บาลีวันละคำ

ทรัพย์ (บาลีวันละคำ 929)

ทรัพย์

คำนี้มาจากสันสกฤตว่า “ทฺรวฺย” แปลง เป็น และการันต์ที่

ออกเสียงอย่างไร อาจเทียบกับที่สะกดด้วยอักษรโรมันว่า dravya

จะเห็นได้ว่าไม่มีรูปคำที่จะออกเสียงเป็น ซ หรือ ส อยู่ในอักษรโรมันที่สะกด

ทฺร ในบาลี (เช่น อินฺทฺริย) และสันสกฤต เวลาออกเสียงจริงอาจฟังใกล้เคียงกับ ซ ในภาษาไทยกระมัง

(ผู้เขียนบาลีวันละคำไม่มีความรู้ทางสันสกฤต ขอท่านที่รู้กรุณาบอกคำอ่าน ทฺรวฺย ในสันสกฤตเป็นวิทยาทานให้ด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง)

แต่ในภาษาไทย “ทรัพย์” อ่านว่า ซับ ตามหลักที่ว่า “ทร” ควบออกเสียงเท่ากับ ซ ในคำบางคำ เช่น ทรง ทรวง ทรวดทรง ทราบ ทราม ทราย ทรุดโทรม อินทรี อินทรีย์ เป็นต้น

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “ทฺรวฺย” ไว้ดังนี้ (คำไทยสะกดตามต้นฉบับ) –

(1) (คำนาม) ‘ทรัพย์,’ สมบัติ, พัสดุ, สิ่งของ; มูลธาตุ, อันท่านพึงนับว่ามีอยู่เก้าอย่าง, คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม, อากาศ, เวลา, ทิคัมพร, อาตมัน, พุทธิหรือโพธ; ทองเหลือง; เดิมภัณฑ์; เภสัช, ยา; การฉาทาบหรือเจิมจุรณ์; ครั่ง; สรรชรส, ยางไม้; สุรา, เหล้า; ความสุภาพเรียบร้อยหรืออหังการ; wealth, property, substance, thing; elementary substance, nine kinds of which are reckoned, viz. earth, water, fire, air, ether, time, space, soul and intellect; brass; a stake or wager; a drug or medicament; anointing or plastering; lac, the animal dye; gum, resin; spirituous liquor; modesty or propriety;

(2) (คำคุณศัพท์) เหมาะ, งาม, ควร, สม, ชอบ; อันเนื่องจากหรือเป็นสัมพันธินแก่ต้นพฤกษ์; fit, proper, becoming, suitable, right; derived from or relating to a tree.

ทรัพย์ < ทฺรวฺย ตรงกับบาลีว่า “ทพฺพ” (ทับ-พะ)

ในบาลี ทพฺพ มีคำแปลดังนี้ –

(1) (คำนาม) วัสดุ, สิ่งของ, สมบัติ; ของที่มีแก่นสาร, สิ่งที่มีคุณค่า (material, substance, property; something substantial, a worthy object)

(2) (คำนาม) ต้นไม้, พุ่มไม้, ไม้ (a tree, shrub, wood)

(3) (คำคุณศัพท์) เหมือนต้นไม้, ทำด้วยไม้ (tree-like, wooden)

(4) (คำคุณศัพท์) เหมาะสำหรับ, สามารถ, ทรงคุณค่า, ดี (fit for, able, worthy, good)

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปลคำว่า “ทรัพย์” เป็นอังกฤษว่า –

(1) riches, wealth, assets = ทรัพย์สิน

(2) property = ทรัพย์สมบัติ

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปลคำอังกฤษข้างต้นเป็นบาลีดังนี้ –

(1) riches  : dhana ธน (ทะ-นะ) =ทรัพย์สินเงินทอง

(2) wealth : dhana ธน

(3) assets : vibhava วิภว (วิ-พะ-วะ) = ความมั่งคั่ง, ทรัพย์สมบัติ

(4) property :

– dhana ธน

– santakavatthu สนฺตกวตฺถุ (สัน-ตะ-กะ-วัด-ถุ) = สิ่งของที่มีอยู่และเป็นของตน

– guṇavisesa คุณวิเสส (คุ-นะ-วิ-เส-สะ) = คุณสมบัติพิเศษ (เช่นความรู้ ความสามารถ ความมีทรัพย์ ยศ ตำแหน่ง หรือคุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง)

โปรดสังเกตว่า พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี ไม่ได้แปล riches, wealth, assets, property เป็นบาลีว่า “ทพฺพ” ซึ่งสันสกฤตเป็น “ทฺรวฺย” และมาเป็นภาษาไทยว่า “ทรัพย์

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ธน” เป็นอังกฤษว่า wealth, money, riches, treasures (ความสมบูรณ์, เงินทอง, ความร่ำรวย, สมบัติ) ซึ่งก็เป็นคำแปลในทำนองเดียวกับ “ทพฺพ” นั่นเอง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ทรัพย-, ทรัพย์ : (คำนาม) เงินตรา เช่น ไม่มีทรัพย์ติดตัว, สมบัติพัสถาน เช่น เขาเป็นคนมีทรัพย์; (คำที่ใช้ในกฎหมาย) วัตถุมีรูปร่าง; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ถือว่ามีค่า อาจไม่มีรูปร่างก็ได้ เช่น มีปัญญาเป็นทรัพย์ อริยทรัพย์. (ส. ทฺรวฺย).”

: เรารักเขามากที่สุด แต่เมื่อเราตาย เขาไปอยู่กับคนอื่น

: เราไม่ค่อยรักเขาเลย แต่เมื่อเราตาย เขาไปกับเราด้วย

อะไรเอ่ย ?

#บาลีวันละคำ (929)

3-12-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *