บาลีวันละคำ

อสังหาฯ (บาลีวันละคำ 930)

อสังหาฯ

บาลีที่ถูกตัดคำตามสะดวกปาก

เรามักได้ยินคำพูดว่า “อสังหาฯ” เมื่อกล่าวถึงการทำงานบางอย่าง เช่น “ธุรกิจอสังหาฯ

บางทีผู้พูดอาจพูดเพลินไปโดยที่ไม่ได้นึกว่า “อสังหาฯ” แปลว่าอะไร และทำไมจึงต้องมีเครื่องหมายไปยาลน้อย หรือบางทีอาจจะมีคนเขียนเป็น “อสังหา” ไม่มีเครื่องหมายไปยาลน้อยเสียเลยก็ได้

อสังหาฯ” ตัดมาจากคำเต็มว่า “อสังหาริมทรัพย์” (อะ-สัง-หา-ริ (-ริม-)-มะ-ซับ)

ประกอบด้วยคำว่า อสังหาริม + ทรัพย์

(๑) อสังหาริม

บาลีเขียน “อสํหาริม” อ่านว่า อะ-สัง-หา-ริ-มะ

อสํหาริม รากศัพท์มาจาก : (ไม่, ไม่ใช่) แปลง เป็น + สํ (พร้อมกัน, ร่วมกัน) + หรฺ (ธาตุ = นำไป) + ปัจจัย, ลบ , (อำนาจของ ณ ปัจจัยทำให้ยืดเสียง (ทีฆะ) ต้นธาตุ เป็น อา : หรฺ > หาร) + อิม ปัจจัย

: > + สํ = อสํ + หรฺ = อสํหร + = อสํหร > อสํหาร + อิม = อสํหาริม

อสํหาริม” เป็นคุณศัพท์ แปลตามศัพท์ว่า “-อันนำไปพร้อมกันไม่ได้” หมายถึง สิ่งที่โดยสามัญวิสัยแล้วไม่เคลื่อนที่ไปไหน คือไม่ใช่ของที่ควรจะหยิบยกพกพาขับเคลื่อนเขยื้อนย้ายออกไปจากที่เดิม (แต่ไม่เพ่งเล็งไปถึงว่าสามารถทำให้เคลื่อนไปจากที่เดิมด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งได้หรือไม่) กล่าวคือ สิ่งเคลื่อนที่ไม่ได้ หรือนำไปไม่ได้ (immovable)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “อสังหาริม” ไว้ว่า “ซึ่งนําเอาไปไม่ได้, เคลื่อนที่ไม่ได้

คำที่เป็นคู่กับ อสํหาริม ก็คือ “สํหาริม” ภาษาไทยเขียน “สังหาริม” แปลว่า “เคลื่อนที่ได้” (movable)

(๒) ทรัพย์

มาจากรูปคำสันสกฤต “ทฺรวฺย” บาลีเป็น “ทพฺพ” (ทับ-พะ) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นไป” คือของธรรมดาที่มีทั่วไป หมายถึง สิ่งของต่างๆ

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ “ทรัพย์” บาลีวันละคำ (929) 3-12-57)

ทพฺพ > ทฺรวฺย > ทรัพย์ ในภาษาไทย พจน.54 บอกความหมายไว้ว่า –

ทรัพย-, ทรัพย์ : (คำนาม) เงินตรา เช่น ไม่มีทรัพย์ติดตัว, สมบัติพัสถาน เช่น เขาเป็นคนมีทรัพย์; (คำที่ใช้ในกฎหมาย) วัตถุมีรูปร่าง; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ถือว่ามีค่า อาจไม่มีรูปร่างก็ได้ เช่น มีปัญญาเป็นทรัพย์ อริยทรัพย์. (ส. ทฺรวฺย).”

อสังหาริม + ทรัพย์ = อสังหาริมทรัพย์ คู่กับ สังหาริมทรัพย์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) อสังหาริมทรัพย์ : ทรัพย์ที่นําไปไม่ได้ คือ ทรัพย์ที่ติดกับที่ เช่น ที่ดิน; (คำที่ใช้ในกฎหมาย) ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย, คู่กับ สังหาริมทรัพย์.

(2) สังหาริมทรัพย์ : ทรัพย์ที่นําไปได้ เช่น แหวน สร้อย โต๊ะ เก้าอี้, คู่กับ อสังหาริมทรัพย์; (คำที่ใช้ในกฎหมาย) ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ และรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย.

อสังหาริม” และ “สังหาริม” ถ้าไม่สมาสกับคำอื่นต้องประวิสรรชนีย์ อ่านว่า -ริ-มะ ไม่ใช่ -ริม (ริมถนน ริมทาง) เช่น “ทรัพย์อันเป็นอสังหาริมะ

อสังหาฯ” แม้จะเป็นคำที่พูดตัดตามสะดวกปาก แต่ก็ควรยึดหลักไว้บ้าง คือมีไปยาลน้อย เพื่อเตือนให้รู้ว่าตัดมาจากคำเต็ม จะเป็นทางสืบหารากเดิมได้ มิเช่นนั้นนานไปอาจมีผู้เข้าใจเพี้ยนไปว่าคำเต็มก็คือ “อสังหา” แค่นี้

คำ : ถ้าไม่สืบหารากเดิม ก็มักเพี้ยน

คน : ถ้าลืมรากเหง้าของตัวเอง ก็มักพัง

#บาลีวันละคำ (930)

4-12-57

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *