; a cascade or waterfall.”

การประสมคำ :

1) ญาณ + เวศก = ญาณเวศก แปลว่า (1) “—อันมีเรือนแห่งความรู้” (2) “ผู้เข้าไปสู่ญาณ

2) ญาณเวศก + วัน = ญาณเวศกวัน แปลว่า –

(1) “สวนป่าอันมีเรือนแห่งความรู้” หมายความว่า สถานที่แห่งนี้เป็นที่พักอาศัยของผู้มีความรู้ ใครต้องการความรู้ก็สามารถเข้าไปศึกษาสอบถามหาความรู้ได้

(2) “สวนป่าของผู้เข้าไปสู่ญาณ” หมายความว่า สถานที่แห่งนี้เป็นที่อยู่ของผู้ต้องการศึกษาและปฏิบัติธรรมเพื่อให้เกิดญาณคือการรู้แจ้งแทงตลอดบรรลุถึงความพ้นทุกข์

…………..

ญาณเวศกวัน” เป็นชื่อวัดแห่งหนึ่ง อยู่ใกล้กับพุทธมณฑล สร้างขึ้นตามแนวคิดของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ด้วยความตั้งใจที่จะให้อารามแห่งนี้เป็นป่าที่เหมาะแก่การเข้ามาแสวงหาความรู้ เจริญธรรม เจริญปัญญา สมดังชื่อ “ญาณเวศกวัน” อันมี ความหมายว่า “ป่าที่มีเรือนแห่งความรู้” หรือ “ป่าของผู้เข้าสู่ญาณ” พื้นที่ส่วนใหญ่ของวัดจึงมีไว้สำหรับต้นไม้มากกว่าสิ่งปลูกสร้าง เพราะธรรมชาติที่อยู่รายล้อมรอบตัวคือแหล่งการศึกษาเรียนรู้อันกว้างใหญ่ ล้ำลึก เป็นธรรมะใกล้ตัวที่ผู้มีปัญญาจะพึงค้นพบ

(ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ทำวัดให้เป็นอารามแห่งการศึกษาเรียนรู้พระธรรมวินัย

: คือการทำพระพุทธศาสนาในเมืองไทยให้เจริญมั่นคง

18-12-59