บาลีวันละคำ

ศิลาฤกษ์ (บาลีวันละคำ 1,659)

ศิลาฤกษ์

อ่านว่า สิ-ลา-เริก

ประกอบด้วย ศิลา + ฤกษ์

(๑) “ศิลา

เป็นรูปคำสันสกฤต บาลีเป็น “สิลา” (บาลี เสือ, สันสกฤต ศาลา) รากศัพท์มาจาก –

(1) สิลฺ (ธาตุ = สูง) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตฺถีลิงค์

: สิลฺ + = สิล + อา = สิลา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่อยู่สูง” (หมายถึงหินที่ก่อตัวเป็นภูเขา)

(2) สิ (ธาตุ = เสพ) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตฺถีลิงค์

: สิ + = สิล + อา = สิลา แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งอันสัตวโลกใช้สอย” (2) “สิ่งอันผู้มีความสามารถใช้สอย

ภาษาไทยนิยมใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “ศิลา” แปลว่า หิน

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สิลา” ว่า

(1) a stone, rock (ศิลา, หิน)

(2) a precious stone, quartz (หินมีค่า, หินควอตซ์)

ศิลา < สิลา ในบาลียังมีอีกรูปหนึ่งเป็น “เสล” (เส-ละ)

เสล” รากศัพท์มาจาก สิล (หิน) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ สิ-(ล) เป็น เอ (สิ > เส)

: สิล + = สิลณ > สิล > เสล (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “กองหิน” “ภูมิภาคที่มีหินอยู่มาก

เสล” สันสกฤตเป็น “ไศล” อ่านว่า ไส-ละ แต่ในภาษาไทยอ่านผิดจนกลายเป็นถูกว่า สะ-ไหล

สรุปว่า สิลา ศิลา เสล ไศล = หิน มาจากรากเดียวกัน

(๒) “ฤกษ์

เป็นรูปคำสันสกฤต สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ฤกฺษ : (คำคุณศัพท์) อันแทงแล้ว, ตัดแล้วหรือแบ่งแล้ว; pierced, cut or divided;- (คำนาม) ดาว, นักษัตร; ภูเขาในทวีปกัลป, ที่ประทับชั่วคราวของพระราม; หมี; a star, a constellation; a mountain in the peninsula, the temporary residence of Rāma; a bear.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ฤกษ์ ๑ : (คำนาม) คราวหรือเวลาที่กําหนดหรือคาดว่าจะให้ผล เช่น ฤกษ์ดี ฤกษ์ร้าย, มักนิยมใช้ในทางดี เช่นหาฤกษ์แต่งงาน หาฤกษ์ยกเสาเอก. (ส.).”

ตามรูปศัพท์ “ฤกษ์” ตรงกับบาลีว่า “อิกฺก” (อิก-กะ)

อิกฺก” รากศัพท์มาจาก อิจฺ (ธาตุ = ส่งเสียง) + ปัจจัย, แปลง ที่ (อิ)-จฺ เป็น (อิจ > อิก), ซ้อน

: อิจฺ + = อิจ > อิก + = อิกฺก (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์ที่ชอบส่งเสียง

อิกฺก” ในบาลีแปลว่า หมี (a bear) ซึ่งตรงกับคำแปลในสันสกฤต แต่ยังไม่พบว่ามีใช้ในความหมายเกี่ยวกับดวงดาว

สรุปว่า “ฤกษ์” ในสันสกฤตตรงกับ “อิกฺก” ในบาลี แต่เราใช้ตามความหมายในสันสกฤต คือ ดาว, นักษัตร แล้วกลายความหมายเป็น-“คราวหรือเวลาที่กําหนดหรือคาดว่าจะให้ผล”

ศิลา + ฤกษ์ + ศิลาฤกษ์ เป็นคำผสมหรือสมาสแบบไทย แปลจากหน้าไปหลัง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

ศิลาฤกษ์ : (คำนาม) แผ่นหินที่จารึกดวงชะตาของสถานที่ที่จะก่อสร้างแล้ววางตามฤกษ์.”

…………..

เมื่อจะปลูกสร้างบ้านเรือน ธรรมเนียมไทยมีพิธีที่เรียกกันว่า “ยกเสาเอก” คือกำหนดเวลาที่ถือว่าเป็นฤกษ์ดียกเสาต้นแรกลงหลุม แล้วจึงดำเนินการก่อสร้างส่วนอื่นๆ ต่อไป

เข้าใจว่าการวางศิลาฤกษ์ก็คงดัดแปลงมาจากพิธียกเสาเอกนั่นเอง เพราะเมื่อนิยมสร้างบ้านเรือนเป็นตึกไม่มีเสาไม้ แต่ใช้วิธีก่ออิฐหรือผสมคอนกรีต จึงถือเอาการวางอิฐหรือหินก้อนแรกเป็นการลงมือปลูกสร้าง แล้วค่อยพัฒนาขึ้นโดยทำหินเป็นแผ่น จารึกดวงชะตาของสถานที่ที่จะก่อสร้างแล้ววางตามฤกษ์ ดังที่พจนานุกรมบอกไว้

พิธียกเสาเอกหรือวางศิลาฤกษ์เป็นธรรมเนียมที่เกิดขึ้นตามความเชื่อของมนุษย์ที่ต้องการสิ่งที่ดีที่ประเสริฐ แล้วกระทำตามลัทธิพิธีที่เชื่อว่าจะอำนวยผลให้ได้ตามปรารถนา ทั้งนี้ย่อมเป็นไปตามปกติวิสัยสามัญ

…………..

: พิธีวางศิลาฤกษ์เป็นเรื่องดี

: แต่การทำความดีไม่ต้องรอพิธีวางศิลาฤกษ์

19-12-59