บาลีวันละคำ

สัมพัจฉรสนธิ์สาธยาย (บาลีวันละคำ 1,671)

สัมพัจฉรสนธิ์สาธยาย

มีผู้ถามว่า “สวดมนต์ข้ามปี” คำบาลีว่าอย่างไร

ผู้เขียนบาลีวันละคำตอบเล่นๆ ว่า “สัมพัจฉรสนธิสาธยาย

ขอนำมาอธิบายเล่นๆ ดังนี้ –

สัมพัจฉรสนธิสาธยาย” แยกศัพท์เป็น สัมพัจฉร + สนธิ + สาธยาย

(๑) “สัมพัจฉร

บาลีเป็น “สํวจฺฉร” (สัง-วัด-ฉะ-ระ) รากศัพท์มาจาก –

1) สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, รวมกัน, ดี) + วสฺ (ธาตุ = อยู่) + ฉร ปัจจัย, แปลง ที่ (ว)-สฺ เป็น จฺ (วสฺ > วจ)

: สํ + วสฺ = สํวสฺ + ฉร = สํวสฉร > สํวจฺฉร แปลตามศัพท์ว่า “กาลเป็นที่อาศัยอยู่

2) สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, รวมกัน, ดี) + (แทนศัพท์ “วิย” = เหมือน) + สรฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง ที่ -(รฺ) เป็น ฉฺ (สรฺ > ฉร), ซ้อน จฺ

: สํ + + สรฺ = สํวสรฺ + = สํวสร > สํวจฺฉร แปลตามศัพท์ว่า “กาลที่เป็นไปเหมือนว่าอาศัยความสืบเนื่องและความเป็นไปแห่งธรรมดานั้นๆ

สํวจฺฉร” (ปุงลิงค์; นปุงสกลิงค์) หมายถึง ปี (a year)

สํวจฺฉร” ในภาษาไทย แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น มฺ, แผลง เป็น จึงเป็น “สัมพัจฉร

(๒) “สนธิ” บาลีเขียน “สนฺธิ” (มีจุดใต้ ) อ่านว่า สัน-ทิ รากศัพท์มาจาก สํ + ธา

สํ” (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, รวมกัน, ดี) + ธา (ธาตุ = ทรงไว้) + อิ ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น นฺ (สํ > สนฺ), “ลบสระหน้า” คือลบ อา ที่ ธา (ธา > )

: สํ > สนฺ + ธา = สนฺธา > สนฺธ + อิ = สนฺธิ แปลตามศัพท์ว่า “กิริยาอันเขาทรงไว้ร่วมกัน” > “กิริยาอันเขาเชื่อมต่อ

สนฺธิ” (อิตถีลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายว่า –

(1) การรวมกัน, การต่อกันเข้า (union, junction)

(2) รอยแยก, รอยแตก, ช่องโหว่, ช่องว่าง (breach, break, hole, chasm)

(3) ข้อต่อ, ชิ้น, เครื่องเกี่ยวโยง (joint, piece, link)

(4) การต่อเนื่องกัน, การรวมกัน (connection, combination

(5) การต่อที่ทำให้เสียงดีขึ้น, “สนฺธิ” (euphonic junction, euphony, “sandhi”)

(6) การลงรอยหรือตกลงกัน (agreement)

ในภาษาไทย เมื่อพูดว่า “สนธิ” มักนึกถึงในความหมายที่ว่า-เอาศัพท์ตั้งแต่ 2 ศัพท์ขึ้นไปมาเชื่อมกัน ดังที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สนธิ : (คำนาม) ที่ต่อ, การติดต่อ; การเปลี่ยนแปลงเสียงซึ่งเกิดจากการเชื่อมเสียง ๒ เสียง ที่อยู่ชิดกันให้กลมกลืนกัน ในภาษาบาลีและสันสกฤตมีพยัญชนะสนธิ เช่น ทุส + ชน เป็น ทุรชน สระสนธิ เช่น พจน + อนุกรม เป็น พจนานุกรม และนิคหิตฺสนธิ เช่น เอวํ + เม เป็น เอวมฺเม ในภาษาอื่น ๆ ที่มีวรรณยุกต์เช่นภาษาจีนมีวรรณยุกต์สนธิ เช่น เกี๊ยม + ฉ่าย เป็น เกี่ยมฉ่าย. (ป., ส.).”

(๓) “สาธยาย

บาลีเป็น “สชฺฌาย” (สัด-ชา-ยะ) รากศัพท์มาจาก (มี, พร้อม, ของตน) + อธิ (ยิ่ง, ใหญ่, ทับ) อิ (ธาตุ = สวด, ศึกษา) + ปัจจัย, แปลง อธิ เป็น อชฺฌ, แปลง อิ เป็น , ทีฆะ (ยืดเสียง) (อะ) ที่ – เป็น อา

: + อธิ > อชฺฌ = สชฺฌ + อิ > = สชฺฌย > สชฺฌาย แปลตามศัพท์ว่า “การสวดพร้อมหมดอย่างยิ่ง” “การศึกษาอย่างยิ่ง (ซึ่งมนตร์) ของตน

สชฺฌาย” หมายถึง การสาธยาย, การสวด, การท่อง (repetition, rehearsal study)

สชฺฌาย” สันสกฤตเป็น “สฺวาธฺยาย

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

สฺวาธฺยาย : (คำนาม) การอัธยายมนตร์เงียบๆ หรือสังวัธยายมนตร์ในใจ; เวทหรือพระเวท; การอัธยายหรือศึกษาพระเวท; inaudible reading or muttering of prayers; the Vedas or scripture; perusal or study of the Vedas.”

สชฺฌาย” ในภาษาไทยใช้อิงรูปสันสกฤตเป็น “สาธยาย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สาธยาย : (คำนาม) การท่อง, การสวด, การทบทวน, เช่น สาธยายมนต์, (ภาษาปาก) การชี้แจงแสดงเรื่อง เช่น สาธยายอยู่นั่นแหละ ไม่รู้จักจบเสียที. (ส. สฺวาธฺยาย; ป. สชฺฌาย).”

การประสมคำ :

สัมพัจฉร + สนธิ = สัมพัจฉรสนธิ ในที่นี้เจตนาเขียน “สัมพัจฉรสนธิ์” (การันต์ที่ –ธิ) เพื่อให้อ่านว่า สำ-พัด-ฉะ-ระ-สน แปลว่า “ต่อปี” คือปีเก่าต่อกับปีใหม่

สัมพัจฉรสนธิ์” คิดขึ้นเลียนคำเก่าว่า “สัมพัจฉรฉินท์” (สำ-พัด-ฉะ-ระ-ฉิน) ซึ่งแปลว่า “ตัดปี” คือสิ้นปี

สัมพัจฉรสนธิ์ + สาธยาย = สัมพัจฉรสนธิ์สาธยาย (สำ-พัด-ฉะ-ระ-สน-สา-ทะ-ยาย) แปลตามศัพท์ว่า “การสวดมนต์เชื่อมต่อปี” หมายถึงสวดในวันสุดท้ายของปีเก่าติดต่อกันไปถึงวันแรกของปีใหม่ ตรงกับคำที่พูดกันว่า “สวดมนต์ข้ามปี

บอกกล่าว :

สัมพัจฉรสนธิ์สาธยาย” เขียนมีการันต์กลางสมาส (-สนธิ์-) อย่างนี้ผิดหลักภาษา แต่ถ้าไม่ใส่การันต์ ก็จะต้องมีคนอ่านว่า สำ-พัด-ฉะ-ระ-สน-ทิ-สา-ทะ-ยาย ผิดเจตนาอีก เพราะจะทำให้ยาวไปอีกพยางค์หนึ่ง

เขียนผิดเพื่อให้อ่านถูกเจตนาน่าจะดีกว่า และหวังว่าจะไม่เกิดปัญหายืดเยื้อ เพราะคงไม่มีใครเอาไปใช้ เนื่องจากเป็นคำที่ยาว เยิ่นเย้อ ยืดยาด ไม่เหมาะที่จะพูดกันติดปาก

นำมาเขียนสู่กันอ่านในที่นี้พอสนุกๆ แล้วก็ขอให้ลืมกันไปพร้อมกับความทุกข์ทั้งปวงในปีเก่านี้ เทอญ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: สวดมนต์ข้ามปี เป็นกิจกรรมที่ดี

: แต่สวดมนต์ทั้งปี ดีกว่าสวดวันเดียว

31-12-59