บาลีวันละคำ

ธรรมนูญ (บาลีวันละคำ 936)

ธรรมนูญ

มาจากคำอะไร ?

วันนี้เมื่อปีที่แล้ว ผู้เขียนบาลีวันละคำได้เขียนไว้ในคำว่า “รัฐธรรมนูญ” (บาลีวันละคำ (573) 10-12-56) ว่า –

…….

ธรรมนูญ” น่าจะมาจากคำว่า ธรรม (ทำ-มะ) + มนูญ (มะ-นูน)

ธรรม” (บาลี – ธมฺม) หมายถึง ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, กฎ, กฎเกณฑ์, กฎหมาย (ดูรายละเอียดที่ “ธมฺม” บาลีวันละคำ (115) 31-8-55)

มนูญ” น่าจะมาจากคำว่า “มนู” (มะ-นู) พจน.42 บอกความหมายของ “มนู” ไว้ว่า –

“ชื่อพระผู้สร้างมนุษยชาติและปกครองโลก มี 14 องค์ เรียงกันเป็นยุค ๆ ไป, ยุคหนึ่งเรียกว่า มนวันดร นานกว่า 4,000,000 ปี องค์แรก คือ พระสวายมภูวะ พระมนูองค์นี้ถือกันว่าเป็นผู้ทรงออกกฎหมายหรือธรรมศาสตร์ซึ่งยังมีอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้เรียกว่า มนุสัมหิตา หรือ มนุสมฺฤติ, เพราะฉะนั้น คํา มนู จึงหมายถึงกฎหมายก็ได้”

ธรรม + มนู = ธรรมมนู แปลได้ 2 นัย คือ –

1 “กฎของพระมนู” > ธรรม = กฎ, มนู = พระมนู

2 “กฎหมายอันยุติธรรม” > ธรรม = ยุติธรรม, มนู = กฎหมาย

สันนิษฐานการกลายรูปและเสียง

1 มนู กลายเสียงเป็น มะ-นูน น่าจะเกิดจากการเติม -ช (แปลว่า เกิด) เข้าข้างท้าย

: มนุ + บาลีเป็น “มนุช” (แปลว่า “เกิดจากพระมนู”) สันสกฤตเป็น “มนุชฺญ” ออกเสียง มะ-นุด-เชียะ > มะ-นุด > มะ-นุน > มะ-นูน ตามสะดวกปาก ส่วนรูปก็เป็น มนุชฺญ > มนุญ > มนูญ ตามเสียง

2 ธรรม + มนูญ = ธรรมมนูญ อ่านตามหลักว่า ทำ-มะ-มะ-นูน (เสียง -มะ- ติดกันสองพยางค์) อ่านแบบไม่เอื้อหลัก หรืออ่านตามสะดวกปากว่า ทำ-มะ-นูน (เสียง –มะ– เหลือพยางค์เดียว)

3 เมื่ออ่าน ทำ-มะ-นูน จึงเขียนเป็น “ธรรมนูญ” (เหลือ ม้า ตัวเดียว) ตามเสียงอ่าน

(จบข้อความจาก บาลีวันละคำ)

……..

เมื่อโพสต์คำว่า “รัฐธรรมนูญ” ออกไปแล้ว ญาติมิตรท่านหนึ่งได้กรุณาแสดงความเห็นมาว่า –

………

ในปาลี-สยามอภิธาน เทียบ มนุญฺญ ในบาลี ตรงกับ มโนชฺญ ในสันสกฤต

มนุญฺญ ในบาลี ไทยคงนำมาใช้ว่า มนูญ, ส่วน มโนชฺญ นำมาใช้ว่า มาโนชญ์ แปลอย่างเดียวกันว่า งาม, ดีนัก, เป็นที่ชอบใจ

………

ผู้เขียนบาลีวันละคำได้แสดงความเห็นตอบไปว่า –

………

มีคำที่น่าจะเป็นแนวเทียบได้อีกคำหนึ่ง คือ “ธรรมนิติ” อยู่ในชุดของ โลกนิติ (หลักทางโลก) ธรรมนิติ (หลักทางธรรม) ราชนิติ (หลักนักปกครอง)

นิติ ในชื่อพวกนี้ท่านว่าให้ออกเสียงว่า นิด ไม่ใช่ นิ-ติ

นิติ” บาลีเป็น “นีติ” น สระ อี ไม่ใช่สระ อิ

ธรรมนิติ หรือ ธรรมนีติ ก็คือ ธรรม + นิติ อ่านว่า ทำ-มะ-นิด เทียบกับ ธรรมนูญ -ทำ-มะ-นูน

ธรรม ก็คือ “ธรรม” ตรงกัน

นิติ เทียบกับ (ม) นูญ

นิติ” หมายถึง หลัก หรือกฎ ก็เท่ากับ “มนูญ” (คำที่ขยายไปจาก “มนู” ดูความหมายตาม พจน.42 ที่อ้างข้างต้น)

มนูญ มาจาก “มนุญฺญ” (มะ-นุน-ยะ, > มนูญ) ก็น่าคิด แต่เมื่อประสมกับ “ธรรม” เป็น ธรรม + มนุญญ ก็ต้องแปลว่า กฎหมาย (= ธรรม) อันน่าพอใจ (= มนุญฺญ) ก็พอฟังได้

แต่ในวงการกฎหมายเขาลงเนื้อกันแล้วว่า “มนู” เป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวพันกับกฎหมาย และเมื่อ “รัฐธรรมนูญ” เป็นคำที่อยู่ในแนวของกฎหมาย คำว่า (ธรร)มนูญ จึงน่าจะมาจาก “มนู” ที่หมายถึง กฎหมาย มากกว่าที่จะมาจาก “มนูญ” (= มนุญฺญ) ที่แปลว่า น่าชอบใจ น่าพอใจ

……..

ในการเขียนคำนี้ผู้เขียนบาลีวันละคำใช้คำว่า “สันนิษฐาน” มาโดยตลอด เพื่อเปิดทางให้ท่านทั้งปวงเข้ามาช่วยกันบูรณาการ ทั้งนี้เนื่องจากยังไม่พบคำอธิบายที่มาของศัพท์ “ธรรมนูญ” ที่ชัดเจน มีแต่คำอธิบายถึงความหมายว่า ธรรมนูญหมายถึงอะไร รัฐธรรมนูญคืออะไร คืออธิบายในแง่ความหมาย แต่ไม่ได้อธิบายในแง่ภาษา จึงชวนให้สงสัยว่า คำว่า “ธรรมนูญ” มาจากคำอะไรกันแน่

กรณีถ้า “ธรรมนูญ” มาจาก ธรรม + มนูญ (< มนู) = ธรรมนูญ ได้สันนิษฐานไว้ข้างต้นแล้วว่า ทำไม ม้า จึงหายไปตัวหนึ่ง = ธรร()นูญ ประหนึ่งว่า ตัวเดียวเป็นทั้งตัวสะกดคำว่า ธรร() และเป็นทั้งตัวนำคำว่า ()นูญ ด้วย จะไม่ผิดหลักภาษาไปหรือ

พอดีได้เห็นคำที่เป็นแนวเทียบคำหนึ่ง คือ “ปัจจุสมัย” (ปัด-จุด-สะ-ไหฺม) พจน.54 บอกไว้ว่า –

ปัจจุสมัย : (คำนาม) เวลาเช้ามืด. (ป. ปจฺจูสสมย).”

ปัจจุสมัย บาลีสะกดเป็น “ปจฺจูสสมย” (ปัด-จู-สะ-สะ-มะ-ยะ) ประกอบด้วยคำ 2 คำสมาสกัน คือ ปจฺจูส (ปัด-จู-สะ, = ใกล้รุ่ง, เช้ามืด) + สมย (สะ-มะ-ยะ, = สมัย, เวลา)

โปรดสังเกตว่าคำนี้มี 2 ตัว คือที่ “ปจฺจูส” ตัวหนึ่ง (อักษรตัวสุดท้ายของคำหน้า เหมือน ที่คำว่า “ธรรม”) และที่ “สมย” ตัวหนึ่ง (อักษรตัวหน้าของคำหลัง เหมือน ที่คำว่า “มนูญ”) แต่เมื่อใช้ในภาษาไทยตัด ออกตัวหนึ่ง เป็น “ปัจจุสมัย

การตัดอักษรออกในกรณีนี้ไม่เหมือนคำอื่นๆ เช่นคำว่า –

จิตฺต” (จิด-ตะ) = จิต

ทิฏฺฐิ (ทิด-ถิ) = ทิฐิ

เพราะ จิต หรือ ทิฐิ คำเดิมมีตัวสะกดอยู่ตัวหนึ่ง ในภาษาไทยจึงตัดตัวสะกดเดิมออกได้โดยใช้ตัวตามเป็นตัวสะกดแทน

แต่ “ปจฺจูส” คำเดิม ไม่ใช่ตัวสะกด แต่เป็นพยางค์หนึ่งของคำ เมื่อตัดออกไป คำก็ขาดคลาดเคลื่อนไป เทียบง่ายๆ เช่นคำว่า “แก้ว” ถ้าตัด แหวนออก ก็เป็น “แก้” กลายเป็นคนละคำกัน

ปัจจุสมัย (พจน.สะกดอย่างนี้) ถ้าแยกเป็น ปัจจุส + มัย คำหลังก็เหลือเพียง –มัย ไม่ใช่ สมัย เหมือน ธรรม + นูญ ไม่ใช่ + มนูญ

ถ้าแยกเป็น ปัจจุ + สมัย คำหน้าเหลือเพียง ปัจจุ– ไม่ใช่ ปัจจุส เหมือน ธรร + มนูญ ไม่ใช่ ธรรม +

ปัจจุสมัย” ถ้าสะกดให้ถูกจะต้องเป็น “ปัจจุสสมัย” ( เสือ 2 ตัว) อ่านว่า ปัด-จุด-สะ-ไหฺม ได้เหมือนเดิม

ธรรมนูญ” ถ้าสะกดให้ถูกจะต้องเป็น “ธรรมมนูญ” ( ม้า 2 ตัว) อ่านตามหลักว่า ทำ-มะ-มะ-นูน (มะ-สองพยางค์) อ่านตามสะดวกปากว่า ทำ-มะ-นูน ได้เหมือนเดิม

ถ้า ปัจจุส + สมัย = ปัจจุสมัย ใช้ได้

ธรรม + มนูญ = ธรรมนูญ ก็ควรใช้ได้ด้วย

แต่ต้องไม่ลืมด้วยว่าเป็นการใช้ได้แบบ “ผิดจนถูก” อีกคำหนึ่ง

รักคำ : รักแล้วค่อยช่วยกันสืบค้น

แต่ถ้าจะรักคน : ควรสืบค้นก่อนจะรัก

#บาลีวันละคำ (936)

10-12-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *