บาลีวันละคำ

มารยาสาไถย (บาลีวันละคำ 1,683)

มารยาสาไถย

อ่านว่า มาน-ยา-สา-ไถ

ประกอบด้วย มารยา + สาไถย

(๑) “มารยา” เป็นคำที่แผลงมาจาก “มายา

มายา” ในภาษาบาลีมีรากศัพท์มาจาก –

(1) มย (อสูร) + ปัจจัย, ลบ , ยืดเสียง อะ ที่ -(ย) เป็น อา (มย > มาย) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: มย + = มยณ > มย > มาย + อา = มายา แปลตามศัพท์ว่า “กลลวงของอสูร (ที่ใช้เพื่อลวงเทวดา)

ความหมายนี้สืบเนื่องมาจากตำนาน “เทวาสุรสงคราม” (การรบระหว่างเทวดากับอสูร) ซึ่งพวกอสูรใช้เล่ห์กลต่างๆ เพื่อจะเอาชนะเทวดา

เผ่าพวกอสูร มีคำเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มย” (มะ-ยะ) กลลวงของอสูรจึงมีชื่อเรียกว่า “มายา

(2) มา (ธาตุ = กะ, ประมาณ) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: มา + = มาย + อา = มายา แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่เทียบความดีของตนกับความดีเยี่ยมอื่น” หมายความว่า เอาความดีของตนซึ่งมีเล็กน้อยหรือไม่มีเลยไปแสดงอาการให้เข้าใจว่ามีความดีมาก = ลวงเขาให้เข้าใจผิด

มายา” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ :

(1) รูปลวง, การล่อลวง, การหลอกลวง, การโกง, การหน้าไหว้หลังหลอก (deceptive appearance, fraud, deceit, hypocrisy)

(2) สูตรลึกลับ, กลวิเศษ, มายา, เล่ห์กระเท่ห์ (mystic formula, magic, trick)

(3) การตบตา, การเล่นกล (jugglery, conjuring)

มายา” ในภาษาไทยแผลงเป็น “มารยา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มารยา : (คำนาม) การลวง, การแสร้งทํา, เล่ห์กล, เช่น เจ้ามารยา มารยามาก ทำมารยา. (แผลงมาจากมายา).”

(๒) “สาไถย

บาลีเป็น “สาเฐยฺย” (สา-เถ็ย-ยะ) รากศัพท์มาจาก สฐ + ณฺย ปัจจัย

1) “สฐ” (สะถะ) รากศัพท์มาจาก สฐฺ (ธาตุ = โกง, ลวง) + ปัจจัย

: สฐฺ + = สฐ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้คดโกง” หมายถึง มีเล่ห์เหลี่ยม, คดโกง, ฉ้อฉล (crafty, treacherous, fraudulent)

2) สฐ + ณฺย ปัจจัย มีขั้นตอนการแปลงรูปดังนี้ :

สฐ + ณฺย = สฐณฺย

– ลบ = สฐณฺย > สฐย

– ทีฆะ อะ ที่ -(ฐ) เป็น อาด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” = สฐย > สาฐย

– ซ้อน ยฺ = สาฐย > สาฐยฺย

– แปลง –ยฺย (อยฺย) เป็น เอยฺย = สาฐยฺย > สาเฐยฺย

สาเฐยฺย” (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะแห่งผู้คดโกง” หมายถึง ความคดโกง, ความคิดคดทรยศ (craft, treachery)

สาเฐยฺย” บางแห่งสะกดเป็น “สาเถยฺย” ในภาษาไทยใช้เป็น “สาไถย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สาไถย : (คำนาม) การแสร้งทําให้เขาหลงผิดเข้าใจผิด, มักใช้เข้าคู่กับคำ มารยา เป็น มารยาสาไถย. (ป. สาเฐยฺย; ส. ศาฐฺย).”

มายา + สาเฐยฺย = มายาสาเฐยฺย > มารยาสาไถย แปลตามศัพท์ว่า “ความหลอกลวงและความคดโกง

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มารยาสาไถย : (คำนาม) การทำให้เขาหลงผิดหรือเข้าใจผิด เช่น เขาทำมารยาสาไถย.”

ในทางธรรม “มายา” (มารยา) และ “สาเถยฺย” (สาไถย) เป็นมละ (มลทิน) สองข้อในมละ 9 และเป็นอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมองจิต) สองข้อในอุปกิเลส 16

ในภาษาไทย “มารยาสาไถย” มักใช้เป็นลักษณะการแสดงออกของสตรีเพศ แต่ในทางธรรม “มายา” และ “สาเถยฺย” เป็นกิเลสที่เกิดแก่มนุษย์ทั่วไปไม่เลือกเพศ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าอยากรู้ว่าถูกหลอกลวงเป็นอย่างไร

: ก็จงลองหลอกใจตัวเองดู

12-1-60